เงินกู้....ไทยเข้มแข็ง


899 ผู้ชม



สนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555   

เงินกู้....ไทยเข้มแข็งเงินกู้....ไทยเข้มแข็ง

https://www.google.co.th

กู้..เข้มแข็ง
         นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ Mr. KunioSenga, Director General, South East Asia Department 
จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ Capital Market Development Program (CMDP) 
         วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง 
เงินกู้ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้รัฐบาลนำไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ตามโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 
และโครงการลงทุนภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว 
เงินกู้ CMDP วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ มีระยะเวลาการกู้ 15 ปี (รวมระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ต้นเงินกู้ 3 ปี) อัตราดอกเบี้ยรายปีคำนวณโดยอิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
ของเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ และมีค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ร้อยละ 0.15 ต่อปี
ของยอดเงินกู้คงค้างที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
 

เงินกู้....ไทยเข้มแข็ง

เงินกู้....ไทยเข้มแข็ง

ADB ให้เงินกู้แก่ประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนนับตั้งแต่ปี 2511 ถึงปัจจุบันจำนวน 89 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 5 ,757.30 ล้านเหรียญสหรัฐ
 เพื่อลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก อาทิ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ พลังงาน คมนาคม การศึกษา และภาคการเงิน

       ที่มาของข่าว
       https://money.impaqmsn.com
       https://www.www.ryt9.com

    เนื้อหาสาระ  รายวิชาคณิตศาสตร์  
    สาระที่  1 จำนวนและการดำเนินการ
    มาตรฐาน  ค1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความ  สัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้

   เนื้อหา    1. เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา   ไทย (บาท/ดอลลาร์)
     อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร = 30.704 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. 
      
     อ้างอิง
                 https://phuketindex.com
                 https://www.bot.or.th/

      2.อัตราดอกเบี้ย
            วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ มีระยะเวลาการกู้ 15 ปี  ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ร้อยละ 0.15 ต่อปี

  แหล่งที่มาของเงินทุนจากต่างประเทศ

       1. แหล่งทางการ (Official Sources)แหล่งเงินทุนจากรัฐบาล ซึ่งมีลักษณะผ่อนปรน หรือเงื่อนไขที่ดีกว่าเงินทุนจากแหล่งอื่น ๆ อาจอยู่ในรูปของเงินให้เปล่า (Grant) 
หรือเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่มีดอกเบี้ย มีระยะเวลาชำระคืนนาน “Soft Loan”

    สถาบันที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ

                   1. สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาของรัฐบาล

                   2. องค์การระหว่างประเทศ

ธนาคารโลก (World Bank / International Bank for Reconstruction and Development ? “IBRD”) 
ธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank  “ADB”) 
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: “IMF”) 
2. แหล่งเอกชน (Commercial Sources) ? เป็นแหล่งเงินทุนจากภาคเอกชนในต่างประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์, บริษัทประกัน สถาบันการเงินเอกชนอื่น ๆ 
ซึ่งให้กู้ยืมเงินในรูปของเงินกู้ (Loan) และตราสาร (Securities)

3. แหล่งผสมระหว่างแหล่งทางการ & แหล่งเอกชน  เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาค

เอกชนในการให้เงินทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของประเทศ ผู้ให้กู้โดยให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อสินค้าในประเทศของตนเพื่อกระตุ้นให้มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น
วิธีการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ

           เงินกู้ (Loan) 
           ตราสาร (Securities) 
           ทุน (Equities) 
1. เงินกู้ (Loan)  เงินที่ฝ่ายหนึ่งให้กู้ยืมแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยมีกำหนดระยะเวลาชำระคืนที่

แน่นอน และมีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เป็นค่าตอบแทนของการให้กู้ยืม
การกู้ยืมเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ จะมีสกุลเงินที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป ผู้กู้ และผู้ให้กู้จะอยู่คนละประเทศ
ประเภทของเงินกู้จากต่างประเทศ

แบ่งตามระยะเวลา ได้แก่

1. เงินกู้ระยะสั้น (Short-Term Credits) ? เป็นเงินกู้ อายุไม่เกิน 1 ปี มีวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ซึ่งสามารถเบิกจากธนาคารได้ 
ในลักษณะเดียวกับวงเงินเกินบัญชี (Overdraft)

