ตัวอย่าง 10 บทเรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางรับมือกับภัยน้ำท่วมของไทย
สสค.ชูบทเรียนสู้น้ำท่วม
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ประมวล 20 บทเรียนรู้ทันภัยพิบัติสึนามิและแผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่น จากแนวคิด เทคนิค และกระบวนการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติของครูทั่วโลก ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเครือข่ายการศึกษาเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์ เพื่อใช้เป็นแนวทางรับมือกับภัยน้ำท่วมของไทย
ยกตัวอย่าง 10 บทเรียน คือ
1.รู้ทันภัยพิบัติ ปูพื้นฐานให้นักเรียนเข้าใจจากภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น
2.เกาะติดสถานการณ์
3.ตามติดรูปแบบภัยพิบัติอย่างใกล้ชิด
4.สวมบทบาทเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ โดยให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิต เขียนจดหมายเล่าเรื่องภัยพิบัติที่ได้อ่าน หรือค้นคว้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
5.ใช้รูปภาพเป็นสื่อการเรียนรู้ ให้นักเรียนเล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย เพื่อ ให้เกิดความเข้าใจในภัยพิบัติดียิ่งขึ้น
6.คิดวิเคราะห์ผ่านข้อมูลที่ได้รับ โดยเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อส่งเสริมให้รายงานสถานการณ์ในพื้นที่ได้
7.ผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ร่วมกับเหตุการณ์ในอดีต เพื่อเรียนรู้รูปแบบการฟื้นฟูประเทศ
8.รำลึกถึงวิกฤตปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เปรียบเทียบการรั่วไหลของเตาปฏิกรณ์ฯฟูกูชิมะกับที่อื่นๆ ในอดีต
9.จำลองรูปแบบชีวิตหลังประสบภัยพิบัติ เรียนรู้การเอาชีวิตรอด
10.วางแผนรูปแบบการช่วยเหลือเยียวยาว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakk0TVRBMU5BPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB5T0E9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จำนวนและการดำเนินการทางคณิตศาสตร์
เลขฐานสิบ หรือ ทศนิยม (Decimal) หมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลข 10 ตัว คือ 0 - 9
สัญลักษณ์แทนเลขฐานสิบการเขียนจำนวนในรูปทศนิยมคือการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ ซึ่งมีสัญลักษณ์อยู่ 10 ตัว (0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9) และอาจมีการใช้ร่วมกับจุดทศนิยม สำหรับจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม และใช้สัญลักษณ์ + และ − เพื่อบอกค่าบวกและค่าลบ
เลขฐานสิบนี้เป็นเลขฐานปกติที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากมนุษย์มีสิบนิ้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีผู้ที่ใช้เลขฐานที่ไม่ใช่ฐานสิบ เช่น ชาวไนจีเรียใช้เลขฐานสิบสอง และชาวบาบิโลเนียนใช้เลขฐานหกสิบ และชาวเผ่ายูกิใช้เลขฐานแปด
สัญลักษณ์แทนเลขแต่ละหลักนั้น โดยทั่วไปจะใช้เลขอารบิก และเลขอินเดีย ซึ่งมาจากระบบเดียวกัน แต่มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน
การเขียนจำนวนจริงในรูปทศนิยม
เศษส่วนและทศนิยม เลขทศนิยมการเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม ทำได้โดยให้ตัวส่วนเป็นกำลังของสิบ
การเขียนทศนิยมนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนตัวส่วนเหมือนเศษส่วน แต่ใช้เครื่องหมายจุดทศนิยม (อาจต้องเพิ่ม 0 ด้านหน้า ถ้าจำเป็น) และตำแหน่งของตัวเลขจะเกี่ยวข้องกับส่วน ที่เป็นกำลังของสิบ สามารถเขียนได้เป็น 0.8,8.33,0.083,0.0008 และ 0.008 ตามลำดับ จำนวนที่เขียนได้ในลักษณะนี้ เป็น เลขทศนิยม
ส่วนที่เป็นจำนวนเต็มและเศษส่วน จะถูกแยกกันด้วยเครื่องหมายจุดทศนิยม ซึ่งเราใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (.) แทนจุดทศนิยม ถ้าจำนวนนั้นเป็นเศษส่วนที่น้อยกว่าหนึ่ง เราจำเป็นต้องใส่ 0 นำหน้า (กล่าวคือ เรานิยมเขียน 0.5 มากกว่า .5) เลขศูนย์ตามท้ายทศนิยมถือว่าไม่จำเป็นในทางคณิตศาสตร์นั่นคือ 0.080 และ 0.08 มีความหมายเหมือนกันในทางคณิตศาสตร์ แต่ในทางวิศวกรรม 0.080 บอกว่า อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินหนึ่งในพัน แต่ 0.08 อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินหนึ่งในร้อย การเขียนเลขอื่นๆ ในรูปทศนิยมจำนวนอื่นๆ ที่ไม่อาจเขียนได้อยู่ในรูปทศนิยมที่มีจุดสิ้นสุด เราจะเขียนจำนวนเหล่านี้ได้ในรูปทศนิยมซ้ำ
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A
แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ค่าประจำหลัก จำนวน 10 ข้อ
คำสั่ง เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. 35784 5 มีค่า = .........
