"ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ


1,638 ผู้ชม


เป้าหมายที่จะบรรลุการศึกษาเพื่อปวงชน ปี 2558 ตามกรอบปฏิญญาดาการ์ 6 เรื่อง   

"ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ

 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 มีนาคมว่า ประเทศไทยได้รับ"ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชนครั้งที่ 10 วันที่ 22-24 มีนาคม ที่พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งจะมีผู้นำด้านการศึกษาจากชาติสมาชิกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เข้าร่วมประชุม 45 ประเทศ ประมาณ 200 คน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเป็นประธานในพิธีวันที่ 22 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เฝ้าฯรับเสด็จ และกราบบังคมทูลถวายรายงาน"การประชุมครั้งนี้กำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุการศึกษาเพื่อปวงชนภายในปี 2558 ตามกรอบปฏิญญาดาการ์ 6 เรื่อง ได้แก่ 
1.ขยายและปรับปรุงการศึกษาและการดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กที่เปราะบาง 
และด้อยโอกาส 
2.จัดให้เด็กทุกคน เด็กที่อยู่ในสภาวะลำบาก เด็กชนกลุ่มน้อยสามารถเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับที่มีคุณภาพ 
3.จัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ 
4.พัฒนา
อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ให้เพิ่มขึ้น 50% 
5.ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษา 
6.พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกด้านเพื่อรองรับความเป็นเลิศ" นายชินวรณ์กล่าว  และ
ว่าสำหรับไทยมีเด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเพียง 3%
          
ขณะที่นายควาง โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโกประจำประเทศไทย กล่าวว่า  รายงานปี 2554 ของยูเนสโก พบว่ามีเด็กกว่า 67 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการศึกษา และมีเด็กจำนวนมากที่ไม่จบระดับประถมหรือต้องออกกลางคัน ทั้งนี้ การขาดแคลนเงินสนับสนุนเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน โดยมีเพียง 6 ประเทศที่สนับสนุนด้านการเงินร้อยละ 62 แก่การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299157445&grpid=&catid=19&subcatid=1903

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซนไทล์  (quartile decile and Percentile) "ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ
จากความหมายของควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซนไทล์ สามารถหาความสัมพันธ์ของควอไทล์ เดไซล์ และเปอร์เซนไทล์ ได้ว่า 
1 = P 25       
2 = D 5  = P 50  มัธยฐาน  
3 = P 75       
= P 10      
= P 20      
= P 30       
9 = P 90      
เปอร์เซนไทล์ต่างกับคะแนนร้อยละของข้อมูล คือ คะแนนร้อยละเป็นคะแนนที่ได้เมื่อเทียบจากคะแนนเต็มเป็น 100 ส่วนเปอร์เซนไทล์ เป็นคะแนนที่แสดงถึงตำแหน่งของข้อมูลเท่านั้น
สูตร การหาตำแหน่งควอไทล์ เดไซล์ เปอร์เซนไทล์ 
เมื่อ 
           r           เป็นตำแหน่งควอไทล์ เดไซล์ เปอร์เซนไทล์ที่ต้องการ
          N          เป็นจำนวนข้อมูลทั้งหมด

ข้อมูลไม่มีการจัดกลุ่ม 
Q r = r(N+1)/4
D r = r(N+1)/10
P r = r(N+1)/100

ข้อมูลมีการจัดกลุ่ม 
Q r = rN/4
D r = rN/10
P r = rN/100

ควอไทล์ ( Quartile)
          เมื่อเรานับจากค่าต่ำสุดหรือค่าแรกจนถึง 1/4 ของข้อมูลทั้งหมดเราเรียกว่าควอไทล์แรก (first quartile) ใช้สัญลักษณ์ว่า Q1 นับขึ้นมาอีกจนถึงข้อมูลส่วนสุดท้ายหรือส่วนที่สี่ ซึ่งทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 
4 ส่วนเราจะเรียกส่วนที่ 3 ว่าควอไทล์ที่ 3 หรือ Q3 ค่ามัธยฐานจะแบ่งครึ่งควอไทล์ที่สองและสามออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งก็คือ Q ค่า Q 1, Q และ Q คือจุดบนมาตรการวัด 
"ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือเดไซล์ ( Decile)
          เป็นการแบ่งข้อมูลออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนจะเป็น 1/10 ของข้อมูลทั้งหมด ตำแหน่งที่แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เดไซล์ เขียนแทนด้วย D 1, D 2, D 3 ,… , D
          Dคือ เดไซล์ที่ 1 เป็นตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามี 1/10 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับข้อมูล ณ ตำแหน่งนี้ และมีข้อมูล 9/10 ของข้อมูลทั้งหมด ที่มีค่าสูงกว่าข้อมูล ณ 
ตำแหน่งนี้ 
          D2 คือ เดไซล์ที่ 2 เป็นตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามี 2/10 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าต่ำกว่า หรือเท่ากับข้อมูล ณ ตำแหน่งนี้ และมีข้อมูล 8/10 ของข้อมูลทั้งหมด ที่มีค่าสูงกว่าข้อมูล ณ 
ตำแหน่งนี้ 
          D3 , D 4,… , D 9 สามารถอธิบายได้ทำนองเดียวกัน

