น.ร.กลุ่มต่ำถูกลืม อุปกรณ์ 'ไอซีที-กวดวิชา' ไม่ส่งผลบวกต่อการเรียน
ประเมิน 'PISA' ชี้ น.ร.กลุ่มต่ำถูกลืม อุปกรณ์ 'ไอซีที-กวดวิชา' ไม่ส่งผลบวกต่อการเรียน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ที่ประชุมสพฐ.มอบหมายให้สำนักทดสอบทางการศึกษา ประสานกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมิน PISA (Programme for International Student Assessment) หรือโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ 2009 โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวเสนอในการประชุมกพฐ.สัญจร วันที่ 16-17 ก.พ.นี้เบื้องต้นผลการประเมิน PISA ดำเนินการมา 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 2546 2549 และ 2552 ซึ่งมีพัฒนาการสูงขึ้น แต่ไม่มีนัยยะทางสถิติ พอสรุปได้ว่าสถานะของ PISA ใกล้เคียง ค่าคะแนนของเราไม่สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากนักเรียนกลุ่มต่ำยังได้รับการดูแลไม่เพียงพอ และมาจากโรงเรียนขยายโอกาส เป็นกลุ่มล่างที่ต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาเป็นพิเศษ โดยโรงเรียนขนาดเล็ก
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์นักเรียนยังไม่ได้แสดงศักยภาพว่าจะสามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และพบว่าการขาดแคลนครูที่มีคุณวุฒิตรงมีปัญหาเพิ่มขึ้น ซึ่ง PISA ทดสอบ 3 วิชา คือการอ่านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ความจริงเราขาดครูคุณวุฒิตรงเพิ่มขึ้นทุกวิชา "หากเปรียบเทียบการเรียนรู้กับไอซีที พบว่าลงทุนอุปกรณ์การเรียนรู้ที่เป็นการทดลองลดลง ขณะที่ไอซีทีเพิ่มขึ้น แต่นักเรียนใช้ไอซีทีมากที่สุดมีคะแนนต่ำ ไทยต้องสมดุลในการลงทุนเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนที่สุด ให้เพียงพอกับไอซีที และพบว่านักเรียนที่ได้เรียนตั้งแต่อนุบาลมีผลประเมินสูงกว่าไม่เคยเรียนอนุบาล และการกวดวิชาไม่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน"
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEV4TURJMU5BPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB4TVE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วิธีเรียงสับเปลี่ยน
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดพิจารณาคน 3 คน คือ ก ข ค ยืนเรียงเป็นแถวตรง จะได้ดังนี้
กขค กคข ขกค ขคก คกข คขก เป็นจำนวนทั้งหมด 6 วิธี
โดยอาศัยกฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ทำได้ดังนี้
การจัดตำแหน่ง ตำแหน่งที่ 1 ตำแหน่งที่ 2 ตำแหน่งที่ 3
แต่ละตำแหน่งเลือกได้ 3 X 2 X1 = 6 วิธี เขียนอยู่ในรูปแฟกทอเรียลได้ 3!
ทำนองเดียวกัน จะได้ว่า
จำนวนวิธีจัดสิ่งของ 4 สิ่งที่แตกต่างกันเรียงทั้ง 4 สิ่งจะได้ 4! วิธี
จำนวนวิธีจัดสิ่งของ 5 สิ่งที่แตกต่างกันเรียงทั้ง 5 สิ่งจะได้ 5! วิธี
สรุปได้ว่า สิ่งของ n สิ่งซึ่งแตกต่างกัน ต้องการนำมาเรียงเป็นเส้นตรงทั้งหมด จะมีตำแหน่งให้จัดเรียงได้ แตกต่างกันทั้งหมดเท่ากับ n! หรือ เขียนแทนด้วย P n, n จะได้ว่า P n, n = n! /(n-n)! = n!
