ขนมดอกไม้สีรุ้ง


976 ผู้ชม


นักศึกษา มทร. ธัญบุรี คิดค้นและเผยแพร่   

ดอกไม้สีรุ้งจานเด็ด 77 จังหวัด

ขนมดอกไม้สีรุ้ง

น.ส.จริสรา ทองทัพไทย น.ส.คณาพร ฤกษ์เกษมสันต์ และ น.ส.นุชนารถ แย้มสรวน นักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี คิดค้นและเผยแพร่ "ขนมดอกไม้สีรุ้ง"

ดอกไม้สีรุ้ง หรือ Rainbow Flower 1 ชิ้น ประกอบด้วย ดอกไม้ 7 ชนิด 7 กลีบ คือ ดอกคำฝอย เตยหอม ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกระเจี๊ยบ ดอกอัญชัน ดอกดาวเรือง และ ดอกเข็ม
ขนมดอกไม้สีรุ้งส่วนผสมของตัวดอกไม้แต่ละกลีบ ประกอบด้วย 
แป้งสาลีร่อนแล้ว 1.5 ถ้วยตวง 
น้ำตาลทรายป่นร่อนแล้ว 0.5 ถ้วยตวง 
น้ำมันถั่วเหลือง 0.5 ถ้วยตวง 
เกลือป่น 0.5 ช้อนชา 
งาขาว (สำหรับใช้ติดบนเกสร) 
ดอกอัญชันสด (สับละเอียด) 3 ช้อนโต๊ะ 
ใบเตยสด (สับละเอียด) 2.5 ช้อนโต๊ะ 
ดาวเรืองสด (สับละเอียด) 2 ช้อนโต๊ะ
กระเจี๊ยบแห้ง (บดละเอียด) 2.5 ช้อนโต๊ะ 
ดอกเข็มสีแดง (สับละเอียด) 2.5 ช้อนโต๊ะ 
ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพู (สับละเอียด) 2 ช้อนโต๊ะ 
ดอกคำฝอย (บดละเอียด) 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ 
ขนมดอกไม้สีรุ้ง1.ผสมแป้งสาลี น้ำตาลทรายป่น เกลือ และดอกไม้ที่เตรียมไว้หนึ่งชนิดเคล้าให้เข้ากัน 
2.ใส่น้ำมันถั่วเหลืองทีละน้อย เคล้าให้เข้ากัน 
3.ปั้นส่วนผสมให้เป็นกลีบดอกไม้หรือรูปหยดน้ำ
4.ทำตามขั้นตอนที่ 1-3 ให้ครบทั้ง 7 ชนิด 
5.ทำส่วนผสมเพิ่มอีกครึ่งส่วนโดยไม่ต้องใส่ดอกไม้ (ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ เพื่อติดทำเป็นเกสรดอกไม้) 
6. ประกอบกลีบดอกเข้าด้วยกันทั้ง 7 กลีบ ทาน้ำมันถั่วเหลืองระหว่างกลีบดอกเล็กน้อย เพื่อให้กลีบติดกัน
7.นำส่วนผสมสีขาวที่ปั้นเตรียมไว้มาติดตรงกลางดอกเพื่อทำเป็นเกสร ทาไข่แดง โรยงาขาว 
8. เรียงบนถาดที่ปูด้วยกระดาษไข อบขนมที่อุณหภูมิ 280 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 30 นาที จนขนมสุก หอม แซะออกจากกระดาษไข พักไว้ให้เย็น เก็บใส่ภาชนะปิดสนิทเพื่อรักษาความกรอบ

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNekl5TURRMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHdOQzB5TWc9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
อัตราส่วนและร้อยละ (Ratio and Percentage)
1.อัตราส่วน (Ratio)  คือ การเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งต่อของอีกสิ่งหนึ่งที่มีหน่วยอย่าง เดียวกัน เช่น  a : b อ่านว่า a ต่อ b  หรือ  a/b

