สกศ. กับ 11 ตัวบ่งชี้


1,149 ผู้ชม


'ชินวรณ์' เร่งกระตุ้น นร.สนใจ 'โอเน็ต' จี้ปฏิรูปการศึกษาจริงไม่เน้นกิจกรรม   

'ชินวรณ์' เร่งกระตุ้น นร.สนใจ 'โอเน็ต' สกศ.สรุป 11 ตัวบ่งชี้
จี้ปฏิรูปการศึกษาจริงไม่เน้นกิจกรรม

สกศ. กับ 11 ตัวบ่งชี้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เนื่องจากการประชุม กนป.ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย ดังนั้น สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 ได้สรุปรายงานความก้าวหน้าภายใต้ 11 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก จากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 
ตัวบ่งชี้ที่ 2 เด็กปฐมวัยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพเหมาะสม 
ตัวบ่งชี้ที่ 3 สัดส่วนผู้เรียนม.ปลาย ประเภทอาชีวศึกษา : สามัญศึกษา เพิ่มขึ้นเป็น 60:40 
ตัวบ่งชี้ที่ 4 อัตราการรู้หนังสือประชากรอายุ 15-60 ปี เป็นร้อยละ 100 
ตัวบ่งชี้ที่ 5 เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาอย่างครบถ้วน 
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ผู้เรียนทุกระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมือง 
ตัวบ่งชี้ที่ 7 จำนวนคดีเด็กและเยาวชน ลดลงร้อยละ 10 ต่อปี 
ตัวบ่งชี้ที่ 8 จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่ตั้งครรภ์ ลดลงร้อยละ 10 ต่อปี 
ตัวบ่งชี้ที่ 9 จำนวนเด็กเข้ารับการบำบัดยาเสพติดลดลงร้อยละ 10 ต่อปี 
ตัวบ่งชี้ที่ 10 คนไทยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และ 
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา มีงานทำภายใน 1 ปี ประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น

"ตัวบ่งชี้เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการพัฒนาในการขับเคลื่อนการศึกษาตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2 อย่างเป็นรูปธรรม เห็นผลจริง เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของกิจกรรมมากกว่าการทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พูดกันถึงกรณีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่พิจารณาจากคะแนนโอเน็ต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2553 ว่ายังอยู่ระดับไม่น่าพอใจ เพราะตัวเลขชี้ชัดว่านักเรียนจำนวนเป็นแสนคนได้คะแนน 0 คะแนน ซึ่งการได้คะแนนเท่านี้ไม่สามารถนำมาใช้เป็นคะแนนเพื่อเรียนต่อ หรือใช้ประเมินผลของช่วงชั้นได้ จึงเสนอแนะว่าจะต้องหาแนวทางจูงใจเด็กให้ความสำคัญกับคะแนนโอเน็ตมากขึ้น หรืออาจจะนำคะแนนสอบในส่วนอื่นๆ มาเปรียบเทียบด้วย เช่น คะแนนความถนัดทั่วไป (GAT) หรือความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาต่อไปได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ประชุมให้ไปปรับแก้บางตัวบ่งชี้ให้ชัดเจนแล้วสรุปผลรายงานต่อครม." นายชินวรณ์ กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEkxTURRMU5BPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOQzB5TlE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  จำนวนเฉพาะ
แบบทดสอบก่อนเรียน  สกศ. กับ 11 ตัวบ่งชี้คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ตัวประกอบของ  24 คือข้อใด
ก.  2,  3, 4,  6,  12
ข.  1, 2,  3, 4, 6, 12, 24
ค.  1, 4 , 6,  12,  24
ง.  2, 3,  6,  7, 12 
2. 1,  5, 7,35  เป็นตัวประกอบของจำนวนใด 
ก.  50
ข.  42
ค.  35
ง.  27 
3. ข้อใดเป็นจำนวนเฉพาะทั้งหมด 
ก. 2, 5, 11, 23 
ข. 3, 9, 13, 17
ค. 7, 4, 5, 19
ง. 1, 7, 15, 31 
4. ตั้งแต่ 1 - 50 มีจำนวนเฉพาะทั้งหมดกี่จำนวน 
ก.  9
ข.  11
ค.  13
ง.  15 จำนวน 
5. ตัวประกอบเฉพาะของ 40 คือข้อใด 
ก.  5, 8
ข.  2, 5
ค.  5, 7
ง.  5, 10 
6. 2, 7 เป็นตัวประกอบเฉพาะของจำนวนใด 
ก.  14
ข.  28
ค.  49
ง.  57 
7.   53 เขียนให้อยู่ในรูปของการคูณได้อย่างไร     
ก.  5 x  5 x  5
ข.  5 x  3
ค.  3  x  3  x  3
ง.  5 x  3 x  5 
8. 24 มีค่าเท่าไร 
ก.  32
ข.  16
ค.  8
ง.  4 
9. ข้อใดเป็นการแยกตัวประกอบของ 60
ก.  5 x 12
ข.  2 x 3 x 5
ค.  22 x 3  x  5
ง.   22 x 3 x  2 
10.2 3 x 7 เป็นตัวประกอบของจำนวนใด 
ก.  14
ข.  21 
ค.  42
ง.  56
ที่มาของข้อมูล https://school.obec.go.th/tnr/math2/test.html
จำนวนเฉพาะ
สกศ. กับ 11 ตัวบ่งชี้        เลขจำนวนใด ๆ ที่เป็นจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่า 1 สามารถแยกตัวประกอบออกมาได้เป็นผลคูณของตัวเลขจำนวนเฉพาะเสมอ 
        ในคณิตศาสตร์ จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนธรรมชาติที่มีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 และตัวมันเอง. จำนวนประกอบ คือ จำนวนธรรมชาติที่มีตัวหารที่เป็นบวก นอกเหนือจาก 1 และตัวมันเอง

ลำดับของจำนวนเฉพาะเริ่มต้นด้วย 
        2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89, 97, 101, 103, 107, 109, 113...

