ขอให้โรงเรียนส่งข้อมูลนักเรียนที่จะสอบโอเน็ตมายัง สทศ.ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน นี้
สทศ.เผยรายชื่อ 36 โรงเรียนไม่ส่งรายชื่อสอบโอเน็ต ... กับ ตรรกศาสตร์
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน เปิดเผยว่า สทศ.ได้เปิดให้โรงเรียนทั่วประเทศได้ส่งข้อมูลนักเรียนทุกคนที่จะเข้าสอบแบบทดสอบทาการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) ปีการศึกษา 2553 ที่จะจัดสอบในช่วงเดือนกมภาพันธ์ 2554 โดยส่งทางระบบโอเน็ต และหมดเขตการส่งข้อมูลวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมามีโรงเรียนที่ไม่ได้ส่งข้อมูลมาที่สทศ.อีก 36 โรงเรียน จึงขอให้โรงเรียนรีบส่งข้อมูลนักเรียนที่จะสอบโอเน็ตมายัง สทศ.ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน ดังนี้
ระดับม.6 จำนวน 21 โรงเรียน จำแนกตามสังกัด ดังนี้
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) 1 โรงเรียน
คือ ร.ร.บริบูรณ์ศิลป์ศึกษา กทม.,
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) 13 โรงเรียน คือ
ร.ร.กิตติยารามวิทยา จ.อ่างทอง
ร.ร.ผาสุกวิทยา จ.ชลบุรี
ร.ร.พระปริยัติธรรมวัดบ้านโนนคูณวิทยา จ.ศรีสะเกษ
ร.ร.พระปริยัติธรรมม่วงสามสิบวิทยา จ.อุบลราชธานี
ร.ร.พระปริยัติธรรมมุจลินวิทยา จ.อุบลราชธานี
ร.ร.ศรีใครวิทยา จ.อำนาจเจริญ
ร.ร.วัดโกเสยเขต จ.หนองคาย
ร.ร.วัดโพธิสมภาร จ.หนองคาย
ร.ร.พระปริยัติธรรมวัดจันทรสามัคคี จ.หนองคาย
ร.ร.สุพรรณภูมิพิทยา จ.ร้อยเอ็ด
ร.ร.แม่แจ่มปริยัติศึกษา จ.เชียงใหม่
ร.ร.วชิรกุญชรมัธยม จ.กำแพงเพชร ,
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) 1 โรงเรียน คือ
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน กทม.,
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) 7 โรงเรียน คือ
ร.ร.โสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี จ.อุดรธานี
ร.ร.บ้านดุงวิทยา จ.อุดรธานี
ร.ร.บุ่งคล้านคร จ.หนองคาย
ร.ร.บ้านบัวราษฎร์บำรุง จ.สกลนคร
ร.ร.ท่าชีวิทยาคม จ.สุราษฎร์ธานี
ร.ร.นาขยาดวิทยาคาร จ.พัทลุง
สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.) 1 โรงเรียน คือ
ร.ร.บ้านท่ามิหรำ จ.พัทลุง
ระดับม.3 มีจำนวน 6 โรงเรียน จำแนกตามสังกัด ดังนี้
สังกัด สพฐ. 3 โรงเรียน คือ
ร.ร.วัดตลาดโพธิ์ จ.สิงห์บุรี
ร.ร.วัดโคกพระ จ.สิงห์บุรี
ร.ร.บ้านสำโรงตาเจ็น จ.ศรีสะเกษ,
สังกัด สถ. 1 โรงเรียน คือ
ร.ร.กีฬาจังหวัดตราด จ.ตราด,
สังกัด พศ. 1 โรงเรียง คือ
ร.ร.พระปริยัติธรรมวัดไตรวิทยาราม จ.นครศรีธรรมราช
สังกัด สช. 1 โรงเรียง คือ
ร.ร.พีระยานาวินคลองหิน จ.ปัตตานี
ระดับ ป.6 มีจำนวน 9 โรงเรียน จำแนกตามสังกัด ดังนี้
สังกัด สถ. 1 โรง คือ ร.ร.เทศบาล 3 วัดเหนือ จ.กาฬสินธุ์,
สังกัด สพฐ. 7 โรงเรียน คือ
ร.ร.วัดวรดิษฐ์ จ.บุรีรัมย์
ร.ร.วัดโพธิ์ชัย จ.บุรีรัมย์
ร.ร.บ้านเริงรมย์ จ.ศรีสะเกษ
ร.ร.บ้านสำโรงตาเจ็น จ.ศรีสะเกษ
ร.ร.วัดมหิงสาวาส จ.เชียงใหม่
ร.ร.บ้านวังผาชัน จ.อุตรดิตถ์
ร.ร.นิคมพัฒนา 9 จ.นราธิวาส
สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 1 โรงเรียน คือ ร.ร.บ้านไอร์บือแต จ.นราธิวาส
"กรณีที่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ออกข่าวว่าเด็กทุกคนต้องได้สอบโอเน็ต ซึ่งสทศ.ได้ทำหนังสือ ยืนยันว่าสทศ.อยากให้เด็กที่เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้สอบโอเน็ตทุกคน และการที่โรงเรียนยังไม่ยอมส่งรายชื่อนักเรียนที่จะสอบโอเน็ตมาให้ สทศ.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ได้พยายามทุกวิถีทางแล้วที่จะติดต่อให้โรงเรียนจัดส่งมาให้ได้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ากรณีโรงเรียนพระปิริยัติธรรมและโรงเรียนการศึกษาพิเศษ อาจไม่มีเด็กสอบโอเน็ต ดังนั้นจึงอยากขอความร่วมมือจากโรงเรียนว่าถ้าเด็กจะสอบหรือไม่สอบ ก็ขอให้แจ้งสทศ.ให้ทราบด้วย"รักษาผอ.สทศ. กล่าว
