ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปี


948 ผู้ชม


เหตุขอปรับโครงการ-สถาบันไม่พร้อม   

ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปี เหตุขอปรับโครงการ-สถาบันไม่พร้อม-ยุบสภา

ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปีนายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปี ระดับปริญญาตรีควบปริญญาโท ที่เดิมจะให้ดำเนินการในปีการศึกษา 2554 แต่ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ทันเนื่องจากจะต้องขอปรับโครงการผลิตครูและความไม่พร้อมของสถาบันผลิตครูรวมทั้งจะมีการยุบสภาประมาณเดือนพฤษภาคมจึงควรชะลอไปก่อน และที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปี และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ 4+1 แทนไปก่อน โดยจะแบ่งเป็นการผลิตหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปี จำนวน 3,700 คน แยกเป็นผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2,700 คน และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 จำนวน 1,000 คน และหลักสูตร ป.บัณฑิต จำนวน 2,500 คน โดยการรับนักศึกษาเข้าเรียนในจำนวนดังกล่าวจะมีการให้ทุนการศึกษาและการประกันการมีงานทำให้ โดยกรณีนักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 ขึ้นปี 4 จำนวน 1,000 คนจะมีการประกันการมีงานทำให้ ส่วนอีก 2,700 คนจากชั้น ม.6 จะให้ทุนการศึกษาและประกันการมีงานทำ ส่วน ป.บัณฑิตจะมีทั้งให้ทุนและประกันการมีงานทำ

ที่มาของข้อมูล  https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303905322&grpid=&catid=19&subcatid=1903

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การบวก ลบ คูณ หาร  จำนวนเต็ม 
1. การบวก การลบ 
  1. สมบัติการสลับที่ของการบวก 
จำนวนสองจำนวนที่นำมาบวกกัน สลับกันได้โดยที่ผลบวกยังคงเท่าเดิม
226 + 417 = 643 ดังนั้น 417 + 226 = 417 + 226

  2. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวก 
จำนวนสามจำนวนที่บวกกัน จะบวกจำนวนที่หนึ่งหรือจำนวนที่สอง หรือบวกจำนวนที่สองกับจำนวน
ที่สามก่อน แล้วจึงบวกจำนวนที่เหลือ ผลบวกย่อมเท่ากัน เช่น (56 + 80) + 20 = 56 + ( 80 + 20 ) = 10 
ส่วนการลบใช้คุณสมบัตินี้ไม่ได้

2. การบวก ลบระคน 
บวกหรือลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน โดยเริ่มจากหลักหน่วยไปตามลำดับหาผลบวกหรือผลลบ
ในวงเล็บก่อนแล้วจึงนำผลลัพธ์ไปบวกหรือลบกับจำนวนที่อยู่นอกวงเล็บ เช่น 
(254 – 85) + 398 วิธีทำ (254 – 85) + 398 = 169 + 398 = 567

3. การคูณ หมายถึง การนับเพิ่มครั้งละเท่า ๆ กัน 
เช่น 3x20 หมายถึง นับเพิ่มครั้งละ 20 เป็นจำนวน 3 ครั้ง เขียนได้เป็น 3 x20 = 20 + 20 + 20 = 60
ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปี1. สมบัติการสลับที่ของการคูณ เช่น 5 x 8 = 8 x 5 
2. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการคูณ เช่น (5x8)x4 = 5x(8x4)
3. สมบัติการแจกแจง เช่น 4x(5+6) = 4x11 = 44

4. การคูณจำนวนที่มีหลายหลัก ให้คูณทีละหลักแล้วนำผลคูณมาบวกกัน
5. การหาร หมายถึง การนับลดครั้งละเท่า ๆ กัน 
6. โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร 
ในการทำโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร จะต้องอ่านโจทย์ได้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดอะไรให้อะไรบ้าง และต้องการอะไร แล้วจึงพิจารณาวิธีการหาคำตอบดังนี้
1.. ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธี บวก
2. ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธี ลบ
3. ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่า ใช้วิธี คูณ
4. ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกว่าลดลงเป็นจำนวนเท่า ใช้วิธี หาร

ทดสอบความเข้าใจ 
ข้อ 1. จำนวน y มีค่าเท่าไร 899 = 31 x( y)
ก. 29 
ข. 39 
ค. 49 
ง. 59

ข้อ 2. x / 16 = 19 จำนวน x มีค่าเท่าไร
ก. 204 
ข. 254 
ค. 284 
ง. 304

ข้อ 3. ซื้อผลไม้ 3 กิโลกรัม ราคา 10 บาท ถ้าซื้อ 15 กิโลกรัม ต้องจ่ายเท่าไร
ก. 30 บาท 
ข. 40 บาท 
ค. 50 บาท 
ง. 60 บาท

