ปรากฏการณ์ใหม่ โรงเรียนดังแข่งขันสูงมีที่นั่งเหลือ นักเรียนสมัครน้อยกว่าจำนวนที่รับได้เด็กเงื่อนไขพิเศษใช้สิทธิ์ไม่เต็ม เปิดโอกาสให้เด็กสมัครสอบ โดยเรียงลำดับคะแนน และให้โควตาเด็กพื้นที่ สลับประเภทละ 1:1 มีสิทธิ์เข้าเรียน
เหลือเชื่อ รร.ดัง ที่นั่งเหลือ
สพฐ.เตรียมให้สิทธิ์เด็กสอบได้คะแนนถัดไป
ปรากฏการณ์ใหม่ โรงเรียนดังแข่งขันสูงมีที่นั่งเหลือเพียบ เหตุยอดนักเรียนสมัครน้อยกว่าจำนวนที่รับได้ และเด็กเงื่อนไขพิเศษใช้สิทธิ์ไม่เต็ม สพฐ.เตรียมเปิดโอกาสให้เด็กสมัครสอบ โดยเรียงลำดับคะแนน และให้โควตาเด็กพื้นที่สลับประเภทละ 1:1 มีสิทธิ์เข้าเรียน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงและโรงเรียนคู่พัฒนาว่า การประชุมวันนี้เพื่อวางแผนจัดสรรโอกาสให้กับนักเรียนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมในการเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2554 ซึ่งขณะนี้ในระดับชั้น ม.1 จะเหลือเพียงการจับสลากเข้าเรียนในวันที่ 27 มีนาคมนี้ โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า สพม.กรุงเทพฯ เขต 1 รับนักเรียนชั้น ม.1 ได้อีก 3,370 คน และชั้น ม.4 รับได้อีก 1,170 คน สพม.กรุงเทพฯ เขต 2 มีแผนการรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 26,892 คน แต่มีผู้สมัคร 32,003 คน และได้รายงานตัวไปแล้วประมาณกว่า 20,000 คน ดังนั้นจะเหลือนักเรียนที่เข้าหลักเกณฑ์การจับสลาก 4,522 คน แต่สามารถรับได้เพียง 2,405 คนเท่านั้น ส่วนนักเรียนที่จะพลาดหวังจากการจับสลากประมาณกว่า 2,000 คนนั้น ได้วางแผนแล้วว่าจะเกลี่ยไปโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใกล้เคียงโดยจะมีการเกลี่ยนักเรียนให้เกิดความเป็นธรรมที่สุด
เลขาธิการ กพฐ.และที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรคำนึงถึงการจัดสรรโอกาสให้กับนักเรียนเป็นอันดับแรก ดังนั้นจะให้โรงเรียนอัตราการแข่งขันสูงกลุ่มดังกล่าวส่งชื่อโรงเรียน และที่นั่งที่เหลือไปให้เขตพื้นที่การศึกษาไปบริหารจัดการเพื่อจัดสรรโอกาสให้กับนักเรียนที่พลาดหวังต่อไป ส่วนกรณีโรงเรียนที่อัตราการแข่งขันสูง แต่ยังมีจำนวนที่นั่งเด็กรับเงื่อนไขพิเศษเหลือ ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางเอาไว้แล้วคือ จะให้เรียกนักเรียนจากบัญชีทั่วไปเรียงลำดับคะแนน กับบัญชีในเขตพื้นที่บริการสลับกันในอัตรา 1 ต่อ 1 ให้ได้สิทธิ์เข้าเรียน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะใช้กับการรับนักเรียนระดับชั้น ม.4 ด้วย "ผมยังได้มอบให้เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจับคู่โรงเรียนดังกับโรงเรียนคู่พัฒนาขึ้นมาให้ชัดเจน เพื่อเร่งรัดพัฒนาโรงเรียนคู่พัฒนา ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้ทันก่อนเปิด ภาคเรียนที่ 1 นี้ เพื่อให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกับโรงเรียนดัง ซึ่ง สพฐ.จะประกาศขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ปกครองได้มั่นใจที่จะให้ลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนคู่พัฒนา" นายชินภัทรกล่าว.