2. เงินกู้ระยะปานกลาง & ระยะยาว (Medium Term and Long Term Loans) ? เงินกู้ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 3-5 ปี เพราะธนาคารผู้ให้กู้
สามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงของกิจการของผู้กู้หรือความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ถ้าหากเป็นเงินกู้ระยะยาวก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้นเพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยง

      แบ่งตามประเภทผู้ให้กู้ ได้แก่ 
Single Bank Loan ? เงินกู้ที่มีผู้ให้กู้เพียงรายเดียวโดยมีวงเงินกู้ไม่สูงนัก ซึ่งการให้กู้จะมี 
ขั้นตอนที่สะดวกและรวดเร็วเนื่องจากการพิจารณาอนุมัติเพียงรายเดียว 
Club Loan ? กรณีที่วงเงินกู้มีจำนวนสูงเกินกว่าธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่งจะให้กู้ได้เพียง 
รายเดียว หรือมีนโยบายในการรับความเสี่ยงของลูกค้าไม่เกินเพดานที่กำหนด จึงชักชวนให้ธนาคารอื่นมาร่วมแบ่งเบาภาระความเสี่ยงโดยธนาคารผู้ให้กู้ร่วมทุกรายมีฐานะเท่าเทียมกัน 
วงเงินกู้จะมีขนาดปานกลาง ผู้กู้ และ ผู้ให้กู้ มีความสัมพันธ์กันจึงสามารถประสานงานกันไปโดยไม่ต้องแต่งตั้งผู้ประสานงาน 
Syndicated Loan ? เป็นวงเงินกู้ที่มีผู้ร่วมให้กู้หลายราย ในกรณีนี้ผู้กู้จะแต่งตั้งสถาบัน

การเงินแห่งหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำในการจัดการเงินกู้ “Lead Manager และสถาบันนี้จะทำหน้าที่ในการจัดหาผู้ร่วมให้กู้รายอื่นและเป็นผู้ประสานงานในการกู้เงิน รวมทั้งเป็นตัวแทนของผู้ให้กู้ “Agent” 
ในการดูแลให้คู่สัญญาปฏิบัติตามสัญญาเงินกู้
ลักษณะทั่วไปของเงินกู้ต่างประเทศ

               1. วงเงิน (Amount)

               2. อายุเงินกู้ (Maturity)

               3. ระยะปลอดหนี้ (Gracc Period)

              4. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates) ? จะแตกต่างไปตามสกุลเงินที่กู้และระยะเวลาของเงินกู้ มี 2 ประเภทคือ

                      4.1 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ? อัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเมื่อครบกำหนดงวดดอกเบี้ยแต่ละงวด 
                      4.2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Interest Rate) ? อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดคงที่ตายตัว
ตลอดอายุเงินกู้ การกู้ในลักษณะนี้จะมีผลดี คือ ผู้กู้ไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงในด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่ผลเสีย คือ หากการกู้ยืมในช่วงอัตราดอกเบี้ยสูง ผู้กู้ ก็จะเสียเปรียบเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงในอนาคต

เงินกู้....ไทยเข้มแข็งเงินกู้....ไทยเข้มแข็ง

         5. สกุลเงิน (Currency)

         6. การชำระคืนเงินต้น (Principle Repayment)

การชำระคืนครั้งเดียวทั้งจำนวนเมื่อครบอายุเงินกู้ ทยอยชำระคืนเงินต้นเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน ทยอยชำระคืนเป็นงวด ๆ ไม่เท่ากัน 
         7. การชำระคืนเงินต้นล่วงหน้า (Prepayment)

         8. การชำระดอกเบี้ย (Interest Payment) ? วิธีการคำนวณดอกเบี้ยจะมีผลต่อต้นทุนเงินกู้ เช่น เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากัน แต่รายหนึ่งชำระดอกเบี้ยปีละครั้ง 
ส่วนอีกรายหนึ่งชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ต้นทุนของรายหลังจะแพงกว่ารายแรก โดยวิธีการคำนวณ

              E  =  เงินกู้....ไทยเข้มแข็ง

                E = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

                R = อัตราดอกเบี้ยต่อปี

                N = จำนวนครั้งที่จ่ายดอกเบี้ยต่อปี

                 9. ค่าธรรมเนียมในการกู้เงิน (Fees

       ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ คิดเป็น % ของวงเงินกู้

       ค่าธรรมเนียมผูกพันหนี้ (Commitment Fee)  เป็นค่าธรรมเนียมต่อปีที่คิดจากยอดเงินกู้

              อ้างอิง
           https://wannaratw.tripod.com

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3499

อัพเดทล่าสุด