จุดด้อย เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.


987 ผู้ชม


ยกร่างชู 5 ข้อ เน้นคุณภาพ-จรรยาบรรณ   

จุดด้อยเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.
ยกร่างชู 5 ข้อ เน้นคุณภาพ-จรรยาบรรณ

จุดด้อย เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ก.ค.ศ.ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ 2 หลักเกณฑ์ คือ 
1.มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้ขอรับการประเมิน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และพิจารณาผลงานทางวิชาการที่ผู้นั้นใช้พัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน 
2.พิจารณาจากคุณภาพและประโยชน์ของผลงานเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับรางวัลสูงสุดะดับชาติขึ้นไป 
โดยทั้ง 2 หลักเกณฑ์ยังมีข้อด้อยที่ควรนำมาแก้ไข เช่น การจ้างทำผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงาน ครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น แต่คุณภาพผู้เรียนต่ำลง เป็นต้น
ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงมีนโยบายในการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ และการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดย ก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ดังนี้ 
1.ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสนอข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน และผลที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้ จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน 
2.ให้ราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอข้อตกลงในการพัฒนางาน เช่น กำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการครูฯที่ทำงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น
จุดด้อย เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.3.กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการทำงาน มุ่งเน้นวิธีการประเมินตามจริง ณ สถานที่ทำงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมิน เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะดังนี้ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 3 ปี 
4.เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน เช่น ให้ผู้ปกครอง ชุมชน ชมรมทางวิชาการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน 
5.ก.ค.ศ.หรือส่วนราชการที่ก.ค.ศ.มอบหมาย จะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการให้ส่วนราชการต่างๆ ยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามกรอบแนวทางดังกล่าว ซึ่งคาดว่าการประเมินวิทยฐานะตามแนวทางนี้ จะสามารถแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้ และจะเป็นปัจจัยในการเสริมคุณภาพการศึกษา
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEU1TURFMU5RPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4T1E9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
พิสัย (Range) คือ ค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนสูงสุดกับคะแนนต่ำสุดในข้อมูลชุดหนึ่งๆ ซึ่งใช้วัดการกระจายของข้อมูลได้ไม่ละเอียด อาจจะทำให้เข้าใจลักษณะของข้อมูลคลาดเคลื่อนไปเพราะพิสัยจะใช้เฉพาะคะแนนสูงสุดเท่านั้น
พิสัย = ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด

ตัวอย่าง  จงหาพิสัยของ 5, 8, 9, 11, 13, 14, 18, 19, 20
ข้อมูล 5, 8, 9, 11, 13, 14, 18, 19, 20 
พิสัย = 20 – 5
        = 15
ค่าพิสัย คือ 15 แสดงว่าข้อมูลชุดนี้มีการกระจาย

ตัวอย่าง จงหาพิสัยของ 10, 10, 10,10, 10, 10, 10,10 
ข้อมูล 10, 10, 10,10, 10, 10, 10,10 
พิสัย = 10 – 10
        = 0
ค่าพิสัย คือ 0 แสดงได้ว่าข้อมูลชุดนี้ไม่มีการกระจาย (ข้อมูลเท่ากันหมด)

จุดด้อย เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.จงหาพิสัยของ 2, 4, 8, 16, 32, 64, 128 
ข้อมูล 2, 4, 8, 16, 32, 64, 128 
พิสัย = 128 – 2    = 126
ค่าพิสัย คือ 126 แสดงว่าข้อมูลนี้มีการกระจายมาก

จงหาพิสัยของ 30, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 
ข้อมูล 30, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 
ค่าพิสัย = 60 –30   = 30
ค่าพิสัย คือ 30

จงหาพิสัยของ 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 
ข้อมูล 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 
ค่าพิสัย = 60 –51   = 9
ค่าพิสัย คือ 9

สังเกตที่ข้อมูลทั้ง 2 ชุด มีลักษณะคล้ายคลึงกันจะแตกต่างกันที่ข้อมูลตัวแรกเท่านั้นแต่ว่าค่าพิสัยจะมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งค่าพิสัยนี้ไม่สามารถที่จะอธิบายลักษณะของข้อมูลได้อย่างชัดเจน

ข้อสังเกต 
จุดด้อย เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครู ก.ค.ศ.1. ค่าพิสัยที่ได้เป็น 0 แสดงว่าข้อมูลไม่มีการกระจาย (ค่าเท่ากันหมด) 
2. ถ้าคำนวณได้ค่าพิสัยน้อย แสดงว่าข้อมูลมีการกระจายน้อย 
3. ถ้าคำนวณได้ค่าพิสัยมาก แสดงว่าข้อมูลมีการกระจายมาก 
4. ข้อมูลที่คล้ายคลึงกันอาจมีค่าพิสัยแตกต่างกันมากก็ได้ เพราะคำนวณจากตัวเลขเพียง 2 ค่า โดยเฉพาะถ้ามีข้อมูลมาก หรือ ค่าของข้อมูลค่าใดค่าหนึ่งมากหรือน้อยมากกว่าค่าของข้อมูลทั้งกลุ่มมาก 
5. ค่าพิสัยเหมาะสำหรับใช้วัดการกระจายของข้อมูลที่มีจำนวนน้อย 
6. ใช้เปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลหลายๆ ชุด อย่างคร่าวๆ 
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.6.html
คำถามในห้องเรียน
1. จากส่วนหนึ่งของ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ผลงานทางวิชาการที่ใช้พัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน คุณภาพและประโยชน์ของผลงานเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับรางวัลสูงสุดะดับชาติขึ้นไป 
นักเรียนคิดว่านำค่าพิสัยมาใช้ในเรื่องนี้ได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
สิ่งสำคัญที่สุดผลการประเมินเป็นรูปธรรมแต่รูปแบบการประเมินและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นนามธรรมควรมีมาตรฐานเดียวกันหรือไม่อย่างไร

การบูรณาการกับกลุ่มสาระต่างๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน  ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
สาระที่ ๒ การเขียน 
มาตรฐาน ท ๒.๑  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ                 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน  ส ๒.๑  เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                    
มาตรฐาน  ส ๒.๒  เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  ๒ ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  พ ๒.๑  เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

ที่มาของภาพ https://www.banpukkroo.com/news1/picture/0091_0.gif
ที่มาของภาพ https://www.kroobannok.com/news_pic/pic/p86714470041.jpg
ที่มาของภาพ https://education.tlcthai.com/wp-content/uploads/old_wb/headline118801.jpg
ที่มาของภาพ https://www.watpon.com/Elearning/image/image6.gif
ที่มาของภาพ https://dc226.4shared.com/doc/YPCODras/preview_html_m7f566bda.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4569

อัพเดทล่าสุด