2. 786475 8 มีค่า =........
3. 547973 5 มีค่า =........
4. 9875310 7 มีค่า = ........
5. 3924781 1 มีค่า =........
6. 104583 4 มีค่า =........
7. 6489 6 มีค่า =........
8. 320768 2 มีค่า =.......
9. 387956 7 มีค่า = ........
10. 789642 7 มีค่า =.........
ที่มาของข้อมูล https://www.thachai.com/ict/QMath/pir_06_1/1-40/m3.html
แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำ ตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ผลบวกของ 10.9 + 21.05 ตรงกับข้อใด
ก. 21.95
ข. 31.95
ค. 11.55
ง. 18.95
2. ผลบวกของ ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด
ก -1.47
ข -0.17
ค -1.77
ง. 1.77
3. ผลบวกของ 2.5 + ( - 0.735 ) ตรงกับข้อใด
ก. 1.765
ข. 2.710
ค. 1.755
ง. 0.755
4. ผลบวกของ ( - 9.46 ) + 6.75 ตรงกับข้อใด
ก - 2.35
ข -1.75
ค. 2.175
ง. -2.71
5. ผลบวกของ 6.07 + 0 ตรงกับข้อใด
ก. 60.7
ข. 6.07
ค. 6
ง. 7.07
6. ผลบวกของ 0 + ( -13.48 ) ตรงกับข้อใด
ก. 13.48
ข .-13.48
ค. 11.38
ง. 1.83
7. ผลบวกของ 17.3 + ( -12.69 ) + ( -7.31 ) ตรงกับข้อใด
ก. -2.69
ข. 2.69
ค. 12.37
ง. 14.58
8. ผลบวกของ 63.02 - ( - 86.38 ) ตรงกับข้อใด
ก. 140.40
ข. 149.40
ค. 23.02
ง. 22.32
9. ผลบวกของ ( - 125.17 )- ( - 72.9 ) ตรงกับข้อใด
ก. 25.27
ข. 52.72
ค. - 52.27.
ง. 15.25
10. ผลบวกของ ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด
ก .63.55
ข. 35.63
ค. 65.28
ง. 56.82
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/pretest.html
โจทย์ปัญหาเศษส่วน ทศนิยม
1.ศักดิ์ขับรถยนต์ไปพบสิทธิ์ ณ ที่นัดหมายแห่งหนึ่ง เขาเริ่มออกเดินทางเมื่อเวลา 7.45 น. หน้าปัดแสดงระยะทางในรถยนต์ปรากฏตัวเลข 48106.4 กิโลเมตร เขาขับรถไปโดยไม่หยุดพักและไปถึงที่หมายเมื่อเวลา 11.30 น. ตัวเลขแสดงระยะทางที่หน้าปัดเปลี่ยนเป็น 48434.9 กิโลเมตร จงหาว่าในการเดินทางครั้งนี้ ศักดิ์ขับรถยนต์โดยเฉลี่ยชั่วโมงละกี่กิโลเมตร
2.แม่ค้าซื้อไข่มาจำนวนหนึ่งราคาฟองละ 1.45 บาท แล้วขายไปฟองละ 1.75 บาท ให้เพื่อนบ้านไป 12 ฟอง ขายไข่ที่เหลือทั้งหมดยังได้กำไรอีก 39 บาท จงหาว่าแม่ค้าซื้อไข่มาทั้งหมดกี่ฟอง
ที่มาของข้อมูล https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=9827
คำถามในห้องเรียน
จากแนวคิด เทคนิค และกระบวนการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติของญี่ปุ่นใช้เป็นแนวทางรับมือภัยน้ำท่วม นักเรียนคิดอย่างไรแล้วนำมาใช้กับประเทศไทยได้มากน้อยอย่างไรอธิบาย
ข้อเสนอแนะ
จาก 20 บทเรียนรู้ทันภัยพิบัติสึนามิและแผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่น นำมาประยุกต์ใช้และให้เหมาะสมกับสภาพของภูมิอากาศและความเป็นอยู่ของประเทศไทยก็ดีเหมือนกัน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/number0(1).jpg
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/teacher1/p480.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thaihealth.or.th/files/u1490/Untitled-2_60.jpg
ที่มาของภาพ https://www.gustotour.com/info_asia/japan/images/japan.jpg
ที่มาของภาพ https://travel.thainn.com/321.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4429