https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สาวเอแบค คว้ารางวัล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2554 MUSLIMTHAIPOST

 

สาวเอแบค คว้ารางวัล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2554


794 ผู้ชม


พร้อมเป็นตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2011 ที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล   

สาวเอแบคคว้ารางวัลมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2554
พร้อมเป็นตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2011 ที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล

สาวเอแบค คว้ารางวัล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2554ผลการประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2554 ผู้ที่ได้ตำแหน่งมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สได้แก่ น้องฟ้า น.ส.ชัญษร สาครจันทร์ หมายเลข 28 สาวเอแบค เจ้าของรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน 
รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท 
มงกุฎเพชร 
ชุดเครื่องประดับ จาก Beauty Gems 
สายสะพาย 
ถ้วยเกียรติยศแก้วคริสตัล 
รถยนต์โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด รุ่น 2.4 HV 
พร้อมของรางวัลจากผู้สนับสนุน

ส่วนรองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส อันดับ 1 น้องเกรส น.ส.ณิรัฐชา ตังติสานนท์ หมายเลข 32 นักศึกษามหาวิทยาลัยอาริโซนา จากสหรัฐ 
รับเงินรางวัล 5 แสนบาท 
สายสะพาย 
ถ้วยเกียรติยศแก้วคริสตัล 
พร้อมของรางวัลจากผู้สนับสนุน 

ตำแหน่งรองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 3 ตำแหน่ง 
รับเงินรางวัลคนละ 2 แสนบาท 
สายสะพาย 
ถ้วยเกียรติยศแก้วคริสตัล


คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระดับของการวัด (Level of Measurement)   
ข้อมูลในการวิจัยจำนวนมากได้มาจากการวัด ซึ่งการวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ แทนปริมาณหรือคุณภาพหรือคุณลักษณะ ของสิ่งที่วัด มาตราการวัดมี 4 ระดับ คือ 
1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale or Classification Scale)
 เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่มหรือประเภท โดยตัวเลขหรือค่าที่กำหนดให้นำมาบวก ลบ คูณ หาร กันไม่ได้   เป็นระดับการวัดที่ต่ำ ที่สุด เป็นการกำหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทนคุณลักษณะต่าง ๆ แทนเหตุการณ์ต่างๆ หรือแทนสิ่งต่าง ๆ เช่น เบอร์นางงามที่เข้าประกวด เบอร์นักฟุตบอล เลขทะเบียนรถต่าง ๆ การกำหนดให้เลข 0 แทน เพศหญิงเลข 1 แทนเพศชาย คุณสมบัติที่สำคัญของมาตรานี้ก็คือ ตัวเลขที่กำหนดให้จะเพียงแต่ชี้ถึง ความแตกต่างกัน คือชี้ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่ได้แทนอันดับ ขนาด ปริมาณหรือคุณภาพใด ๆ ซึ่งตัวเลขหรือค่าต่าง ๆ ที่กำหนดให้นั้นนำมาบวก ลบ คูณ หารกันไม่ได้ และจากการที่ไม่ได้ชี้ปริมาณหรือคุณภาพดังกล่าว นักจิตวิทยาบางท่านจึงไม่ยอมรับการวัดชนิดนี้ว่าเป็นการวัด (Measurement)

ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตรานามบัญญัติ (Nominal scale)  
1. เพศ •  ชาย  • หญิง     
2. เชื้อชาติ  (ไทย, จีน, ฯลฯ)
3. ศาสนา (พุทธ, คริสต์, อิสลาม, ฯลฯ
4. อาชีพ   • หมอ   • นักเรียน      • ครู
5. หมายเลขโทรศัพท์  .........................
6. เลขที่บ้าน   .............................

