ภัยออนไลน์


1,081 ผู้ชม



สสส. สำรวจพบ เด็กอายุ 6-14 ปี ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 71.8   

เด็กใช้เน็ตเพิ่ม  สสส. ชี้ภัยออนไลน์
ภัยออนไลน์ นางศรีดา ตันทะอธิพานิชย์ ผู้จัดการมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวในการประชุมระดมความคิดเห็นการใช้โลกออนไลน์เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง "พลังบวกเพื่อเด็กจุดเปลี่ยนการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย" จัดโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล และ สสส.ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พบว่า
กลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี ใช้คอมพิวเตอร์มากสุด คือ ร้อยละ 71.8 
แหล่งที่เยาวชนนิยมใช้สื่อออนไลน์ คือ สถานศึกษา ร้อยละ 45.3 
บ้าน ร้อยละ 35.5 และที่ทำงาน ร้อยละ 29
กิจกรรมส่วนใหญ่ 
ค้นหาข้อมูลทั่วไป ร้อยละ 82.2 
รับส่งอีเมล์ ร้อยละ 26.5 
เล่นเกม ดาวน์ โหลดเกม ร้อยละ 25.6 
ทั้งนี้เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาลามกอนาจาร ซึ่งนับเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก "พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ต้องมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของเด็กๆ เพื่อให้เด็กไทยเข้าถึงสื่อออนไลน์อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ตามวัย" นางศรีดากล่าว 
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakU0TVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4T0E9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
1. ทศนิยม 
ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนเป็น 10 หรือ 10 ยกกำลัง ต่าง ๆ แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด)แทน 
2. การอ่านทศนิยม 
เลขที่อยู่หน้าทศนิยมเป็นเลขจำนวนเต็ม อ่านเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนเต็มทั่วไป ส่วนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเป็นเลขเศษของเศษส่วนซึ่งมีค่าไม่ถึงหนึ่ง อ่านตามลำดับตัวเลขไปเช่น 635.1489 อ่านว่า หกร้อยสามสิบห้าจุดหนึ่งสี่แปดเก้าถ้าเลขจำนวนนั้นไม่มีจำนวนเต็ม จะเขียน 0 (ศูนย์) ไว้ตำแหน่งหลักหน่วยหน้าจุดได้ เช่น .25 เขียนเป็น 0.25 ก็ได้
3. การกระจายทศนิยม 
457.35 =400 + 50 + 7 + 0.3 + 0.05
4. การเรียกตำแหน่งทศนิยม 
ถ้ามีตัวเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัว ก็เรียกเท่านั้นตำแหน่งเช่น
1. 0.4 , 15.3 , 458.6 เรียกว่า ทศนิยม 1 ตำแหน่ง
0.25 , 25.36 , 25.18 เรียกว่า ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ภัยออนไลน์5. การปัดเศษทศนิยม มีหลักดังนี้
5.1 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 6 ขึ้นไป จะปัดทบเข้ากับตัวเลขหน้า เช่น 56.38 = 56.4
5.2 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 4 ลงมา จะปัดตัวเลขนั้นทิ้งไป เช่น 56.32 = 56.3
5.3 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าเท่ากับ 5 มีวิธีปัดทศนิยม 2 วิธีคือ
1) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ก็ตัดตัวเลข 5 ทิ้ง เช่น 4.65= 4.6
2) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดทศนิยมขึ้น เช่น 0.75 = 0.8
6. ทศนิยม และเศษส่วน 
6.1 การเขียนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน
ตัวอย่าง จงเขียน 2.5 ให้เป็นเศษส่วน
วิธีทำ 2.5 = 2 กับ 5 ใน 10 
ดังนั้น 2.5 = 25/10 = 5/2 
6.2 การเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
1.) เศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง สามารถเปลี่ยนเป็นทศนิยมได้เลย เช่น 75/100 = 0.75 
2.) เศษส่วนที่ไม่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง ให้เปลี่ยนเป็นเศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลังก่อนเช่น 3/4  (3x25) / (4x25) = 75 / 100 = 0.75 
ทดสอบความเข้าใจ 
1. 0.75 ไม่เท่ากับจำนวนใด
ก. 3/4 ข. 15/20 ค. 20/25 ง. 75/100
2. 8 บาท 75 สตางค์ เท่ากับกี่บาท
ก. 8.75 ข. 8.57 ค. 87.5 ง. 875
3. น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม 3 ขีด เท่ากับกี่กิโลกรัม
ที่มาของข้อมูล https://www.tutormaths.com/pratom8.htm
ภัยออนไลน์การบวกทศนิยม การลบทศนิยม
1. การบวกทศนิยม 
การบวกทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
ตัวอย่าง  42.36 + 23.86 = ?
วิธีทำ 42.36 + 23.86 = 66.22
สมบัติสลับที่ของการบวก เช่น 5.3 + 4.6 = 4.6 + 5.3 = 9.9
สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวก เช่น ( 0.14+0.83)+0.13 = 0.14 + (0.83 + 0.13) = 1.10
2. การลบทศนิยม 
การลบทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ
ตัวอย่าง  4.35 - 2.19 = ?
วิธีทำ  4.35 - 2.19 = 2.16
3. โจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม 
ขั้นตอนการทำโจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม มีดังนี้
1) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธีบวก
2) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธีลบ
ตัวอย่าง จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.5 บาท จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150 บาท ให้ธนบัตรใบละ 500 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์ 500 - (206.5 + 150 ) = ? 
วิธีทำ
จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.50 บาท
จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150.00 บาท
จ่ายเงินค่าสมุดและดินสอเป็นเงิน 356.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ 500.00 บาท
จ่ายค่าหนังสือและสมุด 356.50 บาท
จะได้รับเงินทอน 143.50 บาท
ภัยออนไลน์4. การคูณทศนิยม 
1. การหาผลคูณโดยใช้การบวก เช่น 2 x 3.5 = 3.5 + 3.5 = 7.0
2. การหาผลคูณโดยการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน เช่น 4 x 0.7 =4 x (7/10) = 28/10 = 2.8  
3. การหาผลคูณโดยวิธีลัด ให้คูณเหมือนการคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ และผลคูณจะมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับทศนิยมที่โจทย์กำหนดให้ เช่น 3x0.7 = 2.1 หรือ 4 x2.17 = 8.68 เป็นต้น
สมบัติการสลับที่ของการคูณเช่น 5x0.8 = 0.8x5 =4.0
5. โจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม มีหลักดังนี้
ขั้นตอนการทำโจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม
1) อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดสิ่งใดให้ และต้องการทราบอะไร
2) พิจารณาวิธีหาคำตอบโดยถ้าโจทย์กำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าจะใช้วิธีการคูณ
ตัวอย่าง ซื้อผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหล ราคาผืนละ 5.25 บาท ให้ธนบัตรใบละ100 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท 
ประโยคสัญลักษณ์ 100 - (5.25x6) = ?
วิธีทำ ซื้อผ้าเช็ดหน้าราคาผืนละ 5.25 บาท
ผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหลเท่ากับ 6 ผืน
จ่ายเงินค่าผ้าเช็ดหน้า 6x5.25 = 31.50 บาท
ให้ธนบัตร 100 บาท
จะได้รับเงินทอน 100 - 31.50 = 63.50 บาท

