150 ปี ถนนเจริญกรุง


1,235 ผู้ชม


ตราไปรษณียากรที่ระลึก เริ่มจำหน่ายวันที่ 5 ก.พ.2554 ราคาดวงละ 3 บาท   

150 ปี ถนนเจริญกรุง150 ปี ถนนเจริญกรุง

ไปรษณีย์ไทยจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกเนื่องในโอกาสถนนเจริญกรุงมีอายุครบ 150 ปี ในปี 2554 ถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2404 เป็นสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างแบบตะวันตก พระราชทานนามถนนเส้นนี้ว่า "ถนนเจริญกรุง" หมายถึงถนนที่นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

ปัจจุบันตัดผ่านพื้นที่ 6 เขต ทั้งพระนคร สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก สาทร และบางคอแหลม เริ่มจำหน่ายวันที่ 5 ก.พ.2554 ราคาดวงละ 3 บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNekkzTURJMU5BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB5Tnc9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วิธีอ่านเขียนเลขโรมัน
เลขโรมัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กัน ดังนี้
I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1
V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5
X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10
L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50
C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100
D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000
การเขียนเลขโรมัน
150 ปี ถนนเจริญกรุงการเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม[1] โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น
MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567

ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย
 และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น
IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468
จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000
โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99
การอ่านเลขโรมันไม่ใช่เรื่องยาก  ถ้าจำเลขโรมันตัวหลักได้และรู้ว่าเลขตัวนั้นมีค่าเท่าไร เลขโรมันที่ใช้เขียนมีอยู่ 7 ตัว 150 ปี ถนนเจริญกรุงคือ I = 1,  V = 5, X = 10, L =  50,  C =  100,  D =  500,  M  = 1,000
หลักสำคัญในการอ่านเลขโรมัน มีดังนี้
1. เมื่อเขียนเลขตัวใดเรียงซ้ำ ๆ  กัน  ค่าของเลขจำนวนนั้นคือ  การเอาค่าของเลขแต่ละตัวบวกเข้าด้วยกัน เช่น X เท่ากับ 10 ดังนั้น  XXX  จึงเท่ากับ 30
2. เมื่อเขียนเลขตัวใดไว้ทางด้านซ้ายมือของเลขตัวที่มีค่ามากกว่าค่าของเลขตัวนั้นก็คือ  เอาเลขตัวที่มีค่าน้อยกว่าลบออกจากตัวเลขที่มีค่ามากกว่า เช่น X เท่ากับ 10, L เท่ากับ 50 ดังนั้น XL จึงเท่ากับ 40
3. เมื่อเขียนเลขตัวใดหรือเลขจำนวนใดไว้ทางด้านขวามือของเลขตัวที่มีค่าเท่ากันหรือมีค่ามากกว่า  ค่าของเลขจำนวนนั้นก็คือ  ค่าของเลขตัวนั้นบวกกับตัวเลขที่มีค่ามากกว่า เช่น  M เท่ากับ 1,000 Cเท่ากับ 100  MCC  จึงเท่ากับ 1,200
4.  เมื่อเลขตัวใดมีเครื่องหมายขีดตามยาวอยู่ด้วยบนเลขตัวนั้นจะมีค่าเท่ากับคูณด้วย 1,000 เช่น  XV เท่ากับ 10,005  XCLIV เท่ากับ 10,155  M  เท่ากับ 1,000,000

ตัวอย่าง
I  =  1  II = 2  III = 3  IV = 4  V = 5
VI = 6  VII = 7  VIII = 8  IX = 9  X = 10
XI = 11  XII = 12  XIII = 13  XIV = 14  XV = 15
XVI = 16  XVII = 17  XVIII = 18 XIX  =  19 XX =  20
XXX =  30 XL =  40  L = 50  LX = 60  LXX = 70
LXXX = 80 XC = 90  C = 100  CC = 200  CCC = 300
CD = 400  D = 500  DC = 600  DCC = 700 DCCC = 800
CM = 900  M = 1,000 MM = 2,000
ที่มาของข้อมูล https://showoff.yenta4.com/forum/topic/395671
คำถามในห้องเรียน
150 ปี ถนนเจริญกรุง1. จงเขียนจำนวน 150 เป็นเลขโรมัน
2. ผลรวมของ 4 จากจำนวน 2554 และ 2 จากจำนวน 2404 มีค่าเท่าใด

ข้อเสนอแนะ
สรุป ที่ระลึกเนื่องในโอกาสถนนเจริญกรุงมีอายุครบ 150 ปี ราคาดวงละ 3 บาท มีค่าทางจิตใจสำหรับผู้รักและสะสมเกี่ยวกับตราไปรษณียากรมากกว่า

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

สาระที่ 4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ
สาระที่ 5  ภูมิศาสตร์                                                            
มาตรฐาน ส 5.1  เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ  ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                                        

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS1NLGoR2aywZF_KrD46MGUB5NVfMUO8lUl4At2t8veq9e5OdN8
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2011/02/you03270254p1.jpg
ที่มาของภาพhttps://2.bp.blogspot.com/_SVrXOKcQSH8/S1LhHF_lMkI/AAAAAAAAJFA/X39ckF04CYo/s400/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
ที่มาของภาพ https://2.bp.blogspot.com/_xp1UpSI3wgw/TNLjrnDLGEI/AAAAAAAAALM/B08onZQYw1U/s1600/20050314_roman2.jpg
ที่มาของภาพ https://nupetchy.diaryclub.com/images/20050314_roman1.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3524

อัพเดทล่าสุด