โรงเรียนยอดฮิต แจ้งยอดรับเด็ก ม.1, ม.4
โรงเรียนยอดฮิต แจ้งยอดรับเด็ก ม.1, ม.4 ห้ามฝากเด็ก
เมื่อวันที่ 2 ก.พ. นายชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงแผนรับนักเรียนอัตราแข่งขันสูง ว่า ขณะนี้โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ในสังกัดสำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล แจ้งแผนการรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 มาให้ สพฐ.แล้ว ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นไป
ตามนโยบายรับนักเรียนที่ให้รับนักเรียนได้ไม่เกิน 50 คน ต่อห้อง และห้ามมีการฝากเด็ก โดยแผนการรับนักเรียนมีรายละเอียด
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJNU5qWTBNelF3TlE9PQ==§ionid=
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอข้อมูล
1. การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความกึ่งตาราง (Semi – tabular arrangement) คือ การนำเสนอข้อมูล โดยแยกตัวเลขออกจากข้อความ เพื่อต้องการให้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนและเปรียบเทียบความแตกต่างได้สะดวกยิ่ง
2.การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน(Formal Presentation) เป็นการนำเสนอที่มีกฎเกณฑ์ ได้แก่
1.) การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง ( Tabular presentation ) คือ การนำเสนอข้อมูลโดยการจัดข้อมูลที่
ได้ ให้เป็นแถว (row) และสดมภ์ (column) เราเรียกตารางดังกล่าวว่า ตารางสถิติ ตารางสถิติแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
ตารางแสดงความถี่ หรือตารางแจกแจงความถี่ ( frequency table ) หมายถึงตารางที่มีตัวเรื่อง เป็นตัวเลขแสดงจำนวนครั้ง ( ความถี่ ) ของข้อมูล
ตารางทางเดียว (one-way table) หมายถึงตารางที่มีรายการจำแนกรายการบนหัวเรื่อง หรือรายการบนต้นขั้วมีด้านเดียวหรือลักษณะเดียว
ตารางสองทาง ( two-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวเรื่องและรายการบนต้นขั้วทั้งสองด้าน
ตารางหลายทาง (multi-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวเรื่องหรือต้นขั้ว
2.) การนำเสนอในรูปของแผนภูมิ และแผนภาพ ข้อมูลที่เหมาะสมในการนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่งคือ ข้อมูลที่จำแนกตามคุณภาพ ตามกาลเวลาและ ตามภูมิศาสตร์แผนภูมิแท่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้
แผนภูมิเส้นจำนวน ( Line Polt) หมายถึงแผนภูมิที่มีการเขียนเครื่องหมายอย่างอย่างหนึ่ง แสดงข้อมูลเหนือเส้นจำนวนในเส้นจำนวน
แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยว ( simple bar chart ) หมายถึงแผนภูมิแท่งที่ใช้สำหรับข้อมูลเพียงชุดเดียว
แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน ( multiple bar chart ) หมายถึงข้อมูลที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป
แผนภูมิแท่งเชิงประกอบ ( component bar chart ) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงรายละเอียด ส่วนย่อยหรือ ส่วนประกอบของข้อมูลชุดเดียวกัน
แผนภูมิแท่งบวก - ลบ ( plus - minus bar chat )หมายถึง แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบข้อมูล ที่มีค่าเป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ
แผนภูมิแท่งพีระมิด ( pyramid bar chart ) หมายถึง แผนภูมิแท่งที่เรียงซ้อนกันตามแกนนอน ที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือพีระมิด
แผนภูมิรูปภาพ ( pictogram ) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภาพ แสดงรายละเอียดของข้อมูล ทำให้ดึงดูดความสนใจ
แผนภูมิรูปวงกลม ( Pie chart ) คือ แผนภูมิที่แสดงได้ด้วยรูปวงกลม เป็นการนำเสนอโดยการแบ่งพื้นที่วงกลมออกเป็นส่วนย่อยตามอัตราส่วนของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบ
แผนที่สถิติ คือแผนภูมิที่นำเสนอข้อมูลโดยอาศัยแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่นำเสนต้องเป็นข้อมูลที่จำแนกตามภูมิศาสตร์ซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
แผนภาพ ลำต้น – ใบ เป็นการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นกลุ่ม ๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ส่วนลำต้น และ ใบ
แผนภาพ ใบ - ลำต้น – ใบ เป็นการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นกลุ่ม ๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ส่วนลำต้น 1 ส่วน และ ใบ 2 ส่วน คือส่วนหน้ากับส่วนหลัง
การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิและแผนภาพ ควรระบุรายละเอียดต่อไปนี้
1) หมายเลขแผนภูมิหรือแผนภาพ (ในกรณีที่มากกว่าหนึ่ง)
2) ชื่อแผนภูมิหรือแผนภาพ
3) แหล่งที่มาของแผนภูมิหรือแผนภาพ
3.) การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟ
การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟเส้นนิยมใช้กับข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนแปลงตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า ข้อมูลอนุกรมเวลา ( time series data ) ซึ่งกราฟเส้นที่ใช้ในการนำ
เสนอข้อมูลมีทั้งหมด 5 ชนิด คือ
กราฟเส้นเชิงเดียว ( simple line graph ) คือ กราฟเส้นที่แสดงการเปรียบเทียบ ข้อมูลเพียงชุดเดียวหรือ ลักษณะเดียว
กราฟเส้นเชิงซ้อน ( multiple line graph ) คือ กราฟที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป
กราฟเส้นเชิงประกอบ ( composite line graph ) คือกราฟเส้นที่แสดงรายละเอียดหรือส่วนย่อย ของข้อมูลในชุดเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน
กราฟดุล ( balance graph ) คือ กราฟเส้นที่แสดงความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่เราสนใจ 2 ลักษณะที่มีความ เกี่ยวข้องกัน เช่น รายรับ - รายจ่าย
กราฟกึ่งลอการิทึม ( semi - logarithm graph ) คือ กราฟบนระนาบ ซึ่งมีมาตราส่วนบนแกน นอนเป็นมาตราส่วนธรรมดา ซึ่งเรียกว่ามาตราส่วน เลขคณิต ( arithmetic scale ) ส่วนบนแกนตั้งเป็น มาตราส่วน
ลอการิทึม ( logarithm scale ) ซึ่งกำหนดว่าระยะทางบนแกนตั้ง จะเท่ากันเมื่อแทนด้วย อัตราส่วนที่เท่ากัน การนำเสนอข้อมูลนี้ เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าแตกต่างกันมาก ๆ
ที่มาของข้อมูล https://www.googlemath.ob.tc/home/page1-5.html
คำถามในห้องเรียน
1. โรงเรียนใน สพม. กทม. รับ นักเรียน ม.1 และ ม.4 ทั้งห้องปกติ ห้องพิเศษ นักเรียนคิดว่าควรนำเสนอข้อมูลแบบใดเหมาะสมที่สุด เพราะอะไร อธิบาย
2. ความนิยมในการส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนในเขตปริมณฑล เช่น นักเรียน ม.1 และ ม.4 ทั้งห้องปกติ ห้องพิเศษ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ให้นักเรียนสอบถามเพื่อนในห้องแล้วสรุปข้อมูลที่ได้ในรูปแผนภูมิกง
ข้อเสนอแนะ
1.การแก้ไขปัญหาคุณภาพและมาตรฐานของแต่ละโรงเรียนที่ไม่เท่าเทียมกัน มีแนวทางแก้ไข หรือยกระดับให้เท่าเทียมกันได้หรือไม่
2.ข้อจำกัดของการบริหารจัดการภายในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายในโรงเรียนใช่หรือไม่ ควรคิดพิจารณา
การบูรณนาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ที่มาของภาพ https://jmnine.files.wordpress.com/2009/01/ch2p9.jpg?w=227&h=218
ที่มาของภาพ https://www.vcharkarn.com/uploads/13/13397.png
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSmj497lRVKUttcHsVfVRX_RbdzyuNj8AIMPw0psz8oEmihWcZHpw
ที่มาของภาพ https://www.trf.or.th/tips/IMAGE/64/N1_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F.jpg
ที่มาของภาพ https://img2.f0nt.com/31/d33a1f021f2b2b21e3709772f3933a39.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3474