"เบ๊กส์" ตื่นเต้น ใกล้ได้ "ลูกสาว


788 ผู้ชม


วิกตอเรีย ท้องที่ 4 คาดว่าเป็นลูกสาว   

"เบ๊กส์" ตื่นเต้น!  ใกล้ได้ "ลูกสาว"

"เบ๊กส์" ตื่นเต้น ใกล้ได้ "ลูกสาว
เดวิด เบ๊กแฮม อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษวัย 35 ปีใกล้จะได้ลูกสาวอย่างที่ตั้งใจไว้ หลังจากวิกตอเรีย เบ๊กแฮม เมียสาวสวยวัย 36 ปี ตั้งท้องที่ 4 ล่าสุดคาดว่าเป็นลูกสาว โดยวิกตอเรีย มีกำหนดคลอดในเดือน ก.ค.นี้ ที่เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

เบ๊กแฮมซึ่งปัจจุบันเล่นให้กับทีมแอลเอ แกแล็กซี ทีมดังในเมเจอร์ลีก ของสหรัฐ ออกมายืนยันเป็นครั้งแรกว่า เขาและวิกตอเรียหวังว่า ลูกคนใหม่จะเป็นผู้หญิง "พวกเราโชคดีกับความคาดหวังอีกครั้ง นี่เป็นครั้งแรกที่ผมอยากจะบอกว่าเป็นลูกสาวตัวน้อยๆ ตอนนี้ยังรู้สึกช็อกอยู่เลย พวกเรารู้สึกตื่นเต้น ลูกชายของเราทั้ง 3 คนก็ตื่นเต้นเช่นกันที่จะได้น้องสาว พวกเขามีความสุขมาก" เบ๊กแฮม กล่าวก่อนหน้านี้ เบ๊กแฮมมีลูกชาย 3 คน ประกอบด้วย บรู๊กลีน คนโต อายุ 12 ปี  โรเมโอ คนรองอายุ 8 ปี และครูซ อายุ 6 ปี 

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROemNHOHdNakUwTURNMU5BPT0=&sectionid=TURNd09BPT0=&day=TWpBeE1TMHdNeTB4TkE9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีเบื้องต้นของความน่าจะเป็น 
ความน่าจะเป็น (Probability)
 
     ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็น จะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น 
แซมเปิลสเปซ (Sample Space )
     แซมเปิลสเปซ คือ เซตของเหตุการณ์ทั้งหมดจากการทดลอง (Universal Set) เช่น การโยนลูกเต๋าถ้าต้องการดูว่าหน้าอะไรจะขึ้นมาจะได้ S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
     แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point) คือ สมาชิกของแซมเปิลสเปซ (Sample Space ) เช่น 
S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 } จะได้แซมเปิลพ้อยท์คือ 1 ถึง 6
     เหตุการณ์ (Event) คือ เซตที่เป็นสับเซตของ Sample Space เป็นเหตุการณ์ที่เราสนใจ จากการทดลองสุ่ม
     การทดลองสุ่ม (Random Experiment) คือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
ที่มาของข้อมูล https://www.eduzones.com/news-503-4-19109.html

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
"เบ๊กส์" ตื่นเต้น ใกล้ได้ "ลูกสาวในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
- บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
- นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
- ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
- ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า
คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5

          ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 
          ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 
ที่มาของข้อมูล https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK6/chapter12/t6-12-m.htm

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
"เบ๊กส์" ตื่นเต้น ใกล้ได้ "ลูกสาวในทางคณิตศาสตร์ เราหา "ค่าของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ซึ่ง ไม่ทราบแน่ว่าจะเกิดหรือไม่" ได้โดยพิจารณา "น้ำหนัก" ที่เหตุการณ์นั้นๆ จะเกิด ถ้ากำหนดให้น้ำหนักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีค่าเป็น 0 น้ำหนัก ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่มีค่าเป็น 1 และน้ำหนักของเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นมีค่าเป็นจำนวนเลขที่อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 เราจะมีตัวเลขมากมายนับ ไม่ถ้วน แสดงค่าของน้ำหนัก หรือโอกาสที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ และเรียกค่าของน้ำหนักนี้ว่า "ค่าของความน่าจะเป็น" 
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ ถ้าเหรียญนั้นไม่ได้มีการถ่วง ให้หน้าใดง่ายง่ายกว่าหน้าอื่นก็เชื่อว่า "น้ำหนัก" ของการที่เหรียญจะ หงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน   
ผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 2 อย่าง คือเหรียญหงายหัวหรือเหรียญ หงายก้อยซึ่งอาจเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่า ๆ กัน

โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว=โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย 
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว = 1/2 
โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย = 1/2 
เรากล่าวว่า ความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายหัวมีค่า 1/2 
และความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายก้อยมีค่า 1/2 
 
ในการทอดลูกเต๋าลูกหนึ่ง เมื่อลูกเต๋านั้น ๆ มีหน้าใหญ่เท่า ๆกัน และไม่มีการถ่วงให้หน้าใดหงายง่ายกว่าหน้าอื่น ก็เชื่อได้ว่า "น้ำหนัก" ของการที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน 
ผลที่ลูกเต๋าจะขึ้นหน้าต่าง ๆ ทั้งหมดมี 6 อย่าง คือ อาจขึ้นหน้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หรือหก ด้วยความน่าจะเป็นเท่า ๆ กัน คือ 1/6 
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ และเหรียญห้าบาทหนึ่งเหรียญ พร้อม ๆ กัน เหรียญย่อมหงายได้ 4 อย่าง 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญใดจะหงายหัวหรือก้อยมีเท่า ๆ กัน คือ 1/2 สำหรับ แต่ละเหรียญ เราใช้ทฤษฎีของความน่าจะเป็นคำนวณค่าของความน่าจะเป็น ได้ดังนี้ 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายหัว = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายก้อย = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญหนึ่งหงายหัวกับอีก 
เหรียญหนึ่งหงายก้อย = 1/2 
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even.htm
คลิป ความน่าจะเป็น ม.5 https://www.youtube.com/watch?v=TW5GSimTFRw
คลิป ความน่าจะเป็น ม.3 https://www.youtube.com/watch?v=6BPj-RsRVCM&feature=related
แบบฝึกหัด https://thatsanee.chs.ac.th/Exercise/test41.html

คำถามในห้องเรียน
1. ถ้าครอบครัวหนึ่งมีลูกสามคน  จงหาเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้มีลูกหญิง 2 คน
2. ในลิ้นชักมีถุงเท้า 4 คู่ เป็นถุงเท้าสีดำ 2 คู่ และสีขาว 2 คู่ ถ้าทำการทดลองสุ่ม โดยหยิบถุงเท้ามาสองคู่ ให้หาความน่าจะเป็นที่จะได้ถุงเท้าทั้งสองคู่เป็นสีต่างกัน

ข้อเสนอแนะ
เพศของลูกจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงขอให้เป็นเด็กดีของครอบครัวและเป็นคนดีของประเทศชาติ  ที่สำคัญควรเลี้ยงดูโดยให้ความรักมากกว่าให้วัตถุสิ่งของ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่  2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.2  มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มาของภาพ https://images.thaiza.com/4/4_20070504121225..jpg
ที่มาของภาพ https://static.truelife.com/blog/files/members/1/1765/136475/02ffb8.jpg
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/%5B%5B.jpg
ที่มาของภาพ https://www.science.cmu.ac.th/educate/couresware_bio/202231/Picts/13.1.jpg
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3557

อัพเดทล่าสุด