แบรด พิตต์ ทุ่มเงิน


1,418 ผู้ชม


ซื้อรถถังให้ลูกเล่น   

แบรด พิตต์ ทุ่มเงินซื้อรถถังให้ลูกเล่น แบรด พิตต์ ทุ่มเงิน
 
ยอดคุณพ่อแห่งฮอลลีวู้ด ทุ่มเท สรรหา สิ่งของมาปรนเปรอลูกๆ ทั้ง 6 คน ล่าสุดทุ่มเงินซื้อของเล่นชิ้นใหญ่ยักษ์อย่างรถถังรัสเซีย T-54 โดยรถถังคันนี้ เป็นของประกอบฉากในหนัง เรื่อง ซอมบี้ World 
War Z ตอนนี้รถถังไปตั้งไว้ที่บ้านในลอสแองเจลิส
รถถัง T-54/55 เป็นประเภทรถถังที่ได้รับการผลิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วย โดยคาดว่ามีการผลิตรถถัง 2 รุ่น ถึง 86,000-110,000 คัน
ที่มาของข้อมูล https://www.komchadluek.net/detail/20111116/115062/แบรดพิตต์ทุ่มเงินซื้อรถถังให้ลูกเล่น.html


คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

อัตราส่วน สัดส่วนและเปอร์เซ็นต์ ( Ratio, Proportion and Percent )
ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ หรือการจัดกระทำกับข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้อยู่ในลักษณะที่เป็นค่าของอัตราส่วน สัดส่วน และเปอร์เซ็นต์ เพื่อที่จะใช้ในการเปรียบเทียบและสรุปผลทางสถิติได้ง่าย
และสะดวกที่จะนำไปใช้ต่อไป
อัตราส่วน ( Ratio )
อัตราส่วนเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลประเภทเดียวกันหรืออย่างเดียวกัน อาจจะเป็นลักษณะที่มีหน่วยเดียวกัน เช่น การเปรียบเทียบคะแนนสอบของนักศึกษา รายได้ของประชากร ผลผลิตการเกษตร จำนวนนัก
ศึกษา เป็นต้น
ลักษณะของอัตราส่วนจะอยู่ในรูปของเศษส่วน เช่น a/bหรืออาจจะอยู่ในรูป a:b (เรียกว่า a ต่อ b หรืออัตราส่วน a ต่อ b โดยมี เป็นฐาน (base))
ตัวอย่างที่ 1
3/4 เรียกว่า  3 ต่อ 4 หรือ 3:4 มี 4 เป็นฐาน
5/2 เรียกว่า 5 ต่อ 2 หรือ 5:2 มี 2 เป็นฐาน
ถ้าเปรียบเทียบกับฐาน 100 เรียกว่า ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต
การเปรียบเทียบข้อมูล
ในปีการศึกษา 2537 วิทยาลัยแห่งหนึ่งมีจำนวนนักศึกษา 5,200 คน โดยมีเพศชายจำนวน 1,550 คน และเพศหญิงจำนวน 4,650 คน จำนวนนักศึกษาของวิทยาลัยแห่งนี้จะมีอัตราส่วนของเพศชายต่อเพศหญิง
จะเป็น 1,550:4,650 หรือ 1:3 ซึ่งเป็นการเปรียบจำนวนของนักศึกษาอย่างเดียว
ในปี พ.ศ 2535 การส่งออกสินค้าชนิดหนึ่ง 120 คิดเป็นมูลค่า 240 ล้านบาทในปี พ.ศ 2536 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 360 ลานบาท และในปี พ.ศ 2537 ส่งออก 200ล้านบาท มูลค่าการส่งออกของสินค้าชนิดนี้
จะมีอัตราส่วนของปี 2533,2536 และปี 2537 จะเป็นดังนี้120:240:360 หรือ 1:2:3ลักษณะของอัตราส่วนที่เปรียบความสัมพันธ์ของข้อมูลชนิดต่อหนึ่งหน่วยของข้อมูลชนิดหนึ่ง เรียกว่า อัตรา ( Rate ) เช่นเปรียบเทียบระยะทางกันหนึ่งหน่วยของเวลาคือ อัตราความเร็วเปรียบเทียบรายได้ของประชากรต่อเวลาหนึ่งเดือนเป็น อัตราเงินเดือน
ตัวอย่าง 2
เชิงชายขับรถจากกรุงเทพฯ เพื่อไปชมการแข่งขันซีเกมส์ที่เชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทาง 970 กิโลเมตร เขาใช้เวลาในการเดินทาง 10 ชั่วโมง ดังนั้นเชิงชายขับรถไปเชียงใหม่ด้วยอัตราความเร็ว 97 ก.ม. / 
ช.ม.
สัดส่วน ( Proportion )
แบรด พิตต์ ทุ่มเงินสัดส่วนจะมีลักษณะเป็นอัตราส่วนประเภทหนึ่ง แต่เป็นอัตราส่วนระหว่างส่วนหนึ่งของข้อมูลต่อข้อมูลทั้งหมด ฉะนั้นสัดส่วนจะมีค่าน้อยกว่าหนึ่งเสมอ เช่น a และ b เป็นข้อมูลของประชากร คือ กลุ่มหนึ่งมีข้อมูล a 
หน่วย และกลุ่มที่สองมีจำนวนข้อมูล b หน่วย ประชากรทั้งหมด คือ a + b
สัดส่วนของกลุ่มที่ 1 คือ a/(a+b)
สัดส่วนของกลุ่มที่ 2 คือ b/(a+b)
ตัวอย่างที่ 3 ในการสมัครนักศึกษาสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีของสถาบันแห่งหนึ่ง มีผู้สมัครจำนวน 1,506 คน โดยมีเพศชายจำนวน 502 คน เพศหญิงจำนวน 1,004 คน นำมาหาสัดส่วนได้ดังนี้
สัดส่วนของเพศชาย = 502/1506 = 1/3
สัดส่วนเพศหญิง   = 1004/1506 = 2/3 
  
เปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ เป็นลักษณะของอัตราส่วนที่เป็นสัดส่วนชนิดหนึ่งซึ่งเปรียบต่อ 100 ซึ่งในการคำนวณก็สามารถทำได้โดยการนำเอา 100 ไปคูณอัตราส่วนที่ต้องการหา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเปอร์เซ็นต์หรือ
ร้อยละของจำนวนข้อมูล
ตัวอย่างที่ 4 
ในปี พ.ศ 2537 บริษัทนำชัยการไฟฟ้า ได้จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่ารวม 160 ล้านบาท โดยแยกเป็น โทรทัศน์ 70 ล้านบาท วิทยุเทป 50 ล้านบาท ตู้เย็น 30 ล้านบาท พัดลม 10 ล้านบาท เรา
สามารถหาเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของการจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
จำหน่ายโทรทัศน์ = (70 x 100) / 160 = 43.75 เปอร์เซ็นต์
จำหน่ายวิทยุเทป = (50 x 100) / 160 = 31.25 เปอร์เซ็นต์
จำหน่ายตู้เย็น = (30 x 100) / 160 = 18.75 เปอร์เซ็นต์
จำหน่ายพัดลม = (10 x 100) / 160 = 6.25 เปอร์เซ็นต์
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/2.11.html
อัตราส่วน แบรด พิตต์ ทุ่มเงิน
          ข้อความแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ข่าวกีฬารายงานว่า "การแข่งขันวอลเลย์บอลของจังหวัดพัทลุง  ทีมเทศบาลชนะทีมจังหวัด  3  ต่อ  2  เซต"  ซึ่งข้อความ
แสดงการเปรียบเทียบจำนวนเซตที่ชนะของทีมเทศบาลและทีมจังหวัด
          ในตลาดนัดอาจได้ยินแม่ค้าร้องขายของว่า "ผักทุกอย่าง  3  กำ  10  บาท" ซึ่งเป็นข้อความแสดงการเปรียบเทียบปริมาณผักกับราคา
           อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ b   เขียนแทนด้วย a:b หรือ a/b  เรียก  a ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน  และเรียก b ว่าจำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน  อัตราส่วน a ต่อ 
 b  จะพิจารณาเฉพาะในกรณีที่  a ต่อ  b  เป็นจำนวนบวกเท่านั้น
          ตำแหน่งของจำนวนในแต่ละอัตราส่วนมีความสำคัญ  กล่าวคือ a ไม่เท่ากับ b  อัตราส่วน a:b ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับอัตราส่วน  b:a เช่น  อัตราส่วนของปริมาณผักเป็นกำต่อราคาเป็นบาทเป็น  3:10 
 ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับ  10:3  ทั้งนี้เพราะอัตราส่วน 3:10  หมายถึงปริมาณผัก  3  กำ  ราคา  10  บาท  ในขณะที่อัตราส่วน 10:3  หมายถึง ปริมาณผัก  10  กำ  ราคา  3  บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.sopon.ac.th/sopon/math/anong/a1/Index/P01.htm
แบบฝึกหัด อัตราส่วนอย่างต่ำ
จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ  
1.   64:48                               
2.   50 : 130                           
3.   0.5 : 1.5                           
4.   0.02 : 0.002                     
5.   1.5 : 30                            
ที่มาของข้อมูล https://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project006/rate/lessonratio3.htm
แบบฝึกหัด อัตราส่วนที่เท่ากัน
1. จงพิจารณาประโยคต่อไปนี้ ว่าข้อใดถูกและข้อใดผิด 
1.1      8 : 24 = 1 : 2                  
1.2     4 : 7 = 8 : 14                     
1.3     7 : 21 = 12 : 28                
1.4     5 : 6 = 15 : 18                   
1.5     6 : 7 = 16 : 17                
2. จงเติมจำนวนลงในช่องว่างเพื่อให้อัตราส่วนเท่ากัน 
2.1   1 : 3  = .....  : 30                                             
2.2   .....  : 5  =  6 : 30                                           
2.3   2 : 3  = .....  : 9                                              
2.4   3 : .....  =  9 : 27                                          
2.5   8 : 12  = 24 : .....                                         
ที่มาของข้อมูล https://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project006/equalration/lessonequal1.htm
คำถามในห้องเรียน
กำหนดให้ อัตราส่วนรถถังของจริงต่อของเล่นเป็น 10  : 2 ถ้ารถของเล่นเป็น 10 แล้วของจริงจะมีขนาดเท่าไร
แบรด พิตต์ ทุ่มเงินข้อเสนอแนะ
ถ้าของเล่นที่ดีนั้นสร้างจินตนาการอย่างหลากหลายให้เด็ก  ดังนั้นของเล่นควรเหมาะสมกับเพศและวัยของเด็กด้วยยิ่งดี
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษา
ประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                      
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
ที่มาของภาพ https://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2011/11/15/5a6ajfhje7bbbcjebjb8a.jpg
ที่มาของภาพ https://e2.s1sf.com/cl/0/ui/category/2011/02/17/1/b/7821711_1.jpg
ที่มาของภาพ https://hot.popcornfor2.com/uploads/assets/user_15804/554000003808807.jpg
ที่มาของภาพ https://kettyjung.files.wordpress.com/2010/09/3.jpg
ที่มาของภาพ https://uc.exteenblog.com/linjah/images/headspaceconc.JPG

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4469

อัพเดทล่าสุด