ครู ... กับความเชื่อมั่นครูไทย


816 ผู้ชม


ดัชนีความเชื่อมั่นครูไทยปี 53 เพิ่มสูงกว่าทุกปี   

“สวนดุสิตโพล” เผย ดัชนีความเชื่อมั่นครูไทยพุ่ง!
ครู ... กับความเชื่อมั่นครูไทย

รศ.ดร.สุขุม เผย ดัชนีความเชื่อมั่นครูไทยปี 53 เพิ่มสูงกว่าทุกปี ขณะที่ ปชช.เชื่อว่าครูไทยมีความรู้ความสามารถในการสอน แต่งกายเหมาะกับอาชีพ และขยัน อดทน

รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยว่า ครูถือเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อสังคม โดยเฉพาะสังคมไทยที่ยกย่องครูว่าเป็นปูชนียบุคคล แต่บทบาทของครูที่

ต้องเผชิญกับภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ความเชื่อมั่น “ครูไทย” ในแต่ละปีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องในโอกาสวันครู 16 มกราคม 2554 “สวนดุสิตโพล” ได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นครูไทย ปี 2553 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ 9,185 คน ระหว่างวันที่ 2-12 ม.ค.254 โดยเน้นตัวชี้วัด 30 ประเด็น ที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อครูไทย โดยตัวชี้วัดแต่ละตัวมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน

พร้อมทำการเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2548-2553 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นครูไทยในปี 2553 เพิ่มขึ้นในทุกประเด็น และเมื่อสรุปในภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นยังสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือ 
ปี 2553 ได้ 7.83 
ปี 2552 ได้ 7.44 
ปี 2551 ได้ 7.79 
ปี 2550 ได้ 7.68 
ปี 2549 ได้ 7.64 
ปี 2548 ได้ 7.54

จุดเด่นของครูไทย ปี 2553 ในสายตาประชาชน 
ร้อยละ 44.98  ความรู้ความสามารถในการสอน 
ร้อยละ 18.26 การดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักต่อนักเรียน 
ร้อยละ 14.71 ความขยันขันแข็ง อดทน 
ร้อยละ 11.27 ความเมตตา มีจิตใจโออบอ้อมอารี 
ร้อยละ 10.78 การทุ่มเท ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่

จุดด้อย ของครูไทย ปี 2553 ในสายตาประชาชน 
ร้อยละ 28.67 เมื่อครูโกรธหรือโมโหมักขาดการควบคุมอารมณ์ 
ร้อยละ 26.51 การใช้วาจา คำพูดกับนักเรียนไม่น่าฟัง 
ร้อยละ 16.82 มีภาระงานที่นอกเหนือจากการสอนมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการจัดการเรียนการสอน
ร้อยละ 15.31 การเพิ่มพูนความรู้ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน 
ร้อยละ 12.69 การรับฟัง เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรืออธิบายเพื่อครูจะได้มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น

ครู ... กับความเชื่อมั่นครูไทย


ประชาชนเชื่อมั่นต่อครูไทยมากที่สุด  ได้แก่ 
ความรู้ความสามารถในการสอน ได้ 8.21 
บุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ ได้ 8.14 
ความขยันขันแข็ง อดทน ได้ 8.09 
ประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุด ได้แก่ 
การแสดงออกและการควบคุมทางอารมณ์ 7.30 
การใช้วาจา คำพูดกับนักเรียน 7.47 และการไม่เป็นหนี้เป็นสิน

ที่มาของข้อมูล https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000004850

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สถิติ
การหาค่ากลางของข้อมูล
         การหาค่ากลางของข้อมูลมีวิธีหาได้หลายวิธี  แต่ละวิธีต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลชนิดนั้นๆ 
เช่น
1) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  (arithmatic  mean)
2) มัธยฐาน (median)
3) ฐานนิยม (mode)
4) ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geomatric  mean)
5) ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิค (harmonic  mean)
ค่ากลางของข้อมูลที่นิยมใช้กันมีอยู่  3  ชนิด  คือ    ค่าเฉลี่ยเลขคณิต    มัธยฐาน  และฐานนิยม  การคำนวณค่ากลางทั้งสามชนิดนี้ โดยทั่วไป แบ่งออกได้เป็น  2  กรณีใหญ่ๆ คือ
1) การหาค่ากลางข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ (ungrouped  data)
2) การหาค่ากลางของข้อมูลที่แจกแจงความถี่แล้ว (grouped  data)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  (arithmatic  mean) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  หรือมัชฌิมเลขคณิต หรือส่วนเฉลี่ยเลขคณิต เป็นการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางที่ใช้กันมากที่สุด  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะหาได้จาก  ผลรวมของคะแนนของข้อมูลทั้งชุดหารด้วยจำนวนคะแนน  
บางครั้งจึงเรียกค่าเฉลี่ยหรือคะแนนเฉลี่ยนั่นเอง

