ก.พ. แก้ปัญหาวิธีสอบ ...


915 ผู้ชม


จะหาทางแก้ปัญหาระบบการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการใหม่ เนื่องจากระบบเดิมต้องใช้เวลานานมากเป็นปี กว่าจะผ่านการสอบภาค ก ภาค ข และภาค ค   

ก.พ. แก้ปัญหาวิธีสอบ ขรก.

ก.พ. แก้ปัญหาวิธีสอบ ...

         เมื่อวันที่ 29 พ.ย. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการ ก.พ. แถลงว่า จะเร่งออกกฎหมายลูก ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพล เรือน พ.ศ.2551 ให้เสร็จ นอกจากนี้ จะหาทางแก้ปัญหาระบบการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการใหม่ เนื่องจากระบบเดิมต้องใช้เวลานานมากเป็นปี กว่าจะผ่านการสอบภาค ก ภาค ข และภาค ค มีคนมาสมัครปีละร่วม 700,000 คน ได้บรรจุเข้ารับราชการเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น อาจใช้วิธีให้สอบภาค ข ก่อน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของส่วนราชการนั้นๆ จากนั้นค่อยมาสอบภาค ก โดยอาจนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ จะช่วยย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น และดึงคนเก่งๆ ได้ดีกว่าระบบเดิม คาดว่าคงจะเริ่มใช้ได้ในปี พ.ศ.2555 จะสานต่อโครงการให้ทุนเด็กที่กำลังศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 ให้เรียนต่อจนจบปี 4 ให้เข้ารับราชการต่ออีก 2 ปี ก่อนส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท เพื่อป้องกันภาคเอกชนดึงตัวเด็กเก่งไป เด็กสายวิทย์ จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.75 สายศิลป์ เกรดเฉลี่ย 3.00 
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01EVXdORE13TVRFMU13PT0=&sectionid=TURNek5RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB6TUE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean)
ค่าเฉลี่ย (mean) ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  
ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต, จีเอม (geometric mean, G.M.) ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งใช้อักษรย่อ G.M. 
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการบวกค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด 
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก (weight arithmetic mean) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ใช้ในกรณีที่ข้อมูลแต่ละค่ามีความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบ 4 วิชา ซึ่งแต่ละวิชาใช้เวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่เท่ากัน  
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม (combined arithmetic mean) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนักของค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยที่มีจำนวนค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง  
ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก, เอชเอม) (harmonic mean , H.M.) ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่ง ที่ได้จากการหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดด้วยผลบวกของส่วนกลับของข้อมูลชุดนั้น ใช้อักษรย่อ H.M. 

ก.พ. แก้ปัญหาวิธีสอบ ...

ค้นคว้าเพิ่มเติม
E-learning มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) https://www.watpon.com/Elearning/stat8.htm
การคำนวณเกรดเฉลี่ย / การคำนวณเกรดเฉลี่ยสะสม https://web.wattana.ac.th/gpa/index.html
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก (weighted arithmetic Mean)  https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch7.aspx
แบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch7.aspx
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ข้อมูลมีการแจกแจงความถี่ https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch8.aspx
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตโดยใช้วิธีทวนค่า(วิธีลัด) https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch9.aspx
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec02p02.html
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec02p03.html
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตโดยใช้วิธีทวนค่า(วิธีลัด) https://it.thanyarat.ac.th/stat/ch9.aspx
การวัดค่ากลางของข้อมูล https://301math.exteen.com/20080111/entry-6

คำถามในห้องเรียน
1. ในการสอบและผ่านนการสอบภาค ก ภาค ข และภาค ค จากผู้สมัครปีละ 700,000 คน ได้บรรจุเข้ารับราชการ นักเรียนคิดว่าผู้สมัครสอบและผ่านแต่ละภาคคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่าไร เมื่อให้บรรจุเข้ารับราชการเพียง 10 เปอร์เซ็นต์
2. เด็กสายวิทย์ จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.75 เด็กสายศิลป์ จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 3.00 นักเรียนคิดว่ามีความยุติธรรมหรือไม่สำหรับการกำหนด เกรดเแลี่ยที่ต่างกัน

ข้อเสนอแนะ
1.  โครงการให้ทุนเด็กที่กำลังศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 ให้เรียนต่อจนจบปี 4 ให้เข้ารับราชการต่ออีก 2 ปี ก่อนส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ถ้าทำได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงจะเกิดประฌยชน์อย่างมาก

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4  การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1  การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2 การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                 

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?=tbn:ANd9GcTT9u51xsVAvNbrtbDIjGaDFYXL7Vt8BiJix1wDtY5kEsBD3LJxzg
ที่มาของภาพ https://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/mathsing/picture/00011_3.jpg

ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTcZH2WI-XGJxNwfgiTCJEV9LdiJg1BSpkLQ1lQDXJgH7kcIH2x

ก.พ. แก้ปัญหาวิธีสอบ ...

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3354

อัพเดทล่าสุด