สรุป ถ้าข้อมูลบอกความแตกต่างได้แต่เพียงชื่อ เป็นความแตกต่างที่หยาบที่สุด เช่นชื่อนักศึกษาทั้ง 30 คน ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไร นอกจากว่าแต่ละคนชื่อแตกต่างกัน เราเรียกข้อมูลที่สามารถจำแนกได้แต่เพียงชื่อว่า ข้อมูลระดับมาตรานามบัญญัติ( Nominal scale)       

สาวเอแบค คว้ารางวัล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 25542. มาตรอันดับ (Ordinal Scale)
        เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่ามาตรานามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์เพื่อชี้ถึงอันดับ เช่น หลังจากพิจารณาภาพที่นักเรียนวาดมาแล้วก็ได้อันดับจากภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นอันอับ 2 , 3 ,…… ตามลำดับ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าในมาตรานี้มีคุณสมบัติของมาตรานามบัญญัติคือ ความแตกต่าง อันดับ 1 และอันดับ 2 จะเป็นคนละคนไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราทราบเพิ่มขึ้นจากมาตรานามบัญญัติคือ ทิศทาง ของความแตกต่าง อันดับ 1 อยู่เหนือกว่าอันดับ 2 เนื่องจากมีปริมาณหรือคุณภาพมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะทราบว่าใครมากกว่า น้อยกว่า แต่ไม่อาจทราบว่ามากกว่ากันเท่าใด และช่วงระหว่างอันดับต่าง ๆ มักไม่เท่ากัน เช่นที่ 1 อาจมีคุณภาพเหนือกว่าที่ 2 มากขณะที่ 2 มีคุณภาพห่างจากที่ 3 เพียงเล็กน้อย เป็นต้น จากการที่ช่วงอันดับไม่เท่ากันดังกล่าว จึงไม่สามารถนำเอาตัวเลขในมาตรานี้มาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้ เช่น ผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ระดับความคิดเห็น ตำแหน่งทางวิชาการ

      ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตรอันดับ (Ordinal scale)  
เป็นข้อมูลที่นอกจากมีลักษณะจำแนกกลุ่มหรือประเภทได้แล้วยังสามารถเรียงอันดับได้ด้วย เช่น  ตำแหน่ง  (ที่ 1, ที่ 2, ที่ 3, ฯลฯ)    ระดับความพอใจ (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด)
1. กิจกรรมที่นิยมทำในวันหยุด (เรียงลำดับมากที่สุดเป็นลำดับ 1)
     ......... ดูหนัง
  ......... ฟังเพลง
  ......... เล่นกีฬา
  ......... ดูโทรทัศน์
  ......... ช๊อปปิ้ง