เปอร์เซนไทล์ (Percentile) 
          เป็นการแบ่งข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนจะเป็น 1/100 ของข้อมูลทั้งหมด ตำแหน่งที่แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เปอร์เซนไทล์ เขียนแทนด้วย P 1, P 2, P 3, …, P99 
          Pคือ เปอร์เซนไทล์ที่ 1 เป็นตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามี 1/100 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับข้อมูล ณ ตำแหน่งนี้ และมีข้อมูล 99/100 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าสูงกว่าข้อมูล ณ 
ตำแหน่งนี้ 
          P2 คือ เปอร์เซนไทล์ที่ 2 เป็นตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามี 2/100 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับข้อมูล ณ ตำแหน่งนี้ และมีข้อมูล 98/100 ของข้อมูลทั้งหมดที่มีค่าสูงกว่าข้อมูล ณ  
ตำแหน่งนี้ 
          P 3, P 4 , …, P99 สามารถอธิบายได้ทำนองเดียวกัน

แบบฝึกหัด
ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ 
1. จงคำนวณหาค่า Q 2, D 6, P 55 ของข้อมูลต่อไปนี้
14, 20, 15, 18, 16, 22, 19, 25, 17, 21
2. จากการสอบของนักเรียนชั้น ปวช. 3 จำนวน 20 คน ปรากฏคะแนนสอบดังนี้
17   15   25   20   18   20   20   14   17   15   
15   18   15   18   17   17   22   16   12   17
ต้องการหาค่า Q 3, D 7, P 70 
3. จากการชั่งน้ำหนัก นักเรียนชั้น ปวช. 3 จำนวน 20 คน ปรากฎน้ำหนักเป็นดังนี้ 
17   20   20   20   15   16   15   18   17   25   
15   25   18   14   17   12   17   15   18   17
- จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลข้างต้น โดยการแจกแจงความถี่แบบจัดกลุ่ม กำหนดให้อันตรภาคชั้นเป็น 3 
4. จงหาคะแนนมาตรฐานของน้ำหนัก 18 กิโลกรัม ของนักเรียน ปวช. 1 จำนวน 10 คน เป็นดังนี้ 
17   20   18   20   15   16   15   18   17   17
ที่มาของข้อมูล https://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/unit_4_2.htm
ที่มาของข้อมูล https://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/unit_4_3.htm
ที่มาของข้อมูล https://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/UNIT_4_4.HTM
ที่มาของข้อมูล https://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/test_4.html

คำถามในห้องเรียน
"ยูเนสโก"เผยเด็ก 67 ล้านคน ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ1. เด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา 3%  ตรงกับ ควอไทล์ เดไซล์ ที่เท่าไร
2. จากข้อมูล 22 24  45  62 จงหา ต้องการหาค่า Q 2, D 6, P 75

ข้อเสนอแนะ
เมื่อ เด็ก 67 ล้านคนทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ จะมีวิธีการหรือหามาตรการอะไรที่จะทำให้เด็กๆ เหล่านั้นได้เรียนหนังสือใครล่ะจะเป็นผู้ตอบคำถามเหล่านี้
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส.3..2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 4  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSzi1P7zrL-Cla3x1oedh3PhRaEjDgCVrAP-O4fILCWy_amerNWjA
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQuSdYIid3azexQqug6xOQHVEg-jxeYpGiUvlSW9rTNvNMfkFgrEA
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR20Itdd0kitKscH1RRqJAzQX0StV2XxYVJJJY4Hfkvf6gzIA00xzMWrwpw
ที่มาของภาพ https://www.jat-languagecafe.com/newsite/pic/benkyo2.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/ananlawan_k/laktum/picture/toon.JPG

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3534

อัพเดทล่าสุด