สมบัติบางประการของจำนวนเฉพาะ 
ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ p หาร ab ลงตัวแล้ว p หาร a ลงตัว หรือ p หาร b ลงตัว ประพจน์นี้พิสูจน์โดยยุคลิด และมีชื่อเรียกว่า บทตั้งของยุคลิด ใช้ในการพิสูจน์เรื่องการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว 
ริง (ดูที่เลขคณิตมอดุลาร์) Z/nZ เป็นฟิลด์ ก็ต่อเมื่อ n เป็นจำนวนเฉพาะ 
ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ a เป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว ap − a หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทน้อยของแฟร์มาต์) 
จำนวนเต็ม p > 1 เป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ (p − 1)! + 1 หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทของวิลสัน). บทกลับ, จำนวนเต็ม n > 4 เป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ (n − 1)! หารด้วย n ลงตัว 
ถ้า n เป็นจำนวนเต็มบวกแล้ว จะมีจำนวนเฉพาะ p ที่ n < p < 2n (สัจพจน์ของเบอร์แทรนด์) 
สำหรับจำนวนเฉพาะ p > 2 จะมีจำนวนธรรมชาติ n ที่ทำให้ p = 4n ± 1 
สำหรับจำนวนเฉพาะ p > 3 จะมีจำนวนธรรมชาติ n ที่ทำให้ p = 6n ± 1

ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0
เทคนิคการคิดลัดหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
สกศ. กับ 11 ตัวบ่งชี้การคูณ เลข 11 กับเลขสองหลัก มีหลักในการหาคำตอบ ดังนี้ 
1. ผลคูณในหลักหน่วยจะเป็นตัวเดียวกับหลักหน่วยของเลขสองหลัก 
2. ผลคูณในหลักสิบได้จากการนำตัวเลขในหลักสิบและหลักหน่วยของเลขสองหลักมาบวกกันโดยไม่มีทด 
3. ผลคูณในหลักร้อยจะเป็นตัวเดียวกับหลักสิบของเลขสองหลัก 
1. 11 X 13 = 143 
2. 11 X 17 = 187 
3. 11 X 24 = 264 
4. 11 X 35 = 385

การคูณ เลข 11 กับเลขสามหลัก มีหลักในการหาคำตอบ ดังนี้ 
1. ผลคูณในหลักหน่วยจะเป็นตัวเดียวกับหลักหน่วยของตัวตั้ง 
2. ผลคูณในหลักสิบได้จากการนำตัวเลขในหลักสิบและหลักหน่วยของตัวตั้งมาบวกกัน แต่ถ้าผลบวกหลักสิบและหลักหน่วยของตัวตั้งได้ตั้งแต่สิบขึ้นไป ให้นำไปทดในหลักร้อยของผลคูณ 
3. ผลคูณในหลักร้อยได้จากการนำตัวเลขในหลักร้อยและหลักสิบของตัวตั้งมาบวกกัน และบวกกับตัวทดจากหลักสิบถ้ามี 
4. ผลคูณในหลักพันจะเป็นตัวเดียวกับหลักร้อยของเลขสองหลัก 
ดังตัวอย่าง เช่น 
1. 11 X 106 = 1166 
2. 11 X 322 = 3542 
3. 11 X 447 = 4917 
5. 11 X 63 = 693 
ที่มาของข้อมูล https://www.kroobannok.com/2164
คำถามในห้องเรียน 
1. จาก  11 ตัวบ่งชี้ นักเรียนคิดว่าตัวบ่งชี้ใดสำคัญและจำเป็นที่สุด  เพราะเหตุใดอภิปราย
2. จาก  11 ตัวบ่งชี้  เกณฑ์อะไรเป็นตัวกำหนด เช่น  ตัวบ่งชี้ที่ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 และตัวบ่งชี้ที่ 2 เด็กปฐมวัยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 แล้วใครมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ในแต่ละตัวบ่งชี้

ข้อเสนอแนะ

จาก 11 ตัวบ่งชี้  จะทำได้และจะสำเร็จทุกข้อหรือไม่  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1  เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้  การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม  
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4 การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

ที่มาของภาพ  https://www.noeplaza.com/upload/pics/20101224_111008.jpg
ที่มาของภาพ  https://img.kapook.com/image/education/niets_02.jpg
ที่มาของภาพ https://www.okkid.net/stocks/blog/journal/real/20090623164130_134.jpg
ที่มาของภาพ https://gotoknow.org/file/thanis_11/201.jpg
ที่มาของภาพ https://www.uppicweb.com/z/ic/8untitled1.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3660

อัพเดทล่าสุด