ตัวอย่าง
 ปรีชาสูง 150 ซม.  นายสุชาติสูง 170 ซม.  ดังนั้นความสูงของ นายปรีชาต่อความสูงของนายสุชาติ คือ 150 ต่อ 170 หรือเขียนเป็น 
150 : 170  =  15 :17
2.  อัตราส่วนที่เท่ากัน  คือ อัตราส่วนที่แสดงอัตราเดียวกัน นั่นเอง เช่น 3 : 5  =  6 : 10  =  12 : 20   เป็นต้น
3.  สัดส่วน (Proportion)  คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงการเท่ากันของ  2  
อัตราส่วน  เช่น  a : b  =  c : d  อ่านว่า  a  ต่อ b เท่ากับ c ต่อ d 
การแก้ปัญหาโจทย์สัดส่วน
1. อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์ต้องการอะไร และให้ข้อมูลอะไรมาบ้าง
2. สมมุติตัวแปร  แทนสิ่งที่ต้องการ
3. เขียนเป็นสัดส่วน (เปลี่ยนประโยคภาษาไทยให้เป็นประโยคสัญลักษณ์)
4. หาค่าตัวแปรในสัดส่วน
5. ตรวจสอบคำตอบ (นำคำตอบที่ได้ไปแทนค่าในโจทย์) เพื่อความไม่ประมาท
4. ร้อยละ (percentage)  คือ อัตราส่วนที่มีจำนวนหลัง หรือจำนวนที่สองเป็น 100  เช่น  78 : 100  หมายถึง  ร้อยละ 78   หรือ 78%

ทดสอบความเข้าใจ
ขนมดอกไม้สีรุ้งข้อ 1.  ในโรงงานแห่งหนึ่งมีคนงาน 300 คน ถ้าวันหนึ่งคนไม่มา 5 เปอร์เซ็นต์คนงานขาดงานกี่คน  
ข้อ 2.  นักธุรกิจคนหนึ่งมีรายได้สุทธิ 360,000 บาท ในปี พ.ศ. 2537  ถ้าเข้าต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังนี้  เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก ชำระภาษีในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ และเงินได้สุทธิที่เหลือชำระภาษีในอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ จงหาว่านักธุรกิจคนนี้ต้องชำระภาษีได้ในปีนั้นเท่าไร 
ข้อ 3.  บริษัทผลิตสบู่ ตั้งราคาสบู่ไว้ก้อนละ 40 บาท ให้ส่วนลดแก่ร้านค้าปลีก 25 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ตั้งไว้  ต่อมาร้านค้าปลีกประกาศลดราคาสบู่ 10 เปอร์เซ็นต์ จงหาว่าถ้าร้านค้าปลีกขายสบู่ 10 โหลจะได้กำไรเท่าไร 
เฉลย
ข้อ 1. ตอบ   15  คน
ข้อ 2. ตอบ  31,000  บาท
ข้อ 3. ตอบ  720 บาท
ที่มาของข้อมูล www.tutormaths.com/matha3.doc
แบบทดสอบ 20 ข้อ https://www.stw.ac.th/stw/output/teacher/testonline/hasnahonline/math32101.html
อ่านเนื้อหาอัตราส่วนเพิ่มเติม https://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project006/ratio.htm

คำถามในห้องเรียนขนมดอกไม้สีรุ้ง
1. อัตราส่วนหรือส่วนผสมของตัวดอกไม้แต่ละกลีบใช้ปริมาณต่างกันนักเรียนคิดว่าขึ้นอยู่กับสิ่งใด เพราะเหตุใด
2. ถ้าให้นักเรียน คิดค้นขนม 1 อย่าง โดยไม่ใช้ ดอกไม้ทั้ง 7 ชนิดนี้ นักเรียนคิดว่าจะใช้ดอกไม้อะไรแทนดอกไม่ใด เพราะเหตุใด
ข้อเสนอแนะ
ผลงานการคิดค้นและเผยแพร่ "ขนมดอกไม้สีรุ้ง" ของนักศึกษา มทร. ธัญบุรี  ควรจดลิขสิทธิ์ และให้ความรู้กับกลุ่มแม่บ้านเพื่อการประกอบอาชีพ
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สาระที่ 4 การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระที่ 1  ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/04/col03220454p1.jpg&width=360&height=360
ที่มาของภาพ https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/378/10378/images/Psuclass/makingcake.jpg
ที่มาของภาพ https://campus.sanook.com/story_picture/b/06136_002.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKZdtgAiMPyaY55l8NVm6olB_cqKoTidJ0PK7IysW-e05-ayOu8Q

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3652

อัพเดทล่าสุด