"ปริภูมิ" ในที่นี้ หมายถึง สิ่งต่างๆ รวมทั้ง อาณาบริเวณซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่ เคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ หรืออีกนัยหนึ่ง มิติที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง
ความหมายและความสำคัญของความรู้สึกเชิงปริภูมิ
"ความรู้สึกเชิงปริภูมิ" มาจากคำว่า spatial sense ในภาษาอังกฤษspatial มาจากคำว่า space ภาษาไทยใช้คำว่า "ปริภูมิ" ในที่นี้ หมายถึง สิ่งต่างๆ รวมทั้ง อาณาบริเวณซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่ เคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ หรืออีกนัยหนึ่ง มิติที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง
https://maths4children.files.wordpress.com/2010/10/geo.jpg?w=260&h=194
sense เป็นความรู้สึกที่เรารับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้กลิ่น การรับรู้รส และการสัมผัส ประกอบกับ ความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล
https://www.simandson.com/images/Marketing-Knowledge/Psychological%20factors02gif.gif
ความรู้สึกเชิงปริภูมิ หรือ spatial sense จึงเป็นความสามารถของบุคคลในการรับรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมทั้ง อาณาบริเวณซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่ เคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ รวมถึงความสามารถในการนึกภาพหรือจินตนาการการเคลื่อนย้าย การหมุน การพับ หรือการใช้สื่อหรือแบบจำลอง
https://matrix.skku.ac.kr/sglee/2001-talks/illuminations/NCTM%20Illuminations.files/solids.gif
เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติของปริภูมิจากการเคลื่อนไหว การจับต้องและการปฏิสัมพัทธ์ (interact) กับสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่ง ความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเองโดยสัญชาติญาณเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกเชิงปริภูมิ ในการพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ เด็กจำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย และประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้นควรเป็นประสบการณ์ที่เน้นในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้
(1) ความสัมพันธ์ทางเรขาคณิต
(2) ทิศ ทิศทาง และมุมมองของรูปและวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิ
(3) ความสัมพันธ์ของรูป ร่างและขนาดของรูปและวัตถุต่าง ๆ
(4) การเปลี่ยนรูป ร่างสัมพันธ์กับการเปลี่ยนขนาดอย่างไร
อาจกล่าวได้ว่า ความรู้สึกเชิงปริภูมิเป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับขนาด รูป ร่าง ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง และความสัมพันธ์ของรูปและสิ่งต่างๆ
ที่มา
https://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/spatial_sense/cap01/p01.asp
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4066