ที่มาของข้อมูลhttps://www.komchadluek.net/detail/20101022/77112/สทศ.เผยรายชื่อ36โรงเรียนไม่ส่งรายชื่อสอบโอเน็ต.html
ที่มาของภาพ https://campus.sanook.com/story_picture/b/05739_002.jpg
ที่มาของภาพ https://pics.unigang.com/all/247.jpg
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ตรรกศาสตร์
1. ระบบทางคณิตศาสตร์
อนิยาม คือ ข้อความที่ไม่ต้องให้ความหมาย หรือ คำจำกัดความ
บทนิยาม คือ ข้อความที่ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน เพื่อทุกคนทราบความหมายที่ถูกต้องเข้าใจตรงกัน
สัจพจน์ คือ ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์
ทฤษฎีบท คือ ข้อความที่ยอมรับว่าเป็นจริง ได้มีการพิสูจน์โดยอาศัย อนิยาม บทนิยาม สัจพจน์ และวิธีทางอย่างมีเหตุมีผล
2. การให้เหตุผล
มนุษย์เราให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อและเพื่อหาความจริงหรือข้ออสรุปในเรื่องที่ต้องการศึกษา
2.1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย ( Inductive Reasoning )
เป็นการให้เหตุผลโดยยึดความจริงส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงส่วนใหญ่
ตัวอย่าง มนุษย์สังเกตพบว่า : ทุก ๆวันดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.
จึงสรุปว่า : ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.เสมอ
การให้เหตุผลแบบอุปนัย หมายถึง วิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป อย่างไรก็ดีการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง เนื่องจากเป็นการสรุปผลจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนั้น ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้าง
1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างอิงมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่
2. ข้อมูลหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงเป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่
3. ข้อสรุปที่ต้องการมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด
2.2 การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning )
เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ความเชื่อ ข้อตกลง กฏ บทนิยามซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริงเพื่อหาเหตุนำไปสู่ข้อสรุป
ตัวอย่าง เหตุ 1) เด็กทุกคนชอบเล่นฟุตบอล
2) ฟุตบอลเป็นกีฬา
ผล เด็กทุกคนชอบเล่นกีฬา
สรุปว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปถูกต้อง เมื่อ
1. ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ
2. การสรุปผลสมเหตุสมผล
ความสมเหตุสมผล มี 2 ส่วน คือ
1. เหตุ – สิ่งที่เรากำหนด / สมมติฐาน
2. ผล – ผลสรุป / ข้อสรุป
*ผลสรุป จะถูกต้อง เมื่อมีความสมเหตุสมผล
การตรวจสอบการสมเหตุสมผล
การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความที่กำหนดมาให้ วิธีหนึ่งคือ การวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วจึงพิจารญาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่
ถ้าแผนภาพ สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น สมเหตุสมผล ถ้าแผนภาพ ไม่สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น ไม่สมเหตุสมผล (ไม่สอดคล้องเพียง 1 กรณี ก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผล)
เรียกการตรวจสอบการสมเหตุสมผลแบบนี้ว่า การอ้างเหตุผลโดนการใช้ตรรกบทของตรรกศาสตร์
ตัวอย่าง เหตุ 1. คนทุกคนที่กินปลาเป็นคนฉลาด
2. คนที่ฉลาดเรียนหนังสือเก่ง
ผล คนที่กินปลาเรียนหนังสือเก่ง
ตอบ จากแผนภาพ สอดคล้องกับผลสรุป ดังนั้น การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง เหตุ 1. คนจีนบางคนนับถือศาสนาพุทธ
2. เหมยเป็นคนจีน
ผล เหมยไม่นับถือศาสนาพุทธ
ตอบ จากแผนภาพพบว่า กรณี 2 ไม่สอดคล้องผลสรุป ดังนั้นไม่สมเหตุสมผล
หมายเหตุ ในการแสดงผลสรุปไม่สมเหตุสมผล เราไม่จำเป็นต้องเขียนแผนภาพทั้งหมดทุกกรณี โดยอาจจะยกเฉพาะกรณีที่ แผนภาพไม่สอดคล้องกับผลสรุปเพียงกรณีเดียวก็พอ
