คณะวิทย์ จุฬาฯ รับตรง ... พลาดเป้า


583 ผู้ชม


ขอ ทปอ.กลับเข้าแอดมิชชั่นใหม่ ขณะที่ "ไชยยศ" เผยยอดขาดครูวิทย์-คณิตกว่า 3 หมื่นคน   

คณะวิทย์ จุฬาฯ รับตรงพลาดเป้า

    คณะวิทย์จุฬาฯ รับตรงได้เด็กไม่เป็นไปตามเป้า ขอ ทปอ.กลับเข้าแอดมิชชั่นใหม่ ขณะที่ "ไชยยศ" เผยยอดขาดครูวิทย์-คณิตกว่า 3 หมื่นคนคณะวิทย์ จุฬาฯ รับตรง ... พลาดเป้า
     ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการรับสมัครนิสิตในระบบรับตรงของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554 โดยคณะเปิดรับตรงจำนวน 654 คน แบ่งเป็น รับตรงปกติ 499 คน รับตรงพิเศษ นักเรียนจากโครงการโอลิมปิกวิชาการ, โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เป็นต้น จำนวน 155 คน 
ซึ่งปรากฏว่ามีผู้มารายงานตัวต่ำกว่าเป้าหมาย โดยในส่วนการรับตรงพิเศษมีผู้มารายงานตัว 95 คน รับตรงปกติผ่านการคัดเลือก 125 คน ภาควิชาคณิตศาสตร์เปิดรับตรง 25 คน มีผู้สอบผ่าน 8 คน และมารายงานตัว 3 คน รวมกับผู้ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงพิเศษ 12 คน รวม 15 คน
     "หาก ทปอ.ไม่แก้ไขระบบแอดมิชชั่น คณะวิทย์ก็คงต้องมุ่งรับตรงทุกรูปแบบให้มากขึ้น เช่น เพิ่มโควตานักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์หรือโรงเรียนอื่นๆ ให้มากขึ้น เช่น ผู้มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1-5 ของแต่ละจังหวัด ก็อาจจะรับโดยการสอบสัมภาษณ์ไม่ต้องสอบข้อเขียน ควบคู่กับการเปิดรับตรงตามระบบปกติที่ดำเนินการอยู่ โดยจะต้องมีการหารือในระดับคณบดีของจุฬาฯ เพื่อปรับปรุงวิธีการคัดเลือกระบบรับตรง ทั้งนี้ผมรู้ดีว่าการที่คณะวิทย์จะมุ่งหน้ารับตรงมากขึ้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก เพราะเป็นการเอาตัวรอดเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง และจะทำให้สังคมปั่นป่วน แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาของประเทศที่ต้องมีการแก้ไขอย่างจริงจังเสียที"
     ด้านนายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันครูวิทยาศาสตร์ขาดแคลนประมาณ 14,000 คน และครูคณิตศาสตร์ขาดแคลนประมาณ 18,000 คน และอีก 10 ปีข้างหน้า ครูในภาพรวมจะเกษียณทั้งสิ้น 2 แสนคน.
ที่มาของข้อมูล https://www.thaipost.net/news/030211/33779

คณะวิทย์ จุฬาฯ รับตรง ... พลาดเป้าคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  ความน่าจะเป็น (probability) 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ หมายถึง ค่าที่บอกให้ทราบว่า เหตุการณ์ที่สนใจนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เมื่อผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่มแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน เรียกความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หาโดยวิธีนี้ว่า ความน่าจะเป็นในทางปฏิบัติ (Empirical probability) 
ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น 
พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่ 
บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้ 
นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้ 
ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก 
ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า 
        คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5 
        ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 
        ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 
ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99
เนื้อหาและตัวอย่าง https://thatsanee.chs.ac.th/p2_probra.html
ข้อสอบพร้อมเฉลย https://www.tewlek.com/anet_prob.html  และ https://www.unigang.com/Article/867

คณะวิทย์ จุฬาฯ รับตรง ... พลาดเป้าคำถามในห้องเรียน
1. จากคำกล่าวที่ว่า "อีก 10 ปี ข้างหน้า ครูในภาพรวมจะเกษียณทั้งสิ้น 2 แสนคน" นักเรียนคิดว่าความน่าจะเป็นนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เพราะเหตุใด
2. ภาควิชาคณิตศาสตร์รับตรง 25 คน สอบผ่าน 8 คน รายงานตัว 3 คน ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงพิเศษ 12 คน รวม 15 คน  นักเรียนคิดว่ามีปัจจัยใดทำให้การมารายงานตัวไม่ครบตามจำนวนผู้สอบได้ 

ข้อเสนอแนะ
ในการรับตรงมีข้อดีและข้อจำกัดมีแนวทางแก้ปัญหาหรือไม่เพราะเหตุใด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ 2 การเขียน 
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ              
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ที่มาของภาพ https://www.thebts-school.com/images/photo_1273129397/1273129410.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR5VIRnIFQ3fUa7iNqI_wYspkrtkWoZB04yhaNrBOLKNvL6k6Zg
ที่มาของภาพ https://www.realinnovation.com/library/graphics/090202a.gif
ที่มาของภาพ https://image.konmun.com/images/48080lucky.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3477

อัพเดทล่าสุด