The Moon


620 ผู้ชม


ลักษณะทางกายของดวงจันทร์มีความเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์   

ดวงจันทร์ (The Moon) 
สำหรับโลกที่เราอาศัยอยู่นั้นมีดวงดาวบริวารเพียงดวงเดียวเท่านั้นคือ ดวงจันทร์ และดวงจันทร์นี้ก็มีอิทธิพลต่อโลกเราด้วยเช่นกันเช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,474.206 กิโลเมตร (ประมาณ 0.273 เท่าของโลก) มวล 7.3477ื1022 กิโลกรัม (ประมาณ 0.0123 เท่าของโลก) โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 1.022 กิโลเมตรต่อวินาที และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 380,000 กิโลเมตร

The Moon

https://www.solar-system-universe.ob.tc/moon123.jpg

ลักษณะเฉพาะของวงโคจร
ระยะจุดใกล้โลกที่สุด: 363,104 กม.
                                         0.0024 หน่วยดาราศาสตร์

ระยะจุดไกลโลกที่สุด: 405,696 กม.
                                         0.0027 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก:                          384,399 กม.
                                        (0.00257 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวงของวงโคจร: 2,413,402 กม.
                                        (0.16 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:              0.0549
เดือนทางดาราคติ:                 27.321582 วัน
                                         (27 วัน 7 ชม. 43.1 นาที)

เดือนจันทรคติ:                      29.530588 วัน
                                          (29 วัน 12 ชม. 44.0 นาที)
เดือนอะโนมาลิสติก:                27.554550 วัน
เดือนดราโคนิก:                      27.212221 วัน
เดือนทรอปิคัล:                       27.321582 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร:            1.022 กม./วินาที

อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร:    1.082 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร:    0.968 กม./วินาที
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ
ความหนาแน่นบรรยากาศ: 107 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางวัน)
                                        105 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางคืน)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่องเลขยกกำลัง 
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1   เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                    ตัวชี้วัด  2.เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม และเขียน 

                                      แสดงจำนวนให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation)


คำถามชวนคิด
ให้นักเรียนเขียนจำนวนต่อไปนี้ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation)
1.  ระยะจุดไกลโลกที่สุด: 405,696 กม.
2.  เส้นรอบวงของวงโคจร: 2,413,402 กม.
3.  ระยะจุดใกล้โลกที่สุด: 363,104 กม.

กิจกรรมเสนอแนะ
ในชีวิตประจำวันเราใช้การเขียนเลขยกกำลังในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในเรื่องใดบ้าง

บูรณาการสู่ความเป็นเลิศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
https://www.thaispaceweather.com/IHY/Earth/Earth_moon.htm

https://www.solar-system-universe.ob.tc/moon123.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4390

อัพเดทล่าสุด