ที่มาของข้อมูล https://www.thaipost.net/news/260311/36218
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สัดส่วน (Proportion)
สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของสองอัตราส่วน
1. การหาค่าตัวแปรในสัดส่วน
ถ้าในสัดส่วนมีตัวแปรที่เราไม่ทราบค่า และต้องการหาจำนวนซึ่งเมื่อแทนตัวแปรใน สัดส่วน แล้ว จะทำให้สมการเป็นจริง
ตัวอย่างที่ 1 จงหาค่าของ a ในสัดส่วน 4 : 7 = a : 28
วิธีทำ ใช้หลักการคูณไขว้ เนื่องจาก 4 / 7 = a/28 จะได้ 4 x 28 = 7 x a
หารด้วย 7 ทั้งสองข้าง จะได้ (4 x 28)/7 = (7 x a)/7
ดังนั้น 16 = a
นั่นคือ a = 16
ตัวอย่างที่ 2 จงหาค่าของ b ในสัดส่วน 5 : b = 60 : 36
วิธีทำ ใช้หลักการคูณไขว้ เนื่องจาก 5/b = 60/36 จะได้ 5 x 36 = b x 60
หารด้วย 60 ทั้งสองข้าง จะได้ (5 x 36)/60 = (b x 60)/60
ดังนั้น 3 = b
นั่นคือ b = 3
2. การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สัดส่วน
วิธีแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สัดส่วน ทำได้ ดังนี้
(1) สมมุติตัวแปร แทนจำนวนของสิ่งที่ต้องการหา
(2) นำตัวแปรและจำนวนของอีกสิ่งหนึ่งที่โจทย์กำหนดให้มาเข้าเป็นอัตราส่วน เพื่อความสะดวกในการหาค่าของตัวแปร ควรจะให้ตัวแปรอยู่ที่ตัวเศษ
(3) สร้างสัดส่วนโดยการเทียบอัตราส่วนในข้อ 2 เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้
(4) หาค่าตัวแปร ใช้ความรู้เรื่องสัดส่วน โดยการคูณไขว้
ตัวอย่างที่ 1 ผ้าผืนหนึ่งกว้าง 120 เซนติเมตร ถ้าผ้าผืนนี้มีอัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวเป็น 5: 12 จงหาความยาวของผ้าผืนนี้
วิธีทำ ให้ความยาวของผ้ายาว X เซนติเมตร
อัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวเป็น 5 : 12
ผ้าผืนนี้กว้าง 120 เซนติเมตร
เขียนเป็นสัดส่วนได้ ดังนี้
นั่นคือ 5 x X = 12 x 120
จะได้ X = (12 x120)/5
ดังนั้น X = 288
แสดงว่า ผ้าผืนนี้ยาว 288 เซนติเมตร Ans.
ตัวอย่างที่ 2 ไข่ไก่ราคาโหลละ 27 บาท ถ้าซื้อไข่ไก่ 40 ฟอง จะต้องจ่ายเงินเท่าไร
วิธีทำ ให้ จะต้องจ่ายเงิน b บาท
อัตราส่วน ของจำนวนไข่ไก่ต่อราคาเป็น 12 : 27
ถ้าซื้อไข่ไก่ 40 ฟอง
เขียนเป็นสัดส่วนได้ ดังนี้นั่นคือ 12 x b = 27 x 40
จะได้ B = (27 x 40)/12
ดังนั้น b = 90
แสดงว่า จะต้องจ่ายเงิน 90 บาท Ans.
ตัวอย่างที่ 3 นากเป็นโลหะผสม ระหว่างทองคำกับทองแดง ผสมกันโดยใช้อัตราส่วนทองคำต่อทองแดงเป็น 3 : 2 ถ้าต้องการได้นากหนัก 100 กรัม จะต้องใช้ทองคำและทองแดงอย่างละกี่กรัม
วิธีทำ ให้ ทองคำ หนัก C กรัม
อัตราส่วน ทองคำต่อนาก เป็น 3 : 3+2 หรือ 3 : 5
ถ้า ต้องการได้นาก หนัก 100 กรัม
เขียนเป็นสัดส่วนได้ ดังนี้นั่นคือ 3 x 100 = 5 x C
จะได้ C = (3 x 100) / 5
ดังนั้น 60 = C
หรือ C = 60
แสดงว่า ต้องใช้ทองคำหนัก 60 กรัม และ ต้องใช้ทองแดงหนัก 100 - 60 = 40 กรัม Ans.
ที่มาของข้อมูล https://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project006/proportion.htm
คำถามในห้องเรียน
1. จงหา สัดส่วนจาก สพม.กรุงเทพฯ เขต 1 ในการรับนักเรียนชั้น ม.1 เพิ่ม 3,370 คน และชั้น ม.4 รับเพิ่มอีก 1,170 คน
2. สพม.กรุงเทพฯ เขต 2 มีแผนการรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 26,892 คน แต่มีผู้สมัคร 32,003 คน จงหาจำนวนที่รับได้กับจำนวนผู้สมัครสอบ
3. นักเรียนที่เข้าหลักเกณฑ์การจับสลาก 4,522 คน แต่สามารถรับได้เพียง 2,405 คน จงหาสัดส่วนของนักเรียนที่จับฉลากกับหนักเรียนที่รับได้
ข้อเสนอแนะ
การเร่งรัดพัฒนาโรงเรียนคู่พัฒนา เพื่อให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกับโรงเรียนดัง ต้องมีปัจจัยพิเศษอีกหลายประการ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKIXgtZx1BNViXFGlB2hL2GAllBvAwYYXCcscyLBAH79YU4kVX
ที่มาของภาพ https://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=1886279
ที่มาของภาพ https://kettyjung.files.wordpress.com/2010/09/3.jpg
ที่มาของภาพ https://www.goonone.com/images/stories/mathmatic/ratio/by_no/ratio1/graph20in100.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3582