ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา MUSLIMTHAIPOST

 

ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา


576 ผู้ชม


ดาวเคราะห์ YU55 จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกยิ่งกว่าดวงจันทร์ในวันที่ 8 พ.ย. 54   

        ดาวเคราะห์ YU55 เฉียดใกล้โลก พฤศจิกายน 2554 นี้

        ดาวเคราะห์ขนาดมหึมาชื่อ YU55 น้ำหนักกว่า 55 ล้านตัน จะเคลื่อนตัวใกล้โลก ในวันที่ 8 พฤศจิกายน นี้  
nasa เผยว่า  มันจะเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้โลกในระยะใกล้ที่สุด ที่ระยะห่าง 324,604 กิโลเมตร  เรียกว่าเป็นระยะทาง       
ที่ฉิวเฉียดมาก เพราะเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลกมากกว่าดวงจันทร์ซึ่งอยู่ห่างโลกเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร เสียอีก 
แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น มันก็จะไม่ส่งผลต่อแรงโน้มถ่วง หรือน้ำขึ้นน้ำลงบนโลกแต่อย่างใด ตอนนี้มันได้ถูกจัดให้เป็น   ดาวเคราะห์อันตรายไปแล้ว เพราะหากวันหนึ่งมันพุ่งชนโลก มันจะมีพลังการทำลายล้างโลกเท่ากับระเบิดปรมาณู 65,000 ลูกเลยทีเดียว


ที่มา.1  https://hilight.kapook.com/view/58564

 ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา

ที่มาภาพ : จาก nasa

ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา

ที่มาภาพ.2 : จาก nasa

ประเด็นจากข่าวเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาหลัก       

        ระยะทาง /การเปรียบเทียบระยะทาง

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระคณิตศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

        ระบบสุริยะ   ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวาร เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร 
ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน   คำว่า "ระบบสุริยะ" ใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" 
อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน  ดาวเคราะห์เรียงลำดับตามระยะทางใกล้ไกลจากดวงอาทิตย์ ดังนี้
         1. ดาวพุธ
         2. ดาวศุกร์
        3. โลก
        4. ดาวอังคาร
        5. ดาวพฤหัส
        6. ดาวเสาร์
        7. ดาวยูเรนัส
        8. ดาวเนปจูน
 

ที่มา.2  https://blog.eduzones.com/montra/2849

ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา

ที่มาภาพ.3 : จาก wikimedia         
 
         การวัดความยาว
         หน่วยการวัดความยาวที่นิยมใช้กันในประเทศไทย
  หน่วยการวัดความยาวในระบบอังกฤษ
         12 นิ้ว     เท่ากับ    1 ฟุต
         3 ฟุต      เท่ากับ    1 หลา
         1,760 หลา  เท่ากับ   1 ไมล์
 หน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก
         10 มิลลิเมตร       เท่ากับ    1 เซนติเมตร
         100 เซนติเมตร  เท่ากับ     1 เมตร
         1,000 เมตร         เท่ากับ    1 กิโลเมตร
 หน่วยการวัดความยาวในมาตรไทย
         12 นิ้ว        เท่ากับ       1 คืบ
         2 คืบ         เท่ากับ       1 ศอก
         4 ศอก      เท่ากับ       1 วา
         20 วา       เท่ากับ        1 เส้น
         400 เส้น  เท่ากับ        1 โยชน์
      กำหนดการเทียบ   1   วา     เท่ากับ     2 เมตร

ที่มา.3 https://www.kr.ac.th/ebook2/apichat/04.html 
 

ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา
ที่มาภาพ.4 สายวัด  https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/19/Planets2008-th.jpg/420px-Planets2008-th.jpg

ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา
ที่มาภาพ.5 ไม้บรรทัด 

            https://welovepremium.tarad.com/shop/w/welovepremium/img-lib/spd_20090712163818_b.jpg  
         ดาวเคราะห์ขนาดมหึมา

ตัวอย่างที่ 1    เชือกสีแดงยาว 1,908 เมตร  เชือกสีฟ้ายาว  3,162 เมตร   เชือกเส้นใดยาวกว่า และยาวกว่ากันเท่าไร

                         เชือกสีฟ้ายาวกว่า  ยาว  1,254 เมตร

ตัวอย่างที่  2   เชือกสีแดงยาว 1,908 เมตร  เชือกสีฟ้ายาว  3,162 เมตร   เชือกทั้งสองเส้นต่อกันยาวเท่าไร

                         5,070 เมตร

ตัวอย่างที่  3   เชือกสีแดงยาว 4,660 เมตร  เชือกสีฟ้ายาว  7,162 เมตร   เชือกเส้นใดสั้นกว่า และสั้นกว่าเท่าไร

                         2,502 เมตร

ประเด็นคำถาม   

        1. ทำอย่างไรจึงจะทราบระยะทางที่ถูกต้อง ในสิ่งที่เราอยากรู้
        2.  มีความจำเป็นอย่างไรในการวัดสิ่งต่างๆ

 บูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

 > 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3760

อัพเดทล่าสุด