ตัวอย่าง เหตุ 1) เรือทุกลำลอยน้ำ
2) ถังน้ำพลาสติกลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ >> สังเกตว่า แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบ ว่า เรือทุกลำลอยน้ำได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปในตัวอย่างข้างต้นจึงเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
ตอบ สมเหตุมผล
ตัวอย่าง เหตุ 1. แมวทุกตัวเป็นปลา
2. ต้นไม้ทุกต้นเป็นแมว
ผล ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา >> สังเกตว่า ผลสรุปที่กล่าวมาว่า ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา นั้นสมเหตุสมผล แต่ไม่เป็นความจริงทางโลก
หมายเหตุ เมื่อยอมรับเหตุเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แล้ว ต่อให้ผลสรุปขัดแย้งกับความเป็นจริงทางโลก แต่หากเป็นจริงตามการให้เหตุผลนั้นแล้ว ก็ถือว่า การให้เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบอุปนัย
- โดยอ้างจากตัวอย่างหรือประสบการณ์ย่อยหลายๆตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นความรู้ทั่วไป
- จากเหตุกาณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นซ้ำๆหลายๆครั้ง
- โดนใช้การคาดคะเน
- จากประสบการณ์ของผู้สรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ จะสนับสนุน ผลสรุป แต่จะไม่สามารถยืนยันข้อสรุปได้
- ย่อย >> ใหญ่ คือ การนำข้อค้นพบจากตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างมาสรุปเป็นความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการ
สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- โดยอ้างเหตุผลจากความรู้พื้นฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับกันมาก่อน
- เมื่อเหตุ (ข้อสมมติ) เป็นจริง แล้วทำให้เกิดผลสรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ (เหตุ) สามารถยืนยัน ผลสรุปได้
- ถ้าเหตุนั้นทำให้เกิดผลสรุปได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล
- ถ้าเหตุทำให้เกิดผลสรุปไม่ได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล
- ใหญ่ >> ย่อย คือการนำความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการมาใช้ในการหาคำตอบหรืออธิบายหรือให้เหตุผลกับกรณีเฉพาะอันหนึ่ง
ที่มาของข้อมูล https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cudsmaths47/view.php?Page=1248417307576477&msite=cudsmaths47
การให้เหตุผลแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
อ่านเนื้อหา https://learn.chanpradit.ac.th/gee462050/Product.htm
แบบฝึกหัดที่ 1 https://pirun.ku.ac.th/~g4886042/proj/04_ML.htm
แบบฝึกหัดที่ 2 https://pirun.ku.ac.th/~g4886042/proj/05_ML.htm
แบบทดสอบก่อนเรียน https://pirun.ku.ac.th/~g4886042/proj/pre-test/pre-test.htm
แบบทดสอบหลังเรียน https://pirun.ku.ac.th/~g4886042/proj/post-test/post-test.htm
คำถามในห้องเรียน
1. จากข้อความ "สทศ.ให้ส่งข้อมูลและหมดเขต วันที่ 30 กันยายน โรงเรียนที่ไม่ได้ส่งข้อมูล 36 โรงเรียน จึงขอให้รีบส่งข้อมูลนักเรียนที่จะสอบโอเน็ต ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน " นักเรียนคิดว่าการที่โรงเรียนทั้ง 36 โรงเรียนไม่ส่งข้อมูลทักที่ขยายเวลาให้แล้วมีสาเหตุมาจากเรื่องใด จงให้เหตุผลประกอบ
2. สทศ. ขอความร่วมมือจากโรงเรียน 36 โรงเรียนซึ่งแยกเป็น ระดับม.6 จำนวน 21 โรงเรียน ระดับม.3 มีจำนวน 6 โรงเรียน และระดับ ป.6 มีจำนวน 9 โรงเรียน นักเรียนคิดว่า จาก 36 โรงเรียน การอ้างเหตุผลในครั้งนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่
ข้อเสนอแนะ
ทาง สทศ. ขอความร่วมมือจากโรงเรียน 36 โรงเรียนให้ส่งข้อมูลเด็กจะสอบหรือไม่สอบ ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน
การบูรณาการกับสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ
ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3275