กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น


973 ผู้ชม


ไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านน่านฟ้าบางประเทศ ชี้เพื่อความปลอดภัย   

กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น 
 ทอ.แจงเลื่อนเที่ยวบินซี 130 หลังยังไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านน่านฟ้าบางประเทศ ชี้เพื่อความปลอดภัย  

กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น         นาวาอากาศเอกพงษ์ศักดิ์ เสมาชัย ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ กองทัพอากาศ เปิดเผยว่า กองทัพอากาศจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการเดินทางของเครื่องบิน ซี 130 จำนวน 2 เครื่องที่จะนำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้กับทางการญี่ปุ่น เพื่อช่วยเหลือหลังต้องประสบเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ จากเดิมที่มีกำหนดการเดินทาง เวลา 22.00 น. คืนนี้ (17 มี.ค.) 
          เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้าบางประเทศ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด จึงจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางออกไปเป็นวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค.) เวลาเดิม จำนวน 2 เครื่อง ส่วนอีก 1 เครื่องจะเดินทางไปในวันที่ 19 มี.ค. และจะเดินทางกลับมาพร้อมกับรับคนไทยกลับมาด้วยในวันที่ 20 มี.ค.ต่อไป.
ที่มาของข้อมูล https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=127455
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การให้เหตุผล
1.ระบบทางคณิตศาสตร์
          อนิยาม คือ ข้อความที่ไม่ต้องให้ความหมาย หรือ คำจำกัดความ
          บทนิยาม คือ ข้อความที่ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน เพื่อทุกคนทราบความหมายที่ถูกต้องเข้าใจตรงกัน
          สัจพจน์ คือ ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ 
          ทฤษฎีบท คือ ข้อความที่ยอมรับว่าเป็นจริง ได้มีการพิสูจน์โดยอาศัย อนิยาม บทนิยาม สัจพจน์ และวิธีทางอย่างมีเหตุมีผล 
 
2. การให้เหตุผล
          มนุษย์เราให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อและเพื่อหาความจริงหรือข้ออสรุปในเรื่องที่ต้องการศึกษา 
      กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น2.1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย ( Inductive Reasoning ) 
          เป็นการให้เหตุผลโดยยึดความจริงส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงส่วนใหญ่
          ตัวอย่าง มนุษย์สังเกตพบว่า : ทุก ๆวันดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต. 
จึงสรุปว่า : ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.เสมอ
 
          การให้เหตุผลแบบอุปนัย หมายถึง วิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป 
 
          อย่างไรก็ดีการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง เนื่องจากเป็นการสรุปผลจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ 
          ดังนั้น ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้าง 
      1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างอิงมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่ 
      2. ข้อมูลหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงเป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่
      3. ข้อสรุปที่ต้องการมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด 
     2.2 การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning )
           เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ความเชื่อ ข้อตกลง กฏ บทนิยามซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริงเพื่อหาเหตุนำไปสู่ข้อสรุป
           ตัวอย่าง     เหตุ   1. เด็กทุกคนชอบเล่นฟุตบอล
                                   2. ฟุตบอลเป็นกีฬา
                           ผล   เด็กทุกคนชอบเล่นกีฬา
 
           สรุปว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปถูกต้อง เมื่อ
                         1. ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ
                         2. การสรุปผลสมเหตุสมผล
 
      ความสมเหตุสมผล
      กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่นมี 2 ส่วน คือ
             1. เหตุ – สิ่งที่เรากำหนด / สมมติฐาน
             2. ผล – ผลสรุป / ข้อสรุป
     *ผลสรุป จะถูกต้อง เมื่อมีความสมเหตุสมผล
 
     การตรวจสอบการสมเหตุสมผล
           การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความที่กำหนดมาให้ วิธีหนึ่งคือ การวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วจึงพิจารณาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่
 
             ถ้าแผนภาพ สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น สมเหตุสมผล
  ถ้าแผนภาพ ไม่สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น ไม่สมเหตุสมผล
(ไม่สอดคล้องเพียง 1 กรณี ก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผล) 
             เรียกการตรวจสอบการสมเหตุสมผลแบบนี้ว่า การอ้างเหตุผลโดนการใช้ตรรกบทของตรรกศาสตร์
  
