การที่รากดลิฟท์ 1 ครั้งเท่ากับการเปิดหลอดไฟนีออน 500 ดวง หรือกดลิฟท์ครั้งละ 7 บาท
กดลิฟท์ 1 ครั้ง เปิดหลอดไฟนีออน 500 ดวง
การที่รากดลิฟท์ 1 ครั้งเท่ากับการเปิดหลอดไฟนีออน 500 ดวง หรือกดลิฟท์ครั้งละ 7 บาท
อยากหุ่นดีต้องไม่ง้อลิฟท์แถมเป็นการช่วยประหยัดพลังงานของชาติ
การลดใช้พลังงาน ลิฟท์
ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์
จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท
การประหยัดพลังงาน เริ่มต้นตั้งแต่วิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณเอง ยิ่งใช้อย่าง ถูกวิธี ยิ่งประหยัด และประหยัดมากขึ้นเมื่อ มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงบ้าง
ลิฟท์
1. ควรใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว
2. ควรตั้งโปรแกรมให้ลิฟท์หยุดเฉพาะชั้นคี่หรือชั้นคู่ เนื่องจากลิฟท์ใช้ไฟฟ้ามากในขณะออกตัว
3. ก่อนปิดประตูลิฟท์เหลียวดูสักนิดหาเพื่อนร่วมทาง เพื่อช่วยกันประหยัดไฟฟ้า
ให้ดูแลเรื่องการใช้ลิฟท์ของหน่วยราชการ โดยให้หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์กรณีขึ้นลง เพียงชั้นเดียว หรือจัดการให้ระบบลิฟท์ สามารถหยุดได้ชั้นเว้นชั้น และควรหาวิธีปรับปรุงลิฟท์ ให้สามารถตัดไฟได้อัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานเป็นเวลานาน ควรใช้บันไดกรณีขึ้น-ลง ชั้นเดียว
ควรตั้งโปรแกรมลิฟท์ให้จอดเฉพาะชั้นคี่ หรือ ชั้นคู่ เพราะลิฟท์ใช้ไฟมากในขณะออกตัว
เนื้อหาคณิตศาสตร์ การคำนวณการประหยัดพลังงาน
ข้าพเจ้าได้ไปอยู่โรงพยาบาลตำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อรักษาสามีประมาณ 5 เดือนอยู่ตึกเฉลิมพระเกียรติชั้น 6 ที่ต้องใช้ลิฟท์ขึ้นลงทุกวัน
และอ่านที่ลิฟท์เขียนไว้ว่า กดิฟท์ 1 ครั้งเท่ากับเปิดไฟ 500 ดวงหรือครั้งละ 7 บาท ข้าพเจ้าขึ้นลงไม่ตำกว่า 6 ครั้งทุกวันเพราะซื้ออาหาร ของใช้
ข้าพเจ้าพยายามรอให้มาครั้งละหลายคนเป็นประจำ
วิธีคิด
ข้าพเจ้ากดลิฟท์วันละ 6 ครั้ง ครั้งละ 7 บาท เป็นเงิน 6 × 7 = 42 บาท
ในเวลา 1 เดือน คิดเป็นเงิน 42 × 30 = 1260 บาท
ในโรงพยาบาลเฉพาะตึกเฉลิมพระเกียรติมีจำนวน 18 ชั้น และมีคนอยู่จำนวนมากในการขึ้นลงในแต่วันจึงใช้ลิฟท์มาก
สมมติวันละ 1000 ครั้ง 1000 × 7 = 7000 บาท
ในเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 7000 × 30 = 210,000 บาท
ค่าผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 1 หน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) คือ 2.2 บาท
หรือกดลิฟท์ 1 ครั้ง 500 ดวง หรือ 7 บาท ประมาณ 3 หน่วยกว่า
คำถามชวนคิด
1. ถ้าทุกคนลดใช้การใช้ลิฟท์ในแต่วัน คนละ 1 ครั้ง/วันคิดเป็นเงินเท่าไร ( 60ล้านคน )
2. ถ้าเรากดลิฟท์วันละ 10 ครั้งเท่ากับเราเปิดไฟกี่ร้อยดวง
บูรณาการกับวิชาอื่น วิทยาศาสตร์ การลดการใช้พลังงาน พละศึกษา การออกกำลังกาย สังคมศึกษา การประหยัด
ที่มา เอกสารเผยแพร่ : ชุดสาระน่ารู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
https://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html
จัดทำโดย นางบุญส่ง ใหญ่โต ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4422