ครู ... กับความเชื่อมั่นครูไทย


วิธีหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่ากลางเลขคณิตมี ดังนี
1) การหาค่ากลางของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ (ungrouped  data)
2) การหาค่ากลางของข้อมูลที่แจกแจงความถี่แล้ว (grouped  data)


การหาค่ากลางของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่
สมมติว่า    x1  ,  x2  ,  x3  ,…,x เป็นคะแนนของข้อมูลชุดหนึ่ง  ซึ่งมี  N  จำนวน  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้  คือ 
มัธยฐาน  ( Median ) มัธยฐาน   คือ  ค่ากึ่งกลางของข้อมูลชุดนั้น  หรือค่าที่อยู่ในตำแหน่งกลางของข้อมูลชุดนั้น  ซึ่งแสดงว่า มีข้อมูลจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ  50%  ของข้อมูลทั้งหมดมีค่าสูงสุดกว่าค่าที่เป็นมัธยฐาน  และมีข้อมูล
จำนวนอีกครึ่งหนึ่งหรือ  50%  ของข้อมูลชุดเดียวกัน  มีค่าต่ำกว่าค่าที่เป็นมัธยฐาน
การคำนวณหามัธยฐานของข้อมูลที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่  ต้องเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามาก  แล้วหาคะแนนหรือข้อมูลที่อยู่ในตำแหน่งกลาง
ตัวอย่าง   จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้          7, 4, 6, 8, 3, 2, 9
วิธีทำ      ขั้นแรกต้องเรียงคะแนนจากน้อยไปหามาก ดังนี้  2       3      6      7      8       9
ข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง คือ    6  
ดังนั้น   มัธยฐาน เท่ากับ     6       ตอบ

ตัวอย่าง   จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้     26 ,20 ,31 ,24 ,21 ,28 ,30 ,32 , 25 ,35
วิธีทำ      เรียงลำดับจากคะแนนน้อยไปหามาก  จะได้   20  ,   21   ,    24    ,    25   ,  26    ,   28    ,   31   ,   30    ,  32   ,   35
มัธยฐาน      =    27
ดังนั้น  มัธยฐาน  เท่ากับ   27          ตอบ          

ฐานนิยม  ( Mode ) ฐานนิยม  คือ  คะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุด หรือมีความถี่สูงที่สุดในข้อมูลชุดนั้น 
เรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก   11  11   12       15   15   15    17   18
ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดคือ   15
 ฐานนิยม  คือ    15           ตอบ
                         
ตัวอย่าง   จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้          7, 4, 6, 9, 9, 3, 2, 9
วิธีทำ      
ขั้นแรกต้องเรียงคะแนนจากน้อยไปหามาก ดังนี้     2       3      6      7      9    9     9 
ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุด คือ    9
ดังนั้น      ฐานนิยม เท่ากับ     9         ตอบ
                          
ตัวอย่าง   จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้     26 ,20 ,31 ,24,24 ,21,24 ,28 ,30 ,32 , 24 ,35
วิธีทำ   เรียงลำดับจากคะแนนน้อยไปหามาก  จะได้ 20  ,   21   ,    24    ,  24   ,   24  ,   24   ,  26    ,   28    ,   31   ,   30  ,   30    ,  32   ,   35
ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุด คือ   24
ดังนั้น  ฐานนิยม  เท่ากับ   24     ตอบ

ครู ... กับความเชื่อมั่นครูไทย

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/node/79422
คำถามในห้องเรียน
1. จากผลการสำรวจของ "สวนดุสิตโพล" นักเรียนคิดว่าเชื่อถือข้อมูลได้หรือไม่อย่างไร
2. ถ้านักเรียนนำเสนอข้อมูลจุดเด่นหรือจุดด้อยของครูไทยจะนำเสนอข้อมูลอย่างไร อธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ

ข้อเสนอแนะ 
นานาจิตตัง ต่างคนต่างความคิด มองต่างมุมขึ้นอยู่กับบประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อมของแต่ละบุคคลที่ประทับใจหรือไม่ประทำใจกับครู

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2 การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                  
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน  ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ
ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                      
มาตรฐาน  ส 2.2     เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ที่มาของภาพ https://gotoknow.org/file/auon10/Tec6.jpg
ที่มาของภาพ https://www.tlcthai.com/webboard/data/108/1/31-08-2010/101641/images/101641_headline?1292740543
ที่มาของภาพ https://img379.imageshack.us/img379/908/dscf0594ci5.jpg
ที่มาของภาพ https://media1.th.88db.com/DB88UploadFiles/2008/09/30/2D7F33B6-73D0-40B3-9FB4-1E10C41D4107.jpg

 สรุป เป็นครูมืออาชีพหรือมีอาชีพครู

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3446

อัพเดทล่าสุด