66,094 อัตรา ตามเกณฑ์ ก.ค.ศ.ขาดครู 28,486 อัตรา
สพฐ. ขาดแคลนครู 66,094 อัตรา คณิตลำดับที่ 1
สพฐ.เผยโรงเรียนรายงานตัวเลขขาดแคลนครู 66,094 อัตรา คณิตศาสตร์ครองแชมป์ 9,426 อัตรา รองลงมาเป็นวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยฯ ด้าน เลขา กพฐ. ระบุ คิดตามเกณฑ์ครูขาดแคลนของ ก.ค.ศ.เหลือขาดครู 28,486 อัตรา แจงสาเหตุที่ตัวเลขของโรงเรียนเกินนั้นมาจากโรงเรียนมีครูที่ไม่จบในสาขาที่ต้องการ
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากโรงเรียนถึงปัญหาการขาดแคลนครูโดยจำแนกเป็นรายวิชา/สาขาวิชา เพื่อวางแผนในการผลิตพัฒนาครูและดูจำนวนอัตรากำลังครู โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งเดือน มิ.ย.-ธ.ค. 2553 พบว่า รายวิชาที่มีปัญหาขาดแคลนครูมากที่สุด คือ
คณิตศาสตร์ 9,426 อัตรา
ภาษาอังกฤษ 8,640 อัตรา
วิทยาศาสตร์ 8,274 อัตรา
ภาษาไทย 8,161 อัตรา
คอมพิวเตอร์ 6,015 อัตรา
ศิลปะ 5,830 อัตรา
สังคมศึกษา 5,746 อัตรา
สุขศึกษา 4,582 อัตรา
ปฐมวัย 3,588 อัตรา
ครูพัฒนาการศึกษาผู้เรียน 2,731 อัตรา
การศึกษาพิเศษ 2,050 อัตรา
ผู้บริหารสถานศึกษา 1,039 อัตรา
รวมทั้งสิ้น 66,094 อัตรา
“อย่างไรก็ตาม เมื่อนำข้อมูลขาดแคลนครูที่โรงเรียนรายงานมาเทียบกับเกณฑ์จำนวนครูต่อนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) พบว่า จำนวนครูขาดแคลนเหลือแค่ 28,486 อัตรา ในส่วนอัตราที่เกินนั้น สพฐ.และโรงเรียนจะได้หารือร่วมกันภายหลัง ส่วนสาเหตุว่าเหตุใดข้อมูลอัตราขาดครูของโรงเรียนเกินกว่า สพฐ.นั้น เพราะส่วนใหญ่ครูในโรงเรียนที่รับนั้นจบไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการ จึงเกิดอาการผิดฝาผิดตัว”นายชินภัทร กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ สพฐ.มีพันธกรณีในการดำเนินการเรื่องอัตรากำลังครู 3 เรื่อง คือ
1.เปิดโอกาสให้ครูผู้ช่วยที่สอบขึ้นบัญชีไว้มีโอกาสได้รับการสอบบรรจุเป็นข้าราชการ
2.เตรียมอัตราสำหรับรองรับนักเรียนทุน ทั้งที่เป็นทุนจากโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สควค.) จำนวน 400-500 อัตรา รวมถึงต้องสำรองในกรณีมีการโยกย้ายปรับเปลี่ยน และเตรียมไว้รองรับนักศึกษาทั่วไปที่จบปริญญาตรีด้านการศึกษาที่จะต้องร่วมสอบบรรจุข้าราชการ
3.เตรียมรองรับนักศึกษาที่จะจบตามโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งจากนี้จะต้องเจรจากับ สกอ.ก่อนว่า สพฐ.ต้องเตรียมอัตรารองรับจำนวนเท่าไร
ที่มาของข้อมูล https://www.komchadluek.net/detail/20110209/88369/สพฐ.ขาดแคลนครู66,094อัตราคณิตที่1.html
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มัธยฐาน ( Median )
มัธยฐาน หมายถึง ค่ากึ่งกลางของข้อมูลชุดนั้น หรือค่าที่อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลชุดนั้น เมื่อได้จัดเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจาหมากที่สุกไปหาน้อยที่สุด ค่ากึ่งกลางจะเป็นตัวแทนที่แสดงว่ามีข้อมูลที่มากกว่าและน้อนกว่านี้อยู่ 50 % ค่ามัธยฐานจะอยู่ตำแหน่ง
การหาค่ามัธยฐาน (Median) ของข้อมูลที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ (Ungrouped Data)
ให้เรียงข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดไปหาข้อมูลที่มีค่ามากที่สุด หรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด แล้วหาคะแนนที่อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง
แบบฝึกเสริมทักษะ
1. จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้ 9, 5, 11, 16, 6, 10, 13, 14, 17,
วิธีทำ เรียงข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดไปหาข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดคือ 3, 5, 6, 9, 10, 11, 13, 14, 16
ดังนั้น ค่ามัธยฐานเท่ากับ 5
2. จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้
40, 35, 24, 28, 26, 29, 36, 31, 42, 20, 23, 32
วิธีทำ เรียงข้อมูลจากข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดไปหาข้อมูลทีมีค่ามากที่สุดคือ 20, 23, 24, 26, 28, 29, 31, 32, 35, 36, 40, 42, ซึ่ง n = 12
ตำแหน่งมัธยฐาน ข้อมูลตำแหน่ง ที่ 6.5 อยู่ระหว่าง 29 กับ 31
ดังนั้น มัธยฐาน คือ 30
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.3.html
อ่านเนื้อหา https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec03p01.html
แบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch10.aspx
แบบทดสอบก่อนเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/pretest.htm
แบบทดสอบหลังเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/posttest.htm
คำถามในห้องเรียน
1. ถ้านักเรียนเรียงจำนวนข้อมูลปัญหาการขาดแคลนครูโดยจำแนกเป็นรายวิชา/สาขาวิชา ครูรายวิชา/สาขาวิชาใดขาดแคลนเป็นลำดับที่ 5
2. ตำแหน่งมัธยฐานของข้อมูลชุดนี้คือครูรายวิชา/สาขาวิชาใด
3. จงหาความแตกต่างระหว่างการขาดครู 66,094 อัตรา ตามเกณฑ์ครูขาดครู 28,486 อัตรา และนักเรียนคิดว่า สาเหตุมาจากอะไร เพราะเหตุใด
ข้อเสนอแนะ
1. ครูผู้ช่วยที่สอบขึ้นบัญชีควรบรรจุเป็นข้าราชการครู และระยะเวลาในการขึ้นปัญชีควรมากกว่า 2 ปี
2. ครูพันธ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็น 5+1 หรือ 5+2 ควรมีมาตรฐานที่ดีจบแล้วสามารถสอนได้ทันที
การบูรณาการกับแลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/grading/curve1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.mathpointonline.com/wp-content/uploads/2009/12/MedianFormular.jpg
ที่มาของภาพ https://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/7/tranparency/statistic1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/online/2009/05/12431661931243217580l.jpg
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSoc_OrO2seKc0Xeq5Ckd5_CFMZLOY1pSYvaFX2yQVxF2VJFMPvfw
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3487