     สรุป ถ้าข้อมูลบอกความแตกต่างได้ เป็นการจำแนกข้อมูลที่ละเอียดขึ้น เพราะบอกความแตกต่างได้ เช่นชื่อนักศึกษาที่เรียงกันตามระดับความสูงทั้ง 30 คน เราเรียกข้อมูลที่เราสามารถจำแนกถึงความแตกต่างได้นี้ว่า ข้อมูลระดับมาตราอันดับบัญญัติ ( Ordinal scale )      
3.  มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่าสองมาตราที่กล่าว  มาโดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ มี ศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero or Relative Zero) และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ตัวอย่างของมาตรานี้ ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ เช่น ในหน่วยวัดอุณหภูมิแบบเซลเซียส จะกำหนดจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งเป็น 0° ซ. เป็นศูนย์เทียมไม่ได้หมายความว่าถึง ณ อุณหภูมิ 0° ซ. นี้ไม่มีความร้อนอยู่เลยแต่เป็นเพียงจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง  จากการที่มีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน และมีศูนย์เทียมจึงสามารถเปรียบเทียบปริมาณ หรือคุณภาพได้ว่ามากกว่ากันเท่าไร เช่น 40° ซ. จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 30° ซ. อยู่ 10° ซ. และสามารถพูดได้ว่าอุณหภูมิ 20° ซ. สูงกว่าอุณหภูมิ 15° ซ. เท่ากับอุณหภูมิ 14° ซ. สูงกว่าอุณหภูมิ 9° ซ. เพราะต่างก็สูงกว่ากัน 5° ซ. (ไม่อาจพูดได้ว่าอุณหภูมิ 60° ซ. ร้อนเป็นสองเท่าของอุณหภูมิ 30° ซ. เพราะความร้อนไม่ได้เริ่มที่จุด 0° ซ.) หรือ 60° ซ. = 2 (30° ซ.) แต่ปริมาณความร้อนของสสาร 60° ซ. ? 2 (ความร้อนของสสาร 30° ซ.) นักพฤติกรรมศาสตร์มักถือเอาว่าคะแนนการสอบเป็นการวัดในมาตรานี้ จึงตีความใน
ลักษณะเดียวกันกับกรณีของอุณหภูมิที่กล่าวมา เช่น ในแบบทดสอบที่มีจำนวน 60 ข้อ ถ้า ก สอบได้ 50 คะแนน ข สอบได้ 30 คะแนน ค สอบได้ 25 คะแนน และ ง สอบได้ 5 คะแนน ก็กล่าวว่า ก ได้คะแนนมากกว่า ข 20 คะแนน ข ได้คะแนนมากกว่า ง 25 คะแนน ก ได้คะแนนมากกว่า ข เท่ากับ ค ได้คะแนนมากกว่า ง (ต่างกันมากกว่า 20 คะแนน) แต่ไม่สามารถตีความได้ว่า ก มีความรู้เป็น 2 เท่าของ ค เพราะจุดเริ่มต้นไม่ใช้ศูนย์แท้ ผู้สอบได้คะแนนศูนย์ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความรู้ในวิชานั้น เป็นเพียงแต่ว่าทำข้อสอบชุดนั้นไม่ได้ ถ้าออกข้อสอบมากกว่านั้น หรือง่ายกว่านั้นเขาอาจทำได้บ้าง มาตราอันตราภาคนับว่าเป็นมาตราที่เป็นปริมาณอย่างแท้จริงไม่เหมือนมาตรานามบัญญัติและมาตราเรียงลำดับ

ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราอันตรภาค (Interval scale) 
เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่ม  เรียงอันดับ  และแบ่งเป็นช่วง ๆ  โดยแต่ละช่วงมีขนาดเท่ากัน  ศูนย์ของข้อมูลประเภทนี้เป็นศูนย์สมมติ  ไม่มีศูนย์แท้    เช่น  คะแนนสอบ  อุณหภูมิ  เวลา  IQ

      สรุป  ถ้าข้อมูลบอกความแตกต่างเป็นหน่วยที่เท่ากันได้ เป็นการจำแนกความแตกต่างที่ละเอียดขึ้น เพราะสามารถบอกความแตกต่างเป็นปริมาณหน่วยที่เท่ากัน ทำให้บอกระดับความแตกต่างที่ละเอียดมาก และบอกได้ว่าแต่ละคนแตกต่างกันเป็นปริมาณเท่าใด โดยเปรียบเทียบกับหน่วยปริมาณที่เท่ากันได้ เช่น คะแนนสอบของนักศึกษาทั้ง 30 คน เราเรียกข้อมูลที่จำแนกถึง หน่วยที่แตกต่างกันได้ว่า ข้อมูลระดับช่วงบัญญัติ ( Interval scale)       

4.  มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
             เป็นระดับของการวัดที่สูงที่สุด มีความสมบูรณ์  มากกว่ามาตราวัดอันตรภาค นอกจากจะมีคุณสมบัติเหมือนมาตราวัดอันตรภาคแล้วยังมี ศูนย์แท้ (Absolute Zero) ในขณะที่มาตราอันตรภาคมีเพียงศูนย์สมมุติ ตัวอย่างการวัดในมาตรานี้ได้แก่ การวัดความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง อายุแต่ละหน่วยของความยาวจะมีช่วงเท่ากันแต่ละหน่วยของ น้ำหนักมีขนาดเท่ากัน เช่น เอื้อมพร หนัก 40 กิโลกรัม จะหนักเป็น 2 เท่าของนิตยารัตน์ ซึ่งหนัก 20 กิโลกรัม การที่กล่าวเช่นนี้ได้เนื่องจากแต่ละหน่วยกิโลกรัมมีน้ำหนักเท่ากัน และเริ่มจากศูนย์แท้ น้ำหนักศูนย์กิโลกรัมก็คือไม่มีน้ำหนักเลยเนื่องจากการวัดระดับนี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ จึงสามารถนำมาจัดกระทำตามหลักคณิตศาสตร์ได้ทุกประการ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ถอดราก และยกกำลังได้
ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราอัตราส่วน (Ratio scale) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่ม  เรียงอันดับ  แบ่งเป็นช่วงเท่า ๆ  กัน และมีศูนย์แท้  สามารถเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนได้  เช่น  ระยะทาง    เวลา  น้ำหนัก  ส่วนสูง  อายุ
ตัวอย่าง  ของ มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
1. รายได้ต่อเดือน  ......................
2. อายุ ......................
3. ค่าใช้จ่าย  .......................
4. น้ำหนัก ...................
5. ส่วนสูง .....................

