โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%


1,066 ผู้ชม


ดูกระดาษคำตอบแกท-แพตวันที่ 8-10 เมษายน และแอดมิชชั่นส์ กลางรับสมัคร วันที่ 11-20 เม.ย   

สทศ. วิเคราะห์โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%
วิชาคณิต-ภาษาอังฤษตกต่ำสุด จี้ ร.ร. เร่งพัฒนา 
เผยประกาศผลแกท/แพตคะแนนใกล้เคียงกับปีที่แล้ว เปิดให้ยื่นขอดูกระดาษคำตอบ 8-10 เม.ย.นี้

โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%ผอ.สทศ. กล่าวด้วยว่า   การประกาศผลสอบแกท แพต เรียบร้อยดี และได้นำข้อสอบและเฉลยคำตอบโอเน็ต แกท-แพตลงในเวบไซต์สทศ.แล้ว  ซึ่งวันนี้ตั้งแต่เวลา 07.30 น.มีผู้เข้ามาดูผลสอบแกท-แพตแล้ว  50,130 คน  ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาร้องเรียนผลคะแนน   จะเปิดให้ยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบแกท-แพตวันที่ 8-10 เมษายนนี้  เวลา 8.30 - 16.30 น.และจะเปิดให้ดูกระดาษคำตอบในวันที่ 22 -23 เมษายนนี้  แม้แอดมิชชั่นส์กลางรับสมัครวันที่ 11-20 เม.ย. ซึ่งต้องใช้คะแนนแกท แพตด้วยนั้นเชื่อว่าคงไม่มีปัญหาเรื่องผลคะแนนสอบแกท แพตในภายหลังจนส่งผลกระทบต่อการรับสมัครแอดมิชชั่นส์ เพราะสทศ.ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจทานคำตอบแกท แพตเป็นอย่างดีแล้ว"  ผอ.สทศ. กล่าว

  "ผลวิเคราะห์ผลสอบโอเน็ตชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในช่วงปีการศึกษา 2551-2553 โดยภาพรวมพบว่า วิชาหลักๆทั้งภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์คะแนนยังไม่ถึง 50% ช่วง 3 ปี มีวิชาวิทยาศาสตร์ที่คะแนนดีขึ้น ส่วนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ตกต่ำที่สุดโดยจากการวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ตระดับชั้น ป.6 ม.3 แล ะม.6 ของสทศ.พบว่าข้อสอบส่วนใหญ่มีความยากระดับปานกลาง ข้อสอบใช้ได้ แต่เด็กอาจจะไม่คุ้นกับข้อสอบที่เน้นคิดวิเคราะห์ซึ่งตอบแบบเดาสุ่มไม่ได้ เช่น  โอเน็ตวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ป.6  ออกข้อสอบแบบเติมคำเป็นส่วนใหญ่  ส่วนผลวิเคราะห์แกท/แพตช่วง 2 ปี นั้นมีคะแนนใกล้เคียงกัน  "รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว

 ผอ.สทศ. กล่าวต่อไปว่า จะส่งผลการสอบโอเน็ตทั้ง 3 ระดับไปให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และโรงเรียนต่างๆเพื่อให้นำผลนี้ไปใช้โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%ในการแนะแนวเด็กเรียนต่อระดับชั้นม.ปลาย อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา  และโรงเรียน ครูควรนำผลนี้ไปใช้วางแผนปรับปรุงการเรียนการสอนให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์มากขึ้นโดยนำตัวอย่างข้อสอบของสทศ.ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับข้อสอบแบบคิดวิเคราะห์

 "วิชาที่ครูต้องเร่งพัฒนานักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นเรียนคือวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ซึ่งคะแนนตกต่ำลงมากทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนต้องร่วมมือกันโดยมีการบูรณาการหลักสูตร การสอน สื่อและการวัดประเมินผลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและตั้งเป้าหมายให้คะแนนโอเน็ตเพิ่มขึ้นตามความพร้อมของโรงเรียน  เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้ตามเป้าหมายปฏิรูปการศึกษารอบสองที่ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนมีผลคะแนนโอเน็ต 5 วิชาหลักให้ได้มากกว่า 50% ภายในปี 2561 ใน 7 ปี ข้างหน้าเพื่อก้าวไปสู่คุณภาพระดับสากล" รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่https://www.komchadluek.net/detail/20110407/94266/สทศ.วิเคราะห์โอเน็ต3ปีวิชาหลักคะแนนไม่ถึง50.html
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
กลุ่มประชากร
  หมายถึง  กลุ่มที่มีลักษณะที่เราสนใจ  หรือกลุ่มที่เราต้องการจะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  เปรียบเหมือนเอกภพสัมพัทธ์ในเรื่องเซต
กลุ่มตัวอย่าง  หมายถึง  ส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่เราสนใจ  ในกรณีที่กลุ่มประชากรที่จะศึกษานั้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่  เกินความสามารถหรือความจำเป็นที่ต้องการ  หรือเพื่อประหยัดในด้านงบประมาณและเวลา  สามารถศึกษาข้อมูลเพียงบางส่วนของกลุ่มประชากรได้
ค่าพารามิเตอร์  หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มประชากร  จะถือเป็นค่าคงตัว  กล่าวคือ  คำนวณกี่ครั้งๆก็จะไม่เปลี่ยนแปลง 
ค่าสถิติ  หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง  จะเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ตจามกลุ่มตัวอย่างที่เลือกสุ่มมา  จึงถือว่าเป็นค่าตัวแปรสุ่ม
ตัวแปร  ในทางสถิติ  หมายถึง  ลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ  ค่าของตัวแปร  อาจอยู่ในรูปข้อความ  หรือตัวเลขก็ได้
ค่าที่เป็นไปได้  หมายถึง  ค่าของตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง
ค่าจากการสังเกต  หมายถึง  ค่าที่เก็บรวบรวมได้มาจริงๆ

