‘บอย’ งง-เสียดาย หลุดผังช่อง 3 ทั้งที่เรตติ้งดี
เป็นต่อ ... จะได้ไปต่อ ?
‘บอย’งง-เสียดาย‘เป็นต่อ’หลุดผังช่อง 3 ทั้งที่เรตติ้งดี
ซิทคอมเป็นต่อ ออกอากาศทุกคืนวันพฤหัสบดี มาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม หลุดจากผังทางสถานี คาดว่าจะมีผลเดือน มิ.ย. ทั้งนี้‘บอย’ เผยว่า ตนรู้สึกงงเหมือนกันที่หลุดจากผังรายการ ทางช่องบอกเรตติ้งดูนิ่งไป
"บอย" กล่าวว่า มันง่ายไปหรือเปล่ากับรายการที่มันมีคุณค่าและมีความนิยมขนาดนี้ มันไม่ได้สร้างขึ้นมาง่ายๆ ตนต้องมีการเข้าไปพูดคุย และถามเหตุผล ตนเป็นผู้ผลิตรายการมีหน้าที่ในช่วงเวลาของตนให้เรตติ้งดีที่สุด
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd01EazFNRFF6TVE9PQ==§ionid=
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ฐานนิยม (Mode)
การหาฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่
หลักการคิด
- ให้ดูว่าข้อมูลใดในข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด มีการซ้ำกันมากที่สุด(ความถี่สูงสุด) ข้อมูลนั้นเป็นฐานนิยมของข้อมูลชุดนั้น
หมายเหตุ
- ฐานอาจจะไม่มี หรือ มีมากกว่า 1 ค่าก็ได้ การหาฐานนิยมของข้อมูลที่มีการแจกแจงเป็นอันตรภาคชั้น
การประมาณอย่างคร่าวๆ
ฐานนิยม คือ จุดกึ่งกลางชั้นที่มีความถี่สูงสุด
คุณสมบัติที่สำคัญของฐานนิยม
1. ฐานนิยมสามารถหาได้จากเส้นโค้งของความถี่ และฮิสโทแกรม
2. ในข้อมูลแต่ละชุด อาจจะมีฐานนิยมหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามี อาจจะมีเพียงค่าเดียว หรือหลายค่าก็ได้
3. ให้ X 1, X 2, X 3, ….., X N เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่มีฐานนิยมเท่ากับ Mo
ถ้า k เป็นค่าคงตัว จะได้ว่า X 1+k, X 2+k, X 3+k, …., X N+k เป็นข้อมูลที่มีฐานนิยมเท่ากับ Mo + k
4. ให้ X 1, X 2, X 3, ….., X N เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่มีฐานนิยมเท่ากับ Mo
คุณสมบัติข้อที่ 3 และ 4 ก็เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยเลขคณิต และมัธยฐาน กล่าวคือ ถ้านำค่าคงตัวไปบวก หรือคูณกับค่าจากการสังเกตทุกตัวในข้อมูลชุดหนึ่ง ฐานนิยมของข้อมูลชุดใหม่นี้ จะเท่ากับ ฐานนิยมของข้อมูลชุดเดิม บวกหรือคูณกับค่าคงตัวดังกล่าว ตามลำดับ (อย่าลืม ! ถ้าเป็นการคูณ ค่าคงตัวที่นำไปคูณไม่เท่ากับศูนย์)
ที่มาของข้อมูลhttps://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec04p01.html
ตัวอย่าง จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้ 3, 2, 4, 5, 6, 4, 8, 4, 7, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 4
ฐานนิยมคือ 4
ข้อมูลบางชุดอาจมีฐานนิยม 2 ค่า เช่น 10, 14, 12, 10, 11, 13, 12, 14, 12, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 10 กับ 12
ฐานนิยม คือ 10 กับ 12
ข้อมูลบางชุดอาจจะไม่มีฐานนิยมซึ่ง ได้แก่ ข้อมูลที่มีรายการซ้ำจำนวนเท่ากันหลายชุด เช่น 5, 2, 3, 4, 7, 8, 2, 3, 5, 9, 10, 2, 3, 5, 7, 9, 8, 7, 8
ข้อมูลที่ไม่มีรายการซ้ำกันเลย เช่น 8, 9, 10, 11, 13, 15
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.4.html
การแจกแจงความถี่ของข้อมูลเป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมมาได้ให้อยู่เป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
การแจกแจงความถี่ จัดเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การ แจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่ต่างกันมีไม่มาก
2. การ แจกแจงความถี่แบบจัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลแตกต่างกันมาก หรือการแจกแจงไม่สะดวกที่จะใช้ค่าสังเกตทุกๆค่า เพื่อความสะดวกจึงใช้วิธีแจกแจงความถี่ของค่าที่เป็นไปได้แทน โดยแบ่งค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นช่วง หรืออันตรภาคชั้น (Interval)
ที่มาของข้อมูล https://www.eofstats.co.cc/?page_id=32
คำถามในห้องเรียน
1. การวัดผลคนดูด้วยเรตติ้ง หรือการวัดผลคนดูจากกระแส นักเรียนคิดว่า อะไรเป็นข้อมูลในการหาความนิยมในการดูรายการโทรทัศน์ได้ อภิปรายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
2. รายการทีวีที่ดีมีคุณค่าและมีความนิยมในปัจจุบันมีน้อยลง เพราะอะไร นักเรียนคิดว่าขึ้นอยู่กับอะไร
ข้อเสนอแนะ
ต้องเห็นใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย นักธุรกิจไทยในปัจจุบันคงคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อาจไม่ได้ขึ้นกับความนิยมของคนดูเพียงอย่างเดียว
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
ที่มาของภาพ https://www.sitcomthai.com/wp-content/uploads/2009/11/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD.jpg
ที่มาของภาพ https://www.dvdufo.com/images/1288461004.jpg
ที่มาของภาพ https://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/image//b0c67deb.gif
ที่มาของภาพ https://www.bangkokbiznews.com/2008/07/21/thumb/277773_tvthumb3bkk.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3576