นโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ข้อ


855 ผู้ชม


พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561   

ศธ.ชู 4 ข้อ สร้างพลเมือง

 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 
นโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ข้อยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับเด็กและเยาวชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน เน้นการสร้างหลักสูตรและการอบรมพลเมืองและประชาธิปไตยในชุมชน 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างพลเมืองในวงกว้าง และการสร้างความตระหนักในสังคมไทย 
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเชื่อมประสานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ระบอบประชาธิปไตยจะมีความเข้มแข็งได้ไม่ใช่เพียงแต่มีรัฐธรรมนูญที่ดีเท่านั้น แต่จะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความเป็นพลเมืองหรือมีความเข้มแข็ง ซึ่งประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ 
1.ต้องช่วยเหลือตัวเองได้ โดยมีความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก เพื่อสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมและโลกได้ 
2.ต้องเคารพซึ่งกันและกัน 
3.ต้องเคารพกติกา 
4.ต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
5.ต้องใช้เหตุผลและวิธีการแห่งปัญญาในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม เครื่องมือเดียวที่สำคัญ คือ ใช้กระบวนการเรียนรู้

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakF6TURVMU5BPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB3TXc9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระบบเลขฐาน 
   นโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ข้อ เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐานนั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
 
1) เลขฐานสอง (Binary Number)

     คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2) เลขฐานแปด (Octal Number)
     เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

นโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ข้อ3) เลขฐานสิบ (Decimal Number)
     คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4) เลขฐานสิบหก  (Hexadecimal Number) 
     เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
ที่มาของข้อมูลhttps://www.dovepvc.moe.go.th/e_book/maths/page02.html
 
   การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)
     เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง 
      เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้ 
     ให้นำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 ของฐานสองมารวมกัน เช่นจำนวน (11010)2ประกอบด้วยเลข “1” จำนวน 3 ตัว
เมื่อนำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 มารวมกัน ทำให้ได้จำนวนในฐานสิบเป็น 16+8+2 = 26  
นอกจากนี้การเปลี่ยนเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบยังสามารถทำได้โดย นำตัวเลขในแต่ละตำแหน่งคูณด้วยค่าประจำตำแหน่งแล้วนำมารวมกัน 
ค่าประจำตำแหน่งของเลขฐานสองเริ่มตั้งแต่ 20,21,22,…
นโยบายและยุทธศาสตร์ 4 ข้อตัวอย่าง เช่น 
     (1011)2 = (1x23)+(0x22)+(1x21)+(1x20)
                = (1x8)+(0x4)+(1x2)+(1x1)
                = 8+0+2+1
                = 11

ที่มาของข้อมูล https://www.dovepvc.moe.go.th/e_book/maths/page02-1.html

คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนเปลี่ยน 2553 เป็นฐาน 2
2. ให้เปลี่ยน 231302 ฐาน 4 เป็นฐาน 10

ข้อเสนอแนะ
4 ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับอะไร ปัจจัยใด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่  2  ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 3  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา  แสวงหาความรู้  และเปิดโลกทัศน์ของตน

ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTCVzeTLKLP75pGq9KHJ5CTuqlFxyvpw95pbb5uUr5dL2X6piweCA
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT-ku27W9A6aixyFxkN6FMQmGL-JR3MQUoXwmDS_t4IkX2Gu1qL
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT7OFWZBu9rzDrcNzK26qEyHUp7S4sYfsXl3Q_Gl3pUtvK_kXtlyA
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSu__GLqv_qTpIxz69AiBEfnIjS78MhN9SuoIGW7S6dFJoLrLd7
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQrsLW5aWo4urjRv5VzVjnRBn_ED0gytHUo_Nsx1gPQIwbcw57Z8g

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3677

อัพเดทล่าสุด