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency Distribution) เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมมาได้ให้อยู่เป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%การแจกแจงความถี่ จัดเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
   1. การแจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่ต่างกันมีไม่มาก
   2. การแจกแจงความถี่แบบจัดเป็นอันตรภาคชั้น ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลแตกต่างกันมาก หรือการแจกแจงไม่สะดวกที่จะใช้ค่าสังเกตทุกๆค่า เพื่อความสะดวกจึงใช้วิธีแจกแจงความถี่ของค่าที่เป็นไปได้แทน โดยแบ่งค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นช่วง หรืออันตรภาคชั้น (Interval)
ที่มาของข้อมูลhttps://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec01p02.html
แบบทดสอบก่อนเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/pretest.htm
แบบทดสอบหลังเรียน https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/posttest.htm
การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากที่ได้เก็บหรือรวบรวมข้อมูลและดำเนินการจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปวิเคราะห์ได้แล้ว งานในขั้นต่อไปของผู้วิจัยคือการตัดสินใจว่าจะนำสถิติอะไรมาใช้ ซึ่งในการนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบตั้งแต่แรกว่าข้อมูลที่มีอยู่ในลักษณะใดและต้องการเสนอผลการวิเคราะห์อะไร 
 ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้บางครั้งยังมีรูปแบบที่กระจัดกระจายเป็นรายบุคคล ไม่เป็นระบบ จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นระบบหรือเป็นหมวดหมู่เกิดเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อสรุปอ้างอิงไปยังประชากรต่อไป ศาสตร์ที่ถูกนำเข้ามาช่วยในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือไปจนถึงการอ้างอิงเหล่านี้ เรียกว่า สถิติ

ความหมายของสถิติ
สถิติ (Statistics) มาจากภาษาเยอรมันว่า Statistics มีรากศัพท์มาจาก Stat  หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ต่อการบริหารประเทศในด้านต่างๆ เช่น การทำสำมะโนครัวเพื่อจะทราบจำนวนพลเมืองในประเทศทั้งหมด ในสมัยต่อมา คำว่า สถิติ ได้หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม  เช่น จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน  อัตราการเกิดของเด็กทารก  ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี  เป็นต้น  สถิติในความหมายที่กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ข้อมูลทางสถิติ (Statistical data) 
สถิติ  หมายถึง วิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  และการตีความหมายข้อมูล  สถิติในความหมายนี้เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เรียกว่า สถิติศาสตร์

ประเภทของสถิติ
โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%สถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) 
เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้ สถิติที่อยู่ในประเภทนี้  เช่น  ค่าเฉลี่ย  ค่ามัธยฐาน  ค่าฐานนิยม  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าพิสัย ฯลฯ
2.สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) 
เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม  แล้วสามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรได้  โดยกลุ่มที่นำมาศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร  ตัวแทนที่ดีของประชากรได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง  และตัวแทนที่ดีของประชากรเรียกว่า  กลุ่มตัวอย่าง  สถิติอ้างอิงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
 2.1 สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics ) เป็นวิธีการทางสถิติที่จะต้องเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้
(1) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องอยู่ในระดับช่วงขึ้นไป (Interval Scale)
(2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
(3) กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มที่นำมาศึกษาจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน
สถิติที่อยู่ในประเภทนี้  เช่น  t-test,  Z-test,  ANOVA,  Regression  ฯลฯ
 2.2 สถิตไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics) เป็นวิธีการทางสถิติที่สามารถนำมาใช้ได้โดยปราศจากข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ประการข้างต้น  สถิติที่อยู่ในประเภทนี้ เช่น  ไคสแควร์,  Median Test,  Sign test  ฯลฯ
ที่มาของข้อมูล www.crc.ac.th/online/75106/20091117092414.doc 
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่าคะแนนโอเน็ต ป.6-ม.3-ม.6 ช่วง 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50% โดยเฉพาะวิชาคณิต-ภาษาอังฤษตกต่ำสุดมีผลมาจาอะไร อะไรเป็นปัจจัยสำคัญ จงร่วมกันอธิบาย

ข้อเสนอแนะ
คะแนนโอเน็ต ป.6-ม.3-ม.6  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาตรงจุดหรือไม่ ปัญหาอาจมาจาก นักเรียนบางคนที่ไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ครูหรือผู้เกี่ยวข้องไม่ได้ให้ความรู้ถึงความสำคัญของการสอบโอเน็ต  และคะแนนโอเน็ตมีส่วนสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นอย่างไร

โอเน็ต 3 ปี วิชาหลักคะแนนไม่ถึง 50%การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม¬
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน    

ที่มาของภาพ https://image.dek-d.com/1/thumbimg/24336.jpg
ที่มาของภาพ https://urrac.com/wbadmin/managebranch1/pic/20080516162244.jpg
ที่มาของภาพ https://image.dek-d.com/contentimg/latae_2/gatpat53_07.gif
ที่มาของภาพ https://image.dek-d.com/24/2506152/t_105735754
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other1/logo_pink.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3617

อัพเดทล่าสุด