ทดสอบความเข้าใจ 
ภัยออนไลน์1. จงหาค่าของ (7.58 - 3.61) + 2.95 = ?
ก. 5.92 ข. 6.82 ค. 6.92 ง. 14.14
2. แดงมีเงิน 24.50 บาท ซื้อหนังสือ 1 เล่มราคา 15 บาท แดงมีเงินเหลือกี่บาท
ก. 9 ข. 9.50 ค. 10 ง. 10.50
ข้อ 3. เชือกยาวเส้นละ 2.35 เมตร ถ้านำมาวางต่อกัน 10 เส้น จะได้เชือกยาวกี่เมตร
ก. 12.35 ข. 23.5 ค. 235 ง. 2,350
เฉลย 
1. ตอบ ค 
2. ตอบ ข 
3. ตอบ ข
ที่มาของข้อมูล https://www.tutormaths.com/pratom9.htm

คำถามในห้องเรียน
จากผลสำรวจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ให้นักเรียนจัดเรียงลำดับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ

ข้อเสนอแนะ
พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ และแนะนำการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ตามวัยของนักเรียน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม  
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

ที่มาของภาพ https://www.mict.go.th/images/News_images2/scoop19-3.jpg
ที่มาของภาพ https://3.bp.blogspot.com/_6hWZVmYtpEE/SjxhLczTq5I/AAAAAAAAAAk/jn_lI-diMYk/s320/article_1033_18_11_05_pic6%5B1%5D.jpg
ที่มาของภาพ https://news.dmc.tv/images/news_picture/high_speed_internet.jpg
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQq0XCsfDIBPUvt_4i0I9eDRLuSfLH-NOnvGbtcMzQtwY_ZqV25J1UIP4s

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4410

อัพเดทล่าสุด