ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอล


972 ผู้ชม


เปิดหลักสูตรการฝึกฝนฟุตบอลในกลุ่มนักเรียนผู้ฝึกกังฟู หวังที่จะช่วยส่งเสริมนักฟุตบอลทีมชาติ   

ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอล

ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอล         ซินหัวรายงานว่า วัดเส้าหลินของจีนที่โด่งดังไปทั่วโลก เปิดหลักสูตรการฝึก ฝนฟุตบอลในกลุ่มนักเรียนผู้ฝึกกังฟู ด้วยความหวังที่จะช่วยส่งเสริมนักฟุตบอลทีมชาติ 
         วัดเส้าหลิน ในมณฑลเหอหนาน เปิดศูนย์ฝึกฟุตบอลมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีนักเรียนวิชากังฟูเข้าร่วมมากกว่า 40 คนเพื่อเรียนรู้การเล่นฟุตบอลอย่างสวยงาม โดยหัวหน้าโค้ชผู้ฝึก สอน สือ เยี่ยนหลู กล่าวว่า หลักการและลักษณะพื้นฐานทางด้านสังคมของศิลปะกังฟูจะช่วยทำให้เกมฟุตบอลมี   ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
         "ฟุตบอลจีนตอนนี้ยังดูเนือยอยู่ หากเสริมองค์ประกอบด้านกังฟูเส้าหลิน โดยเฉพาะในด้านสปิริตเชื่อมเข้าสู่เกมฟุตบอล หวังว่าจะช่วยในการฝึกฝนการเล่นฟุตบอลได้" โค้ชสือ กล่าว

ที่มาของข้อมูล
https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdNakkyTURNMU5BPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1TMHdNeTB5Tmc9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วงกลม
บทนิยามของวงกลม
วงกลม
  คือ  เซตของจุดทุกจุดบนระนาบซึ่งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบเดียวกันเป็นระยะทางเท่าๆกัน
 
ทฤษฎีเกี่ยวกับคอร์ดของวงกลม
1.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่ง  ไปยังจุดกึ่งกลางของคอร์ดใดๆ  ( ที่ไม่ใช่เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น )  จะตั้งฉากกับคอร์ด
2.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมหนึ่งไปตั้งฉากกับคอร์ดใดๆของวงกลม  จะแบ่งครึ่งคอร์ดนั้น
3.  เส้นตรงซึ่งแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับคอร์ดของวงกลมใดๆ  จะผ่านจุดศูนย์กลางของวงกลมนั้น
4.  มีวงกลมวงเดียวเท่านั้นที่ผ่านจุดสามจุดซึ่งไม่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
5.  ในวงกลมเดียวกัน  หรือวงกลมที่เท่ากัน  คอร์ดที่ยาวเท่ากัน  ย่อมอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน
6.  ในวงกลมเดียวกัน  หรือวงกลมที่เท่ากัน  คอร์ดที่ยาวย่อมอยู่ใกล้  จุดศูนย์กลางของวงกลมมากกว่าคอร์ดที่สั้น
7.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากต่อจุดศูนย์กลางของวงกลมสองวงที่ตัดกันย่อมแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับคอร์ดร่วม
 
ส่วนโค้งและมุมในวงกลม
ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอลบทนิยาม

1.  ครึ่งวงกลม  คือ  ระนาบที่ประกอบด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางและครึ่งของเส้นรอบวงของวงกลม
2.  ส่วนโค้ง  คือ  ส่วนใดส่วนหนึ่งของเส้นรอบวงของวงกลม  ถ้าเส้นรอบวงถูกแบ่งออกเป็น  2  ส่วนไม่เท่ากันส่วนโค้งที่ยาว  เรียกว่า  ส่วนโค้งใหญ่  และ  ส่วนโค้งที่สั้น  เรียกว่า  ส่วนโค้งน้อย
3.  ส่วนของวงกลม  คือ  ระนาบที่ประกอบด้วยคอร์ดกับส่วนโค้งของวงกลม
4.  มุมที่จุดศูนย์กลาง  คือ  มุมที่มีจุดยอดมุมอยู่ที่จุดศูนย์กลางและมีรัศมี  2  เส้น เป็นแขนของมุม
5.  มุมในส่วนโค้งของวงกลม  คือ  มุมที่มีจุดยอดมุมอยู่บนวงกลมและมีแขนทั้งสองของมุมตัดวงกลม

ทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนโค้งและมุมในวงกลม
1.  มุมที่จุดศูนย์กลางย่อมทีขนาดเป็นสองเท่าของมุมในส่วนโค้งของวงกลมซึ่งรองรับด้วยส่วนโค้งเดียวกัน
2.  มุมในส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับด้วยส่วนโค้งที่ยาวเท่ากัน  ย่อมมีขนาดเท่ากัน
3.  สี่เหลี่ยมที่แนบอยู่ในวงกลม  มุมตรงข้ามรวมกันย่อมเท่ากับสองมุมฉาก
4.  สี่เหลี่ยมที่มีมุมตรงข้ามรวมกันเป็นสองมุมฉาก  วงกลมย่อมผ่านได้
5.  ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมที่บรรจุในวงกลมออกไป  มุมภายนอกที่เกิดขึ้นย่อมเท่ากับมุมภายในที่อยู่ตรงกันข้าม
6.  มุมภายในครึ่งวงกลมย่อมเป็นมุมฉาก
7.  ในวงกลมเดียวกันหรือวงกลมที่เท่ากัน  มุมที่อยู่บนส่วนโค้งที่ยาวเท่ากันย่อมมีขนาดเท่ากัน
8.  ในวงกลมเดียวกันหรือวงกลมที่เท่ากัน  ส่วนโค้งซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับมุมที่เท่ากันย่อมยาวเท่ากัน
 
เส้นสัมผัส
บทนิยาม

1.  เส้นผ่านวง  คือ  เส้นตรงที่ลากตัดเส้นรอบวงของวงกลม  2  จุด
2.  เส้นสัมผัส  คือ  เส้นตรงที่ลากตัดเส้นรอบวงของวงกลมเพียงจุดเดียว  จุดนี้เรียกว่า  จุดสัมผัส
3.  เส้นสัมผัสร่วม  คือ  เส้นตรงที่สัมผัสวงกลมตั้งแต่สองวงขึ้นไป
 
ทฤษฎีเกี่ยวกับเส้นสัมผัส

1.  เส้นสัมผัสวงกลมย่อมตั้งฉากกับรัศมีที่จุดสัมผัส
2.  จากจุดๆหนึ่งภายนอกวงกลม  ลากเส้นสัมผัสวงกลมได้สองเส้นยาวเท่ากัน  และต่างรองรับมุมที่จุดศูนย์กลางเท่ากันด้วย
3.  วงกลมสองวงสัมผัสกัน  จุดสัมผัสกับจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองย่อมอยู่บนแนวเส้นตรงเดียวกัน
4.  มุมที่เกิดจากเส้นสัมผัส  ทำกับปลายคอร์ดที่จุดสัมผัส  ย่อมเท่ากับมุมในส่วนของวงกลมที่อยู่ตรงกันข้าม

 
รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า   สรุปสูตรเกี่ยวกับรูปหลายเหลี่ยม
1.  ผลบวกของมุมภายในทุกมุมของรูป  n  เหลี่ยม ( n = จำนวนด้าน ) 
= 180n – 360 องศา          = ( n – 2 ) 180 องศา
  
2.  มุมภายในแต่ละมุมของรูป  n  เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า = ( n – 2 ) 180/n องศา
 
3.  ผลบวกของมุมภายนอกทุกมุมของรูป  n  เหลี่ยม = 360 องศา
 
4.  จำนวนเส้นทแยงมุมของรูป  n  เหลี่ยม =n( n – 3 ) /2 องศา
 
ที่มาของข้อมูล https://www.kr.ac.th/ebook/suvantee/b4.htm
ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอลทรงกลม
ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า ทรงกลม ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกว่า ทรงกลม
จุดคงที่นั้นเรียกว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
ระยะที่เท่ากันนั้นเรียกว่า รัศมีของทรงกลม

สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรงกลม
ปริมาตรของทรงกลม = 4/3 X (22/7 หรือ 3.14) X r 3
พื้นที่ผิวของทรงกลม = 4 X (22/7 หรือ 3.14) X r 2

ที่มาของข้อมูล https://takanoex.exteen.com/20060601/entry

คำถามในห้องเรียน
1. ถ้ารัศมีของวงกลมยาว n เซนติเมตรแล้วพื้นที่ผิวของวงกลมมีค่าเท่าไร
2. ปริมาตรของทรงกลม กับพื้นที่ผิวของทรงกลม  สัมพันธ์กันอย่างไรอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข้อเสนอแนะ
ข้อดี  ในการฝึกมีนักเรียนวิชากังฟูจำนวนมากกกว่า 40 คน เพื่อเรียนรู้การเล่นฟุตบอลได้ทั้งวิชาและการออกกำลังกายอาจทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจที่ดีงาม อีกด้วย

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/03/for02260354p1.jpg&width=360&height=360
ที่มาของภาพ https://leaot310.files.wordpress.com/2010/09/5.jpg
ที่มาของภาพ https://image.konmun.com/images/7668787473.jpg
ที่มาของภาพ https://www.whitemedia.org/wma/images/stories//teamwork/mai/content/a003.jpg

ฮือฮา "เส้าหลิน" ฝึกกังฟู-เตะบอล
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3581

อัพเดทล่าสุด