ตัวอย่าง    
เหตุ 1. คนทุกคนที่กินปลาเป็นคนฉลาด
      2. คนที่ฉลาดเรียนหนังสือเก่ง
ผล      คนที่กินปลาเรียนหนังสือเก่ง
ดังนั้น การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
  
ตัวอย่าง
เหตุ   1. คนจีนบางคนนับถือศาสนาพุทธ
        2. เหมยเป็นคนจีน
ผล       เหมยไม่นับถือศาสนาพุทธ
ดังนั้นไม่สมเหตุสมผล
 กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น       
             ตัวอย่าง    เหตุ    1. เรือทุกลำลอยน้ำ
                                     2. ถังน้ำพลาสติกลอยน้ำได้
                            ผล    ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ    >> สังเกตว่า แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบ ว่า เรือทุกลำลอยน้ำได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปในตัวอย่างข้างต้นจึงเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
     ตอบ สมเหตุผล
               ตัวอย่าง    เหตุ   1. แมวทุกตัวเป็นปลา
                                      2. ต้นไม้ทุกต้นเป็นแมว
                            ผล    ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา     >> สังเกตว่า ผลสรุปที่กล่าวมาว่า ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา นั้นสมเหตุสมผล แต่ไม่เป็นความจริงทางโลก 
 
     หมายเหตุ เมื่อยอมรับเหตุเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แล้ว ต่อให้ผลสรุปขัดแย้งกับความเป็นจริงทางโลก แต่หากเป็นจริงตามการให้เหตุผลนั้นแล้ว ก็ถือว่า การให้เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบอุปนัย
- โดยอ้างจากตัวอย่างหรือประสบการณ์ย่อยหลายๆตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นความรู้ทั่วไป
- จากเหตุกาณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นซ้ำๆหลายๆครั้ง
- โดนใช้การคาดคะเน
- จากประสบการณ์ของผู้สรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ จะสนับสนุน ผลสรุป แต่จะไม่สามารถยืนยันข้อสรุปได้
- ย่อย >> ใหญ่ คือ การนำข้อค้นพบจากตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างมาสรุปเป็นความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการ
 สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- โดยอ้างเหตุผลจากความรู้พื้นฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับกันมาก่อน
- เมื่อเหตุ (ข้อสมมติ) เป็นจริง แล้วทำให้เกิดผลสรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ (เหตุ) สามารถยืนยัน ผลสรุปได้
- ถ้าเหตุนั้นทำให้เกิดผลสรุปได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล
- ถ้าเหตุทำให้เกิดผลสรุปไม่ได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล
 - ใหญ่ >> ย่อย คือการนำความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการมาใช้ในการหาคำตอบหรืออธิบายหรือให้เหตุผลกับกรณีเฉพาะอันหนึ่ง
ที่มาของข้อมูล https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cudsmaths47/view.php?Page=1248417307576477&msite=cudsmaths47กองทัพอากาศเลื่อนเที่ยวบิน ซี 130 ไปญี่ปุ่น

คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนสร้างแผนภาพจาก ข้อความต่อไปนี้ "เลื่อนการเดินทางไปญี่ปุ่น เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้าบางประเทศ " 
2. เพื่อความปลอดภัยสูงสุด จึงจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางออกไปจากวันนี้ (17 มี.ค.)ไปเป็นวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค.) นักเรียนคิดว่าเป็นการให้เหตุผลแบบใดแล้วสมเหตุสมผลหรือไม่

ข้อเสนอแนะ
การเลื่อนเที่ยวบินเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้าบางประเทศ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดอาจทำให้ไม่เกิดการสูญเสียไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น  

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
 
สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ 2  ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
ที่มาของภาพ https://www.dailynews.co.th/content/images/1103/17/u81.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQiq004AGiUfVjzzkiWFWlUGYk_nXM501sK8VjJPx5sfFKbtObVjg
ที่มาของภาพhttps://4.bp.blogspot.com/_qzbMDo_EVsI/S9rZD23c2KI/AAAAAAAAAEY/DvnYwEcXdzs/s1600/CAP_5288~Japan-Posters.jpg
ที่มาของภาพ https://202.44.68.33/files/u37791/2011-01-13_164040.gif
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQSdJZzcm-UjoybnRR59tjjRdPMlzfQy6oLXb-3ZRodQgBtUh8JTA  
ที่มาของภาพ  
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/image/logic4.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3563

อัพเดทล่าสุด