ลดการสอบความถนัดทั่วไป GAT และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT เหลือปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน ต.ค. และ มี.ค.
ข้อสอบ GAT/PAT 2 มาตรฐานมีสิทธิ์โดนฟ้อง
นายไชยยศ จิรเมธากร (รมช.ศธ.) มีแนวคิดเสนอให้ที่ ทปอ. ซึ่งมีมติลดการสอบความถนัดทั่วไป GAT และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT เหลือปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน ต.ค. และ มี.ค.
ถ้าอยากให้ทราบแน่ชัดลงไปอีกว่านักเรียนคนนั้นเด่นด้อยขนาดใดให้ไปอ่านบัญชีในตารางการแปลง T – Score เป็นจำนวนร้อยละที่อยู่เหนือกว่าผู้อื่นหรือแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ไทล์ (PR) นั่นเอง เช่น ด.ช.ประชา ได้ T 45 ซึ่งตรงกับเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 30.85 หรือ 31% หมายความว่าในนักเรียน 100 คนจะมีนักเรียนคนอื่น ๆ ที่มีคะแนนน้อยกว่า ด.ช.ประชา อยู่ 31 คน พร้อม ๆ กับมีอีก 69 คนที่มีคะแนนมากกว่าหรือเก่งกว่าเขา
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่ https://pretest.satitpatumwan.ac.th/TScore.aspx
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมที่ https://www.watpon.com/Elearning/stat22.htm
ปี 2555 โดยนายไชยยศเสนอให้การสอบ GAT, PAT เดือน ต.ค. ออกข้อสอบตามเนื้อหาเท่าที่เด็กเรียนไปแล้ว คือ 5 ภาคเรียน เท่านั้น ส่วนการสอบใน เดือน มี.ค. นายไชยยศเสนอว่า ให้ออกข้อสอบให้ครบ 6 ภาคเรียน เพราะเด็กเรียนจบหลักสูตร ม.ปลาย แล้ว เพื่อไม่ให้เด็กต้องไปกวดวิชา และเรียนในห้องเรียนจนจบนั้น
ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธาน ทปอ. กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าว ทปอ.คงไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากการสอบวัดความรู้เพื่อนำผลคะแนนสอบไปเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานั้น ข้อสอบจะต้องได้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาข้อสอบ GAT/PAT ก็มีมาตรฐานเดียวกันทุกครั้ง และเปิดโอกาสให้เด็กเลือกผลสอบครั้งที่ดีที่สุดมาสมัครสอบ ดังนั้นหากเครื่องมือที่ใช้วัดในการสอบไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดความลักลั่นกันก็จะเกิดการฟ้องร้องได้ และที่ผ่านมาโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนด้านเนื้อหาให้ครบทั้งหลักสูตร ม.ปลาย ภายใน 5 ภาคเรียน ส่วนภาคเรียนที่ 6 จะเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของศิษย์กับโรงเรียน หรือกิจกรรมสาธารณะ
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ https://www.thaipost.net/news/080311/35396
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ค่ามาตรฐานหรือคะแนนมาตรฐาน (Standard Scores)
ค่ามาตรฐานเป็นค่าที่บอกให้ทราบความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้นกับค่าเฉลี่ยเลขคณริตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนของข้อมูลที่มาจากข้อมูลต่างชุดกัน ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เพราะมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลมัก จะไม่เท่ากัน ในการเปรียบเมียบให้มีความถูกต้องจึงมีความจำเป็นของการเปลี่ยนคะแนนของข้อมูลทั้งสองชุดนั้นให้เป็นคะแนนมาตรฐาน ( ซึ่งมีมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากันเสียก่อน ) จึงจะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ชุดนี้ได้ ในการเปลี่ยนค่าของข้อมูลของตัวแแปรหรือข้อมูลแต่ละตัวให้เป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้คือเปลี่ยนให้มีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1
ข้อสังเกต
1. คะแนนมาตรฐานเป็นตัวเลขไม่มีหน่วย
2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนมาตรฐานทั้งหมดของชุดข้อมูล จะมีค่าเท่ากับ 1
3. คะแนนมาตรฐานของข้อมูลใดๆ จะเป็นบวก หรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับค่าของข้อมูลนั้นๆ กับมัชฌิมเลขของข้อมูลชุดนั้นว่าค่าใดมีค่ามากกว่ากัน
4. คะแนนมาตรฐานโดยทั่วไปจะมีค่า –3 ถึง +3 แต่อาจจะมีบางข้อมูลที่มีคะแนนมาตรฐานสูงหรือต่ำกว่านี้เล็กน้อย
5. เมื่อแปลงข้อมูลทุกๆ ค่าในข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นคะแนนมาตรฐานแล้วทำค่ามาตรฐานเหล่านั้นมาคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิตจะได้เท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้เท่ากับ 1 ( คะแนนมาตรฐานจะมีมัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 )
ตัวอย่าง สายใจสอบวิชาสถิติและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนเท่ากัน ในการสอบสายใจได้คะแนน 75 และ 85 คะแนนตามลำดับ