สาวเอแบค คว้ารางวัล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2554สรุป  ถ้าข้อมูลบอกความแตกต่างเป็นหน่วยที่เท่ากันได้และค่าศูนย์เป็นค่าศูนย์ที่แท้จริง(Absolute Zero) เช่น ความสูงเป็นเซนติเมตรของนักศึกษาทั้ง 30 คน เราเรียกข้อมูลที่สามารถจำแนกเป็นปริมาณที่แตกต่างกันเท่ากันและมีศูนย์แท้ว่า  ข้อมูลระดับมาตราอัตราส่วนบัญญัติ(Radio scale)        
คุณสมบัติของแต่ละมาตรา สรุปได้ดังนี้
มาตรา     คุณสมบัติ
นามบัญญัติ (Nominal Scale)  ความแตกต่างกัน
เรียงลำดับ (Ordinal Scale)  ความแตกต่างกัน + ทิศทาง
อันตรภาค (Interval Scale)  ความแตกต่างกัน + ทิศทาง + ช่วงเท่ากัน + ศูนย์สมมุติอัตราส่วน (Ratio Scale)   
    ความแตกต่างกัน + ทิศทาง + ช่วงเท่ากัน + ศูนย์แท้
สถิติสำหรับตัวแปรเดียว
ลักษณะของข้อมูล   สถิติที่ใช้   การนำเสนอข้อมูล
1. สเกลนามบัญญัติ (Nominal Scale) ความถี่   ตารางแจกแจงความถี่
อัตราส่วนร้อย   ร้อยละ สัดส่วน
2. สเกลอันดับ (Ordinal Scale)  ความถี่ อัตราส่วนร้อย  ตารางแจกแจงความถี่
    เปอร์เซ็นต์ไทส์   
    ร้อยละ สัดส่วน
3. สเกลอันตรภาคและอัตราส่วน   ความถี่ อัตราส่วนร้อยละ  ตารางแจกแจงความถี่
(Interval and Ratio Scale)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง
       ความแปรปรวน พิสัย 
       เปอร์เซ็นต์ไทล์ ค่าเฉลี่ย
ที่มาของข้อมูล  cdn.learners.in.th/assets/media/files/.../original_Measurement_Scale.doc?...
แบบทอสอบ  https://www.bpic.ac.th/examination2009/Examination%202009/computer%206.html
คำถามในห้องเรียน
1. ผลการประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2554 เป็นข้อมูลระดับมาตราใด         
2. ความถี่ อัตราส่วนร้อย  เปอร์เซ็นต์ไทส์  ร้อยละ สัดส่วน เป็นสถิติใช้กับลักษณะของข้อมูลใด

ข้อเสนอแนะ
การเป็นตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2011 ที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล  ต้องมีความพร้อมด้านหน้าตาและสวยงามด้านจิตใจ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มาของภาพ https://a8.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/196584_1685680820122_1180702298_1428341_424639_n.jpg

ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=online/2011/03/13011578741301158010l.jpg&width=260&height=260
ที่มาของภาพ https://image.ch7.com/web2go/25203/201103211312523906250.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thesistalk.com/wp-content/uploads/2010/06/website-statistics1.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3583

อัพเดทล่าสุด