เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและใช้เป็นฐานข้อมูล
มิติใหม่ "วาเลนไทน์"
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและใช้เป็นฐานข้อมูล"สวนดุสิตโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กรณี "วาเลนไทน์" ในมิติ "เชิงบวก" "เชิงลบ"
เปรียบเทียบมิติความคิด "เชิงบวก" กับ "เชิงลบ" ต่อวันวาเลนไทน์
ร้อยละ 37.18 กลุ่มอายุไม่เกิน 20 ปี จะคิด "เชิงบวก" มากกว่า โดยคิดว่า เป็นวันที่มีความนิยมตามกระแสแฟชั่น ทำตามสังคม โดยเฉพาะเพื่อน มีความสนุกสนาน เป็นการอุทิศเพื่อความรัก ฯลฯ
ร้อยละ 31.94 กลุ่มอายุสูงกว่า 30 ปี จะคิด "เชิงลบ" มากกว่า โดยคิดว่า เป็นเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ เสียตัว มัวเมาอบายมุข ยาเสพติด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทำตามวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นห่วงเยาวชน ฯลฯ
ร้อยละ 30.88 กลุ่มอายุ 21-30 ปี จะคิด "เชิงบวก" พอๆกับ "เชิงลบ" โดยคิดว่า เป็นวันที่สังคมโลกยอมรับแล้ว ควรดูแล ควบคุมและปลูกฝังให้อยู่ในกรอบจะดีกว่า ฯลฯ
"มิติใหม่" ที่ประชาชนอยากเห็นในวันวาเลนไทน์
ร้อยละ 49.86 ให้ความรักที่จริงใจ ลดความขัดแย้ง แตกแยก สร้างความสามัคคีในสังคมไทย
ร้อยละ 29.15 ให้ความรักแก่ทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะแฟน เช่น พ่อแม่ เพื่อน ญาติ คนที่อยู่ร่วมกัน
ร้อยละ 15.89 ให้ความรักที่บริสุทธิ์ เห็นอกเห็นใจกับคนที่รัก ไม่มุ่งเน้นแต่เรื่องเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว
ร้อยละ 5.10 ผู้ใหญ่ ผู้บริหารบ้านเมือง ศิลปิน ดารา จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ทำตัวที่แสดงความรัก ความห่วงใยแก่ประชาชนและประเทศชาติ
"ความเป็นห่วง" ต่อ เยาวชนในวันวาเลนไทน์ในสายตาประชาชน
ร้อยละ 52.70 การล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะเสียตัว
ร้อยละ 22.06 อบายมุข โดยเฉพาะยาเสพติด
ร้อยละ 13.12 อุบัติเหตุ
ร้อยละ 7.73 อาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ร้อยละ 4.39 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ที่มาของข่าว
https://www.norsorpor.com
สาระการเรียนคณิตศาสตร์ อัตราส่วนและร้อยละ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
4. ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการแก้โจทย์ปัญหา
อัตราส่วนและร้อยละ(Ratio and Percentage)
1. อัตราส่วน (Ratio) คือ การเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งต่อของอีกสิ่งหนึ่งที่มีหน่วยอย่าง เดียวกัน เช่น a : b อ่านว่า a ต่อ b หรือ a/b
ตัวอย่าง ปรีชาสูง 150 ซม. นายสุชาติสูง 170 ซม. ดังนั้นความสูงของ นายปรีชาต่อความสูงของนายสุชาติ คือ 150 ต่อ 170 หรือเขียนเป็น
150 : 170 = 15 :17
อัตราส่วนที่เท่ากัน คือ อัตราส่วนที่แสดงอัตราเดียวกัน นั่นเอง เช่น 3 : 5 = 6 : 10 = 12 : 20 เป็นต้น
สัดส่วน (Proportion) คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงการเท่ากันของ 2 อัตราส่วน เช่น a : b = c : d อ่านว่า a ต่อ b เท่ากับ c ต่อ d
2 .ร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์
คือ อัตราส่วนที่เราต้องการ ที่มีการเทียบกับ 100 หรือ อัตราส่วนที่มีส่วนเป็น 100
เราเรียกว่า เปอร์เซนต์ ใช้สัญลักษณ์ แทนด้วยเครื่องหมาย %
เช่น 20 % อ่านว่า 20 เปอร์เซ็นต์
โดยมีความหมาย เป็นอัตราส่วนว่า 20 : 100
อ้างอิง
https://www.scc.ac.th/student_web
แบบฝึกหัด
1. จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปร้อยละ (10 นาที)
(1.1) 1:4 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.2) 8:100 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.3) 7:10 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.4) 4:5 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.5) 13:20 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.6) 60:20 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.7) 7:4 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.8) 21:8 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.9) 3:400 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
(1.10) 63:90 เขียนให้อยู่ในรูปร้อยละ คือ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3494