แสดงจุดยืนสู่อาเซียน-แลกเปลี่ยน ครู-นักเรียน
"ชินวรณ์" เผย "ASED" เห็นชอบแผน 9 ข้อ แสดงจุดยืนสู่อาเซียน-แลกเปลี่ยน ครู-นักเรียน-เชื่อม วธ.
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6 ASEAN Education Ministers Meeting (ASED) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 46 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ 9 ประการ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 ดังนี้
1. การสร้างความตระหนักรู้ของประชากรในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
2. ความร่วมมือในการพัฒนาภาษาที่ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
3. การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน
4. ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน
5. ส่งเสริมความเป็นเลิศของบุคลากรประเทศภาคีในกลุ่มอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในการพัฒนาศักยภาพของประชาคมอาเซียนให้สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกต่อไปได้
6. ธำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชากรในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะการดูแลภาษาแม่ของแต่ละประเทศให้มีความเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษก็ตาม
7. การเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน
8. ร่วมมือแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาในแต่ละระดับ
9. เชื่อมโยงการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนและรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก 2 ปี
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEl6TURJMU5BPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB5TXc9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรง
วิธีเรียงของเป็นเส้นตรง คลิกที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=pF81q32pYKk
คลิกที่นี่ https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/third.html
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดพิจารณาคน 3 คน คือ ก ข ค ยืนเรียงเป็นแถวตรง จะได้ดังนี้ กขค กคข ขกค ขคก คกข คขก เป็นจำนวนทั้งหมด 6 วิธี
โดยอาศัยกฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ทำได้ดังนี้
การจัดตำแหน่ง ตำแหน่งที่ 1 ตำแหน่งที่ 2 ตำแหน่งที่ 3
แต่ละตำแหน่งเลือกได้ 3 X 2 X1 = 6 วิธี เขียนอยู่ในรูปแฟกทอเรียลได้ 3!
ทำนองเดียวกัน จะได้ว่า
จำนวนวิธีจัดสิ่งของ 4 สิ่งที่แตกต่างกันเรียงทั้ง 4 สิ่งจะได้ 4! วิธี
จำนวนวิธีจัดสิ่งของ 5 สิ่งที่แตกต่างกันเรียงทั้ง 5 สิ่งจะได้ 5! วิธี
สรุปได้ว่า สิ่งของ n สิ่งซึ่งแตกต่างกัน ต้องการนำมาเรียงเป็นเส้นตรงทั้งหมด จะมีตำแหน่งให้จัดเรียงได้ แตกต่างกันทั้งหมดเท่ากับ n! หรือ เขียนแทนด้วย P n, n จะได้ว่า P n, n = n! /(n-n)! = n!
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด ( เหมือนกันบางสิ่ง )
การเรียงสับเปลี่ยนสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมดจะเริ่มจากการหาจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดก่อน แล้วจึงหาจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของที่เหมือนกันบางสิ่ง ดังนี้
ตัวอย่าง การเรียงลำดับอักษร 3 ตัว ABC มาเรียงเชิงเส้นตรง จะได้ 3! = 6 วิธี ดังนี้
ABC ACB BAC BCA CAB CBA
ถ้าให้อักษรเหล่านี้บางตัวซ้ำกัน เช่น เปลี่ยนตัวอักษร C เป็น B
จะได้เป็น ABB ABB BAB BBA BAB BBA
จำนวนวิธีที่แตกต่างกัน จะเหลือเพียง 3 วิธีเท่านั้นคือ ABB BAB BBA
วิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของ 3 สิ่ง ซึ่งมี 2 สิ่งใน 3 สิ่ง เหมือนกัน จัดได้ = 3! X 2! = 3 วิธี
แนวคิดดังกล่าว อาจสรุปเป็นกฎได้ดังนี้
ถ้ามีสิ่งของอยู่ n สิ่ง ในจำนวนนี้มี n1 สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่มที่หนึ่ง มี n2 สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่มที่สอง ...และมี nk สิ่งที่เหมือนกันเป็นกลุ่ม k โดยที่ n 1+n 2+n 3+... nk = n
จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของทั้ง n สิ่ง ในแนวเส้นตรง เท่ากับ n! / n 1+n 2+n 3+... nk วิธี
ตัวอย่าง ถ้ามีเหรียญ 1 บาท 4 อัน เหรียญ 5 บาท 3 อัน จะแจกเงินให้เด็ก 7 คน คนละ 1 เหรียญ จะมีวิธีแจก เพื่อให้เด็กได้รับเงินที่มีค่าแตกต่างกันได้กี่วิธี
เหรียญทั้งหมด 7 เหรียญ มีเหรียญหนึ่งบาท 4 อัน เหรียญห้าบาท 3 อัน
เด็กทั้ง 7 คนจะได้รับเงินที่แตกต่างกัน = 35 วิธี
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/third.html
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม https://thatsanee.chs.ac.th/p2_permu.html
คำถามในห้องเรียน
1. จงหาวิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นตรงจากคำว่า "ASED" โดยใช้สระเป็นอักษรตัวแรก
2. จากแผน 9 ประการ นักเรียนคิดว่าข้อใดควรจัดทำเป็นอันดับแรก เพราะเหตุใด
ข้อเสนอแนะ
สรุป จากแผนยุทธศาสตร์ 9 ประการ จะทำได้ทุกข้อภายในปี 2558 หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆด้าน
การบูรณาการกับกลุ่มสสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส. 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
ที่มาของภาพ https://paidoo.net/images/thumb/8/560/4534364.jpg
ที่มาของภาพ https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/53613.jpg
ที่มาของภาพ https://media.thaigov.go.th/Sitedirectory/471/1818/52529_DSC05475-2.jpg
ที่มาของภาพ https://www.damrong.ac.th/dslib/PDF/MAR1/Me_law_2_43101.files/slide0009_image018.gif
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3517