ตัวอย่าง นำนักเรียน 3 คน A , B , C ให้มายืนถ่ายรูป จะได้รูปต่างๆกันกี่รูป มีวิธีคิดได้หลายวิธีดังนี้
วิธีที่ 1 ใช้วิธีแจกแจง
ABC BCA CAB ACB BAC CBA
วิธีที่ 2 กฎเกณฑ์การนับเบื้องต้น
ตำแหน่ง 1 X ตำแหน่ง 2 X ตำแหน่ง 3
แต่ละตำแหน่งมีวิธีเลือกได้ จำนวนวิธีทั้งหมด = 3 X 2 X 1 = 6 วิธี
วิธีที่ 3 ใช้กฎ n!
จำนวนวิธีทั้งหมด = 3! = 6 วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยนในเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่แตกต่างกัน n สิ่งมาจัดเรียงเพียง r สิ่ง ( เมื่อ r น้อยกว่าหรือเท่ากับ n) จะได้ว่าจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของ n สิ่งที่แตกต่างกันทั้งหมด โดยจัดทีละ r สิ่ง
P n , r = n! /(n-r)! (เมื่อ r น้อยกว่าหรือเท่ากับ n)
ตัวอย่าง นักเรียน 4 คน ให้มาถ่ายรูปครั้งละ 2 คน ได้ทั้งหมดกี่วิธี
วิธีที่ 1 แจกแจงการยืนของนักเรียน 4 คน A B C D จะได้ดังนี้
A B BC C D D A
A C BD C B D B
A D B A C A D C
จัดได้ทั้งหมด 12 วิธี
วิธีที่ 2
กฎเกณฑ์การนับเบื้องต้น ตำแหน่ง1 X ตำแหน่ง2
แต่ละตำแหน่งมีวิธีเลือกได้ จำนวนวิธีทั้งหมด = 4 X 3 = 12 วิธี
วิธีที่ 3 ใช้สูตร Pn,r = n! /(n-r)! (เมื่อ r น้อยกว่าหรือเท่ากับ n)
จำนวนวิธีทั้งหมด = 4! /(4-2)! = 12 วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด ( เหมือนกันบางสิ่ง )
การเรียงสับเปลี่ยนสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมดจะเริ่มจากการหาจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดก่อน แล้วจึงหาจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของที่เหมือนกันบางสิ่ง ดังนี้
ตัวอย่าง การเรียงลำดับอักษร 3 ตัว ABC มาเรียงเชิงเส้นตรง จะได้ 3! = 6 วิธี ดังนี้
ABC ACB BAC BCA CAB CBA
ถ้าให้อักษรเหล่านี้บางตัวซ้ำกัน เช่น เปลี่ยนตัวอักษร C เป็น B
จะได้เป็น ABB ABB BAB BBA BAB BBA
จำนวนวิธีที่แตกต่างกัน จะเหลือเพียง 3 วิธีเท่านั้นคือ ABB BAB BBA
วิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของ 3 สิ่ง ซึ่งมี 2 สิ่งใน 3 สิ่ง เหมือนกัน จัดได้ = 3! X 2! = 3 วิธี
แนวคิดดังกล่าว อาจสรุปเป็นกฎได้ดังนี้
ถ้ามีสิ่งของอยู่ n สิ่ง ในจำนวนนี้มี n1 สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่มที่หนึ่ง มี n2 สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่มที่สอง ...และมี nk สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่ม k โดยที่ n 1+n 2+n 3+... nk = n จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่ง
ของทั้ง n สิ่ง ในแนวเส้นตรง เท่ากับ n! / n 1+n 2+n 3+... nk วิธี
ตัวอย่าง ถ้ามีเหรียญ 1 บาท 4 อัน เหรียญ 5 บาท 3 อัน จะแจกเงินให้เด็ก 7 คน คนละ 1 เหรียญ จะมีวิธีแจก เพื่อให้เด็กได้รับเงินที่มีค่าแตกต่างกันได้กี่วิธี
เหรียญทั้งหมด 7 เหรียญ มีเหรียญหนึ่งบาท 4 อัน เหรียญห้าบาท 3 อัน
เด็กทั้ง 7 คนจะได้รับเงินที่แตกต่างกัน = 35 วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของที่คู่กัน แล้วไม่ตรงคู่
