เด็กไทยอ่อน คณิต-วิทย์


919 ผู้ชม


การจัดลำดับโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์   

เด็กไทยอ่อน คณิต-วิทย์


        นางอุทุมพร จามรมาน รักษาการ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ในการจัดลำดับโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2550 (TIMSS) โดยสมาคมการประเมินนานาชาติ (IEA) พบว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์อยู่ในกลุ่มคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 400 โดยเฉลี่ยเท่ากับ 441 คะแนน ต่ำกว่ามัธยฐานนานาชาติ ซึ่งมีเท่ากับ 500 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ร่วมโครงการ ไทยมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่ามาเลเซีย (474 คะแนน) จีน ฮ่องกง (572 คะแนน) สิงคโปร์ (593 คะแนน) และจีนไทเป (598 คะแนน)

        นอกจากนี้ในส่วนการจัดลำดับโดย World Banks หรือการจัดอันดับประเทศที่มีสถาบันอุดมศึกษาติดระดับนานาชาติ โดยไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 32 จาก 58 ประเทศ รองจาก 5 ประเทศ ในเอเชีย คือ ญี่ปุ่น อันดับ 13/ ฮ่อง กง อันดับ 15/ ไต้หวัน อันดับ 19/ สิงคโปร์ อันดับ 26 และจีนอันดับ 31
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่  https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNekE1TVRFMU13PT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3T1E9PQ=
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเด็กไทยอ่อน คณิต-วิทย์
ความหมายของสถิติ 
ข้อมูลสถิติหรือข้อมูล   หมายถึง  ข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจจะศึกษา   ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
- จำนวนคนที่เป็นโรคหัวใจในแต่ละเดือน
- ปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 
     การจำแนกข้อมูล 
1.ข้อมูลที่จำแนกตามลักษณะของข้อมูล   แบ่งเป็น  2   ประเภท
1.1   ข้อมูลเชิงปริมาณ   คือข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง
1.2   ข้อมูลเชิงคุณภาพ   คือข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขโดยตรงได้   แต่วัดออกมาในเชิงคุณภาพได้  เช่น  เพศของสมาชิกในครอบครัว   ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทนี้   ส่วนใหญ่ทำโดยการนับจำนวนจำแนกตามลักษณะเชิงคุณภาพ
2.   ข้อมูลจำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวม
2.1   ข้อมูลปฐมภูมิ   คือ   ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาโดยตรง
2.1.1   การสำมะโน  คือ   การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากรที่ต้องการศึกษา
2.1.2   การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง  คือ   การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกลักษณะของประชากรที่ต้องการศึกษา
    ในทางปฏิบัติ   ไม่ว่าจะทำการสำมะโนหรือการสำรวจ  นิยมปฏิบัติอยู่  5   วิธี  คือ
   1.   การสัมภาษณ์  นิยมใช้กันมาก  เพราะจะได้คำตอบทันที   นอกจากนี้หากผู้ตอบไม่เข้าใจก็สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้   แต่ผู้สัมภาษณ์ต้องซื่อสัตย์   และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูลอย่างแท้จริง
   2.   การแจกแบบสอบถาม   วิธีนี้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมาก  สะดวกและสบายใจต่อการตอบแบบสอบถาม   แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ  เช่น  ต้องใช้ในเฉพาะผที่มีการศึกษา  มีไปรษณีย์ไปถึง   คำถามต้องชัดเจน  อาจจะไม่ได้รับคืนตามเวลาหรือจำนวนที่ต้องการ   จึงต้องส่งแบบสอบถามออกไปเป็นจำนวนมากๆ   หรือไปแจกและเก็บด้วยตนเอง
   3. การสอบถามทางโทรศัพท์  เป็นวิธีที่ง่าย   เสียค่าใช้จ่ายน้อย  ต้องเป็นการสัมภาษณ์อย่างสั้นๆ   ตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาหลักฐาน   ใช้ได้เฉพาะส่วนที่มีโทรศัพท์เท่านั้น
   4.   การสังเกต   เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่เราสนใจเอาไว้   ต้องใช้การสังเกตเป็นช่วงๆของเวลาอย่างต่อเนื่องกัน   ข้อมูลจะน่าเชื่อถือได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความชำนาญของผู้สังเกต   เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ  เช่น  บริการรถโดยสาร  การบริการสหกรณ์   ความหนาแน่นของการใช้ถนนสายต่างๆ  เป็นต้น   วิธีนี้นิยมใช้ประกอบกับการเก็บข้อมูลวิธีอื่นๆ
   5.   การทดลอง   เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการทดลอง  ซึ่งมักจะใช้เวลาในการทดลองนานๆ   ทำซ้ำๆ
2.2   ข้อมูลทุติยภูมิ   คือ   ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ที่ให้ข้อมูล  หรคือแหล่งที่มาโดยตรง   แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว
3.   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญมีอยู่  2   แหล่ง  คือ
1.   รายงานต่างๆของหน่วยราชการและองค์การของรัฐบาล เช่น   ทะเบียนประวัติบุคลากร  ประวัติคนไข้  ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา  เป็นต้น
2.   รายงานและบทความจากหนังสือ  หรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน   ซึ่งจะมีการพิมพ์เผยแพร่เฉพาะในส่วนของข้อมูลที่เผยแพร่ได้ในรูปของรายงานต่างๆ
https://e-learning.snru.ac.th/els/somjit/index.html
 ศัพท์ที่ใช้ในตารางแจกแจงความถี่
เด็กไทยอ่อน คณิต-วิทย์   1. อันตรภาคชั้น (Class Interval) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ชั้น หมายถึง ช่วงของคะแนนในแต่ละพวกที่แบ่ง
    อันตรภาคชั้นต่ำสุด หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าต่ำสุดอยู่
    อันตรภาคชั้นสูงสุด หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าสูงสุดอยู่
    อันตรภาคชั้นต่ำกว่า หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่า
    อันตรภาคชั้นสูงกว่า หมายถึง อันตรภาคชั้นของข้อมูลที่มีค่ามากกว่า
   2. ความถี่ (Frequency) หมายถึง จำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละอันตรภาคชั้น
   3. ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution Table) หมายถึง ตารางที่เขียนเรียงลำดับข้อมูล และแสดงให้เห็นว่าแต่ละข้อมูล หรือกลุ่มข้อมูลมีความถี่เท่าใด
   4. ขอบล่าง (Lower Boundary) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นกับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้น หรือขอบล่างเท่ากับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นบวกกับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้นแล้วหารด้วย 2
   5. ขอบบน (Upper Boundary) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นกับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น หรือขอบบนเท่ากับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้นบวกกับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น แล้วหารด้วย 2
    จะเห็นว่า ขอบบนของอันตรภาคชั้นหนึ่งย่อมเท่ากับขอบล่างของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้นเสมอ
   6. ความกว้างของอันตรภาคชั้น (Interval) หมายถึง ผลต่างระหว่างขอบบนและขอบล่างของอันตรภาคชั้นนั้น
   7. จุดกึ่งกลางชั้น (Middle Point) ของอันตรภาคชั้น หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างขอบล่างและขอบบนของอันตรภาคชั้นนั้น นิยมใช้สัญลักษณ์ X 
https://e-learning.snru.ac.th/els/somjit/sub.html
แบบทดสอบพร้อมเฉลย https://www.unigang.com/Article/867
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec02p02.html
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec02p03.html
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตโดยใช้วิธีทวนค่า(วิธีลัด) https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch9.aspx
การวัดค่ากลางของข้อมูล https://301math.exteen.com/20080111/entry-6
แบบฝึกหัด สถิติพรรณาและการวิเคราะห์ข้อมูลhttps://phep.ph.mahidol.ac.th/Academics/CAI_SPSS_PHEP626/SP_Final/ex7fs2.htm