ถ้าค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเเบี่ยงเบนมาาตรฐานของคะแนนสถิติของนักศึกษากลุ่มนี้คือ 60 และ 10 ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของวิชาภาษาอังกฤษคือ 70 และ 12 ตามลำดับ แล้วจงเปรียบเทียบว่าสายใจเรียนวิชาไหนได้ดีกว่ากัน
วิธีทำ
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติ คือ (75 – 60) / 10= 1.5
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ คือ (85 – 70) /12 = 1.25
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติของสายใจสูงกว่าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ แสดงว่าสายใจเรียนวิชาสถิติได้ดีกว่าวิชาภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง ในการสอบวิชาบัญชีของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มหนึ่ง มีค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 64 และ 10 ตามลำดับ ถ้าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาบัญชีของ เพชรมณีคือ 1.3 อยากทราบว่าเพชรมณีสอบได้คะแนนเท่าไร
วิธีทำ
ค่ามาตรฐาน 1.3 = (x – 64) / 10
X = (1.3 x 10) + 64 = 77
เพชรมณีสอบวิชาบัญชีได้คะแนน 77 คะแนน
ตัวอย่าง
ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรีแผนกการตลาดและแผนกบัญยชี ซึ่งวสา นักศึกษาแผนกบัญชีสอบได้ 85 คะแนน ในแผนกบัญชีมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 70 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10 และสุธี นักศึกษาแผนกการตลาดสอบได้ 75 คะแนนในแผนกการตลาดมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12 จงหาว่า วสาและสุธี ใครเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากัน
วิธีทำ
คะแนนมาตรฐานของวสา = (85 – 70) / 10 = 1.5
คะแนนมาตรฐานของสุธี = 1.25
ดังนั้นจากการเปรียบเทียบคะแนนมาตรฐานของวสาจะสูงกว่าของสุธี แสดงว่า วสาจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าสุธ
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.17.html
การประเมินคะแนนมาตรฐานที (T – Score) อาจกำหนดระดับคุณภาพเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ตั้งแต่ T 65 และสูงกว่า แปลว่า ดีมาก
ตั้งแต่ T 55 – 65 แปลว่า ดี
ตั้งแต่ T 45 – 55 แปลว่า พอใช้
เฉพาะ T 50 แปลว่า มีความสามารถปานกลางพอดี
ตั้งแต่ T 35 – 45 แปลว่า ยังไม่พอใช้
ตั้งแต่ T 35 และต่ำกว่า แปลว่า อ่อน
คุณลักษณะที่สำคัญของคะแนนมาตรฐานที (T – Score) คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ ใช้เปรียบเทียบคะแนนจากข้อมูลต่างชุดกันได้ บวก ลบ คูณ หารกันได้อย่างถูกหลักวิชา เพราะการแปลงคะแนนดิบของแต่ละวิชาให้เป็นคะแนนมาตรฐานที (T – Score) นั้นจะทำให้คะแนนต่าง ๆ เป็นมาตราเดียวกัน
นอกจากนี้คะแนนมาตรฐานที (T – Score) ยังสามารถนำมาหาค่าเฉลี่ยได้อย่างมีความหมาย เช่น ด.ช.ประชา สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ T 50 สอบวิชาวิทยาศาสตร์ได้ T 55 สอบวิชาภาษาไทยได้ T 40 และสอบวิชาสังคมศึกษาได้ T 33 ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยของ T – Score ทั้ง 4 วิชา เท่ากับ = 44.5 หรือเท่ากับ T 45 ซึ่งอาจประเมินได้ว่า เขามีความสามารถในการเรียนระดับปานกลางหรือพอใช้แต่ค่อนข้างต่ำ จะเห็นได้ว่าคะแนนมาตรฐานที (T – Score) สามารถแปลความหมายได้ในตัวมันเอง เช่น ผู้ที่สอบได้คะแนน มาตรฐานที (T – Score) ใกล้ๆ กับ 50 แสดงว่ามีความสามารถปานกลางแต่ถ้าได้คะแนนมาตรฐานที (T – Score) ต่ำกว่า 50 แสดงว่ามีความสามารถค่อนข้างต่ำลงไป เป็นต้น
คำถามในห้องเรียน
1. ถ้าการสอบความถนัดทั่วไป GAT และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT มี 2 มาตรฐาน นักเรียนคิดว่ามีข้อดีหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง ร่วมกันอภิปราย
2.ในการสอบ GAT / PAT โดยใช้เนื้อหา 5 ภาคเรียนและ 6 ภาคเรียน ถ้าเป็นนักเรียนคิดว่านักเรียนจะเลือกสอบแบบไหนดี อภิปรายพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
ความคิดของนักการศึกษาแตกต่างกันแต่อย่าให้แตกแยก และควรคำนึงถึงผลที่ตามมา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ที่มาของภาพ https://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/205/1.gif
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSHikSiT3OdCzB_LUSSlH07TalC1tMO4W4823FHkmuUKoeDo2PMeQ
ที่มาของภาพ https://pvec.ac.th/wbi53/satity/lesson/unit5/52_clip_image003.gif
ที่มาของภาพ https://hilight.kapook.com/img_cms/other/Untitled-1.jpg
ที่มาของภาพ https://img7.imageshack.us/img7/9764/antigatpatlogo.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3544