“โป๊ป” กับ “ทวิตเตอร์”


878 ผู้ชม


“วาติกัน” เผยโฉมเว็บใหม่ ขณะที่โป๊ปไม่ยอมตกเทรนด์ ออกทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนทางศาสนาผ่านระบบออนไลน์   

“โป๊ป”ผุด“ทวิตเตอร์”

“โป๊ป” กับ “ทวิตเตอร์”“วาติกัน” เผยโฉมเว็บใหม่ ขณะที่โป๊ปไม่ยอมตกเทรนด์ ออกทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนทางศาสนาผ่านระบบออนไลน์

     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักวาติกัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก เปิดเว็บไซต์ใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร และเผยแผ่หลักคำสอน ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ทางคริสตศาสนาแก่ผู้สนใจ ซึ่งการเปิดครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ภายหลังจากสันตะปาปา หรือโป๊ป เบเนดิกต์ ที่ 16 ผู้เป็นองค์ประมุขคริสตจักร ได้เปิดทวิตเตอร์ เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เพียง 1 วัน

     รายงานข่าวแจ้งว่า โป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 ซึ่งมีพระชนมายุ 84 พรรษา ได้เริ่มส่งข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ครั้งแรก ด้วยอุปกรณ์ไอแพด
ที่มาของข้อมูล https://www.siamrath.co.th/web/?q=node/73513
ที่มาของภาพ https://www.siamrath.co.th/web/sites/default/files/pope.jpg

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้พื้นฐานการนำเสนอข้อมูล
            
          โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)

         “โป๊ป” กับ “ทวิตเตอร์” การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

            การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

            1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง

            2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ 
ที่มาของข้อมูล https://thailocal.nso.go.th/nso-cms/%E0%B8%B4basic_knowledge.html 
 
ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ 
การนำเสนอข้อมูล
        การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ 
ความสำคัญของการนำเสนอ
        ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ 
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ 
“โป๊ป” กับ “ทวิตเตอร์”เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ 
เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ 
เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 
ประเภทของการนำเสนอ
        ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี 2 รูปแบบ ดังนี้ 
การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม 
การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ 
ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ 
        ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 
1. ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง 
2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน

        คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้ 
        นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ 
ประเภทของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม 
ฮิสโตแกรม 
กราฟ HI - LO 
กราฟแท่ง 
กราฟวงกลม(pie chart) 
กราฟ Scattering 
ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5
ทำแบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch2.aspx
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลมีข้อดีและข้อจำกัดอะไรบ้างอภิปรายเป็นข้อๆ

ข้อเสนอแนะ
การใช้ทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนผ่านระบบออนไลน์ เป็นสิ่งที่ดีเหมาะสมกับยุคนี้อย่างยิ่ง ข้อควรระวังข้อความหรือข้อคอมเมนต์ที่ไม่สุภาพในทุกๆ กรณี

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
สาระที่ 2  ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน  ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2  เข้าใจ  ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี  และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ


ที่มาของภาพ https://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A21.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQp1qYdM1C_c2ZCIhn6fLM83j19Qc8MaQsocwHZ8VqBVhJlGubk
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEca1-PxrszPtzODwlHRU4zsQHxfZ7kMKyAPIrpYNElLrYIECRKg
ที่มาของภาพ https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/multimedia/multimedia.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4107

อัพเดทล่าสุด