ตัวอย่างที่ 1 สามีภรรยา 2 คู่ จับคู่เต้นรำพร้อมกันหมด โดยชายเต้นกับหญิง ให้ไม่ตรงคู่สามีภรรยากันเลย จะได้ต่างกันกี่วิธี
ให้ ชาย คือ A กับ B หญิง คือ 1 กับ 2
สามีภรรยาคู่ที่หนึ่งคือ A1 คู่ที่สอง B2
จะไม่ตรงคู่สามีภรรยากันได้ 1 วิธี โดยสลับคู่กันคือ A เต้นกับ 2 B เต้นกับ 1
ตัวอย่างที่ 2 สามีภรรยา 3 คู่ จับคู่เต้นรำพร้อมกันหมด โดยชายเต้นกับหญิง ให้ไม่ตรงคู่สามีภรรยากันเลย จะได้ต่างกันกี่วิธี
ให้ ชาย คือ A B C หญิง คือ 1 2 3
A เลือกได้ 2 วิธี และ B เลือกได้ 1 วิธี และ C เลือกได้ 1 วิธี
A2 B3 C1
A3 B1 C2 เพราะฉะนั้น จะได้ 2 วิธี
ตัวอย่างที่ 3 สามีภรรยา 4 คู่ จับคู่เต้นรำพร้อมกันหมด โดยชายเต้นกับหญิง ให้ไม่ตรงคู่สามีภรรยากันเลย จะได้ต่างกันกี่วิธี
ให้ ชาย คือ A B C D
หญิง คือ 1 2 3 4
สามารถแจกแจงเป็นแผนภาพต้นไม้ ได้ทั้งหมด 9 วิธี ดังนี้
A 2 B 1 C 4 D 3
A 2 B 3 C 4 D 1
A 2 B 4 C 1 D 3
A 3 B 1 C 4 D 2
A 3 B 4 C 1 D 2
A 3 B 4 C 2 D 1
A 4 B 1 C 2 D 3
A 4 B 3 C 1 D 2
A 4 B 3 C 2 D 1
ถ้าจำนวนคู่สามีภรรยามากขึ้น ก็จะยิ่งยากในการที่จะเขียนแผนภาพ ให้ได้คำตอบออกมา จึงใช้สูตรดังนี้
สามีภรรยา n คู่ จับคู่พร้อมกันหมด ซึ่งชายจับคู่กับหญิง
โดยไม่ตรงคู่สามีภรรยาคู่ใดเลย จะได้ สามีภรรยา 4 คู่ จับคู่เต้นรำพร้อมกันหมด โดยชายเต้นกับหญิง ให้ไม่ตรงคู่สามีภรรยา
จะได้ต่างกัน 9 วิธี
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/third.html
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม https://thatsanee.chs.ac.th/p2_permu.html
แบบฝึกทักษะ https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/fourth.html
คำถามในห้องเรียน
1. ถ้าจัดเรียงคำว่า PISA และ สสวท จงหาผลบวกของวิธีจัดเรียงคำทั้งสองได้กี่วิธี
2. มีฉลาก 3 ใบ มีหมายเลข 2, 4, 6 ตามลำดับ นำบัตรทั้ง 3 ใบมาเรียงเป็นแถว จงหาผลรวมของหมายเลขบนฉลากที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
ข้อเสนอแนะ
ถ้าขาดครูคุณวุฒิก็เพิ่มครูที่สอนตรงตามวุฒิโดยพัฒนาครูพันธ์ใหม่ตามนโยบายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสูตรใด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ที่มาของภาพ https://www.anubansatit.com/images/column_1288924498/tb_pr105(2).jpg
ที่มาของภาพ https://www.pinonlines.com/files/images/1314.JPEG
ที่มาของภาพ https://www.mathcenter.net/forum/attachment.php?attachmentid=3345&stc=1&d=1279031427
ที่มาของภาพ https://kanchanapisek.or.th/kp6/New/pictures19/small-pictures/s19-235b.jpg
ที่มาของภาพ https://images.14510.multiply.com/image/1/photos/upload/300x300/RoXNYQoKCm4AABX1cBg1/ab2.jpg?et=%2CY4B5eO4l08r%2B8zqMPQQYg
ที่มาของภาพ https://www.nongnuch.net63.net/site/sites/default/files/Untitled_0.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3489