คำถามข้อมูลในห้องเรียน
1.ให้นักเรียนนำเสนอต่อไปนี้ "ความสามารถทางคณิตศาสตร์นานาชาติ เปรียบเทียบกับประเทศที่ร่วมโครงการ ไทยมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่ามาเลเซีย (474 คะแนน) จีน ฮ่องกง (572 คะแนน) สิงคโปร์ (593 คะแนน) จีนไทเป (598 คะแนน)" ในรูปแบบที่นักเรียนคิดว่าเหมาะสม และเพราะเหตุใดจึงเลือกการนำเสนอข้อมูลแบบนี้ 
2. จากข้อความ "การจัดลำดับโดย World Banks หรือการจัดอันดับประเทศที่มีสถาบันอุดมศึกษาติดระดับนานาชาติ โดยไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 32 จาก 58 ประเทศ รองจาก 5 ประเทศ ในเอเชีย คือ ญี่ปุ่น อันดับ 13/ ฮ่อง กง อันดับ 15/ ไต้หวัน อันดับ 19/ สิงคโปร์ อันดับ 26 และจีนอันดับ 31" นักเรียนคิดว่า World Banks ใช้ข้อมูลใดบ้างในการจัดลำดับ

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการสอนเนื้อหาและฝึกทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการความสามารถทางคณิตศาสตร์นานาชาติ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2 การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูล
ที่มาของภาพ https://www.koreatimes.co.kr/upload/news/080124_p01_korea.jpg
ที่มาของภาพ https://blog.ddproperty.com/wp-content/uploads/2008/03/ddproperty_stat_20080201.JPG

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3313

อัพเดทล่าสุด