ข้อ 4. ถ้า 1 ชั่งโมงมี 60 นาที และ 1 นาทีมี 60 วินาที อยากทราบว่า 1 ชั่วโมงมีกี่วินาที
ก. 60 
ข. 360 
ค.1,800 
ง. 3,600
เฉลย ข้อ 1. ตอบ ก. ข้อ 2. ตอบ ง. ข้อ 3. ตอบ ค. ข้อ 4. ตอบ ง. 
ที่มาของข้อมูล https://www.tutormaths.com/pratom2.htm
การ บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
1. การบวกลบเศษส่วน
 
    1.1 เศษส่วนชนิดเดียวกัน ให้เอาเศษมาบวกลบกันได้เลย ส่วนส่วนมีค่าคงเดิม
    1.2 เศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน ทำเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนชนิดเดียวกันก่อน แล้วจึงนำเศษส่วนมาบวกลบกันเหมือนวิธี 1.1

2. การแปลงเศษส่วน 
    การแปลงเศษส่วน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเศษส่วนจากชนิดหนึ่งไปเป็นเศษส่วนอีกชนิอหนึ่ง โดยที่ค่าเศษส่วนชุดเดิมนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเช่นเศษส่วนเกินเป็นเศษส่วนคละหรือการแปลงเศษส่วนคละให้เป็นเศษ ส่วนเกิน เป็นต้น

ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปี3. การขยายเศษส่วน 
    การขยายเศษส่วน เป็นการแปลงเศษส่วนอีกลักษณะหนึ่ง โดยให้จำนวนเลขที่เป็น เศษส่วนมีจำนวนมากกว่าเดิม แต่ค่าของเศษส่วนชุดเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น 

4. การทอนเศษส่วน 
    การทอนเศษส่วน คือ การแปลงเศษส่วนที่ทำให้ตัวเลขทั้งเศษและส่วนน้อยลง โดยค่าของเศษส่วนนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

5.การคูณเศษส่วน 
    5.1 จำนวนเต็มคูณเศษส่วน หมายถึง การบวกเศษส่วนที่มีค่าเท่าๆกันหลายๆค่า เช่น 
    5.2 เศษส่วนคูณจำนวนเต็ม หมายถึง เศษส่วนของจำนวนเต็ม  เช่น  หมายถึง 1/2 ของ 3
    5.3 เศษส่วนคูณเศษส่วนหมายถึงการแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกันว่ามีค่าเป็นเศษส่วนเท่าไรของทั้งหมด  เช่น 
 
6. การหารเศษส่วน 
    6.1 การหารจำนวนเต็มด้วยเศษส่วน หมายถึง การแบ่งจำนวนเต็มออก เป็นส่วนย่อยเท่าๆกันจะได้กี่ส่วน
    6.2 การหารเศษส่วนด้วนจำนวนเต็ม หมายถึง การแบ่งเศษส่วนที่มีอยู่ออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
    6.3 การหารเศษส่วนด้วนเศษส่วน หมายถึง การแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกัน หาคำตอบได้จากการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งกับส่วนกลับของเศษส่วนที่เป็นตัวหาร 

ข้อควรจำ 
    การทำโจทย์ที่มีการบวก ลบ คูณ หาระคนกัน ให้ทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้
        1. ตัวเลขที่อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บต้องทำก่อนอย่างอื่น
        2. คำว่า "ของ" หมายถึงการคูณ
        3. คูณ หาร ทำพร้อมกันได้
        4. บวกลบทำพร้อมกันได้
        5. ต้องทำคูณหารก่อนบวกลบเสมอ

ทดสอบความเข้าใจ

ข้อ 1. จงหาค่าของ (1/4) / 2 x 1/3
        ก. 1/3 
        ข. 3/4 
        ค. 6/7 
        ง. 1/24
ข้อ 2. 1/5 ของเงิน 1,000 บาทเป็นเงินกี่บาท 
        ก. 100 
        ข. 200 
        ค. 500 
        ง. 5,000
ข้อ 3. มีแตงอยู่ 2 ผล แบ่งให้เด็กคนละ 1/8 ผล จะแบ่งให้เด็กได้กี่คน 
        ก. 2 
        ข. 4 
        ค. 8 
        ง. 16

ศธ.ชะลอผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปีเฉลย ข้อ 1.ตอบ ง. 
        ข้อ 2. ตอบ ข. 
        ข้อ 3. ตอบ ง.

คำถามในห้องเรียน 
การจัดทำหลักสูตรในการผลิตครู ไม่ว่าจะเป็น 4+2 ปี หรือ 5 + 1 ปี  นักเรียนมีความคิดเห็นจาก 2 หลักสูตร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อภิปราย

ข้อเสนอแนะ
การผลิตหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปี  จำนวนกี่คนก็ตามควรจะมีทุนการศึกษาและการประกันการมีงานทำให้

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สาระที่ 4  การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพhttps://www.bhumjaithai.com/backend/plugin/ckfinder/userfiles/images/Other/Chaiyos.jpg
ที่มาของภาพ https://i713.photobucket.com/albums/ww139/hospetal99/math_symbol_clipart.jpg
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/cai(1).jpg
ที่มาของภาพ https://igetweb.com/www/socialscience/webboard/A1889630.gif

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3667

อัพเดทล่าสุด