การนำวิธีการสอนแบบการวิจัยบทเรียน (Lesson Study) และการสอนแบบเปิด
สพฐ.สอน นวัตกรรมการศึกษา
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ว่า หลังจากที่ สพฐ.นำนวัตกรรมทางการศึกษาโดยการนำวิธีการสอนแบบการวิจัยบทเรียน (Lesson Study) และการสอนแบบเปิด ไปใช้สอนในโรงเรียนนำร่องในระดับชั้นประถมศึกษา ผลการศึกษาออกมาระยะแรก แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพราะว่าการสอนแบบวิจัยบทเรียนส่งเสริมให้นักเรียนได้คิด โดยครูไม่มุ่งเน้นบอกคำตอบ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ว่าการบวกเลขจะมีวิธีเดียว การสอนแบบเปิดจะมีวิธีการที่หลากหลาย เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้คิดด้วยตนเอง
"สำหรับการเริ่มสอนในโรงเรียนนำร่องระดับประถมศึกษา ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มที่ จ.ขอนแก่น ผลการประเมินในช่วง 3 ปี ค่าคะแนนโอเน็ต ระดับชั้นป.3 และ ป.6 ในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คะแนนดีขึ้น โดยโรงเรียนนำร่องประกอบด้วย บ้านบึงเนียม โรงเรียนบึงใคร่นุ่น คณิตศาสตร์ ป.3 จากปี 2552 ได้ 54.81 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 72.58 เปอร์เซ็นต์ และวิชาวิทยาศาสตร์ จาก 41.85 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 80.76 เปอร์เซ็นต์ หากได้ผลสพฐ.จะขยายผลต่อไป"
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakExTURjMU5BPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB3TlE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ทศนิยม
ทศนิยมนั้นจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตลอด ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าของเงินที่เราใช้ การบอกเวลา บอกหน่วยความยาว ฯลฯ
การเขียนทศนิยมในรูปกระจายเป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่าง ๆ ของทศนิยมนั้น
ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือการเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10,100,1000 แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทน
ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นสิบ และทศนิยมสองตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นร้อย
ทศนิยม หมายถึง ค่าของจำนวนเต็มที่แบ่งออกเป็นสิบส่วน ร้อยส่วน พันส่วน .... เท่า ๆ กัน ซึ่งเขียนได้ในรูปของเศษส่วน
การบวกเลขทศนิยม คือ ตั้งให้จุดทศนิยมตรงกัน แล้วทำการบวกตามการบวกเลขธรรมดาทั่ว ๆ ไป
การหาผลคูณโดยใช้การบวกทศนิยมซ้ำ ๆ กัน
การคูณทศนิยมด้วยจำนวนนับ อาจใช้วิธีเปลี่ยนการคูณให้อยู่ในรูปของการบวกทศนิยมนั้นหลาย ๆ ครั้ง โดยจำนวนของทศนิยมที่นำมาบวกกันเท่ากับจำนวนนับนั้นแล้วใช้หลักการบวกทศนิยม
จะสังเกตได้ว่า การคูณนั้นก็เหมือนกับการนำเอาทศนิยมจำนวน ๆ หนึ่ง มาบวกกันให้เท่ากับจำนวนที่เราต้องการ
จะเห็นว่าได้ผลลัพธ์เท่ากัน ดังนั้นก็สามารถบอกได้ว่า การหาผลคูณโดยใช้วิธีการนำทศนิยมมาบวกซ้ำ ๆ กัน ให้เท่ากับจำนวนที่เอามาคูณได้ และอาจใช้วิธีตั้งหลักเลขและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกกันโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการบวกจำนวนนับ
แบทดสอบ ก่อนเรียน- หลังเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำ ตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.ผลบวกของ 10.9 + 21.05 ตรงกับข้อใด
ก. 21.95
ข. 31.95
ค. 11.55
ง. 18.95
2.ผลบวกของ ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด
ก -1.47
ข -0.17
ค -1.77
ง. 1.77
3. ผลบวกของ 2.5 + ( - 0.735 ) ตรงกับข้อใด
ก. 1.765
ข. 2.710
ค. 1.755
ง. 0.755
4.ผลบวกของ ( - 9.46 ) + 6.75 ตรงกับข้อใด
ก - 2.35
ข -1.75
ค. 2.175
ง. -2.71
5.ผลบวกของ 6.07 + 0 ตรงกับข้อใด
ก. 60.7
ข. 6.07
ค. 6
ง. 7.07
6.ผลบวกของ 0 + ( -13.48 ) ตรงกับข้อใด
ก.13.48
ข.-13.48
ค.11.38
ง. 1.83
7.ผลบวกของ 17.3 + ( -12.69 ) + ( -7.31 ) ตรงกับข้อใด
ก. -2.69
ข. 2.69
ค.12.37
ง. 14.58
8.ผลบวกของ 63.02 - ( - 86.38 ) ตรงกับข้อใด
ก. 140.40
ข. 149.40
ค. 23.02
ง. 22.32
9.ผลบวกของ ( - 125.17 )- ( - 72.9 ) ตรงกับข้อใด
ก. 25.27
ข. 52.72
ค - 52.27.
ง. 15.25
10.ผลบวกของ ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด
ก.63.55
ข.35.63
ค.65.28
ง.56.82
ที่มาของข้อมูลhttps://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/index.html
คำถามในห้องเรียน
แนวโน้มความก้าวหน้าของคะแนนในรายวิชา คณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ จากการเรียนการสอนแบบการวิจัยบทเรียน (Lesson Study) จะนำมาใช้และได้ผลในโรงเรียนอื่นๆหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ให้นักเรียนอภิปราย
ข้อเสนอแนะ
เป็นกรณีศึกษา ดังนั้น ควรทำการแบบการวิจัยบทเรียน (Lesson Study) กับกลุ่มโรงเรียน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมแล้วนำมาใช้กับโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายต่อไป
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/number0(1).jpg
ที่มาของภาพ https://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=385685
ที่มาของภาพ https://www.tutormaths.com/pb1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.vcharkarn.com/uploads/18/18920.jpg
ที่มาของภาพ https://www.overclockzone.com/pod/Year2006/0906iaudio_t2/IMG_1089.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4123