สร้างห่วงโซ่พัฒนาแบบกัลยาณมิตร "ชินวรณ์" ดันผลการประเมินเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ
สมศ.จุดประกายไอเดียใหม่ ยกคุณภาพสถานศึกษา เปิดโครงการ " 1 ช่วย 9 "
ดึงสถานศึกษาคุณภาพแข็งปั๋งแต่ละภูมิภาค ช่วยโอบอุ้มสถาบันที่ไม่ผ่านการประเมิน หวังสร้างห่วงโซ่พัฒนาแบบกัลยาณมิตร ขณะที่ "ชินวรณ์" รับดันผลการประเมินเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"ห่วงโซ่คุณภาพการศึกษา" ในการลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กับสถานศึกษาเครือข่ายโครงการประเมินสถานศึกษาแบบโดดเด่น 1 ช่วย 9 ห่วงโซ่คุณภาพการศึกษาว่า การลงนามตามโครงการประเมินสถานศึกษาแบบโดดเด่น 1 ช่วย 9 ห่วงโซ่คุณภาพการศึกษา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินในรูปแบบกัลยาณมิตรที่จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของการประเมินที่จะสร้างการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาการศึกษา พัฒนาท้องถิ่น และเพิ่มโอกาสในการเข้ารับการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือและคิดร่วมกันอย่างเป็นระบบ และต่อไปหากผู้บริหารและครูในสถานศึกษาที่ช่วยให้โรงเรียนในเครือข่ายมีคุณภาพดีขึ้น 3 ปีติดต่อกัน จะถือว่าเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่จะนำไปใช้ในการเสนอขอประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญได้
ด้านนายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า สมศ.จะเริ่มประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบที่ 3 (พ.ศ.2554-2558) เดือนมิถุนายน 2554 โดยเป็นการประเมินเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะพิจารณาจากผลผลิตมากกว่ากระบวนการ และคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละสถานศึกษา
โดยสถานศึกษาที่เข้าโคงการ 1 ช่วย 9 ดังกล่าว มีเงื่อนไขว่าต้องมีผลการประเมินภายนอกรอบ 2 ในระดับดีมาก และเบื้องต้นมีสถานศึกษาสมัครใจเข้าร่วมแล้ว 9 แห่ง โดยสถานศึกษานำร่องเหล่านั้นจะต้องเข้าไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาในเครือข่ายที่มีผลการประเมินต่ำกว่าระดับดีมาก จำนวน 9 แห่ง ซึ่งอาจจะเลือกช่วยเหลือมหาวิทยาลัย สถาบันการอาชีวศึกษา หรือโรงเรียนก็ได้ แต่ส่วนตัวอยากให้ช่วยเหลือสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก ทั้งนี้สถานศึกษาที่สามารถช่วยพัฒนาสถานศึกษาในเครือข่ายให้มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทั้ง 9 แห่งในรอบที่ 3 ได้ ก็จะได้รับประกาศเกียรติคุณ.
ที่มาของข้อมูล https://www.thaipost.net/news/250111/33347
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระบบจำนวนจริง
ระบบจำนวนจริง ประกอบด้วย
1. จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้
2. จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้
• ระบบจำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือทศนิยมซ้ำได้ แต่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น
2. จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I = {..., -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, ...} เมื่อกำหนดให้ I เป็นเซตของจำนวนเต็ม
• ระบบจำนวนเต็ม
จำนวนเต็มแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I -โดยที่ I - = {..., -4, -3, -2, -1} เมื่อ I - เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ
2. จำนวนเต็มศูนย์ (0)
3. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I+ โดยที่ I+ = {1, 2, 3, 4, ...} เมื่อ I+ เป็นเซตของจำนวนเต็มบวก
จำนวนเต็มบวก เรียกได้อีกอย่างว่า "จำนวนนับ" ซึ่งเขียนแทนเซตของจำนวนนับได้ด้วยสัญลักษณ์ N โดยที่
N = I + = {1, 2, 3, 4, ...}
ที่มาของข้อมูลhttps://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/real2.html
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่ https://www.kr.ac.th/ebook2/manika/t04.html
แบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ https://202.143.159.117/learnsquare/courses/1/Unit03_part03_Real01_01.htm
แบบทดสอบ จำนวน 5 ข้อ https://www.kr.ac.th/ebook/pornchai/t3.html
แบบทดสอบเกี่ยวกับจำนวนจริง https://dlearn.swu.ac.th/?catid=2&subcatid=9&topicid=6
คำถามในห้องเรียน
1. การยกคุณภาพสถานศึกษา ตามโครงการ "1 ช่วย 9" จะทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด อธิบาย
2. ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบที่ 3 พ.ศ.2554-2558 นักเรียนคิดว่าระยะเวลากับจำนวนปีมีผลหรือไม่อย่างไร
ข้อเสนอแนะ
สรุป การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบที่ 3 ทำกันอย่างจริงจังหรือไม่ พิจารณาจากปัยจัยอะไร (ชื่อเสียงของสถาบันหรือคุณภาพการศึกษา)
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/testicon/1249119216.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/image/real3.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thairath.co.th/media/content/2010/02/05/63146/hr1667/420.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3458