เสนอ ครม. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต


980 ผู้ชม


การประชุมเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี   

รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยมีประเด็นข้อเสนอ ดังต่อไปนี้
เสนอ ครม. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต• การจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) เนื่องจากการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุต้องใช้ระยะเวลาและเงื่อนไขการดำเนินการ อาจทำให้ไม่สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ให้นักเรียนใช้ได้ทันภายในปี ๒๕๕๕ อีกทั้งกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ลงนามบันทึกว่าด้วยความร่วมมือในสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย กับนายสี่จิ้น ผิง รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อครั้งเดินทางเยือนไทย เมื่อวันที่ ๒๒-๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งการจัดซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเป็น ๑ ใน ๔ สาขาความร่วมมือด้วย นอกจากนี้ ไทยกับจีนยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างยาวนาน และจีนก็ยังเป็นประเทศที่ผลิตคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตได้ดีที่สุด ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบการจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) กับจีน
• การรวมงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินนโยบาย ๑ คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ ๑ นักเรียน
• ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นผู้จัดหาและดูแลคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการเจรจาและจัดซื้อได้ดี และ ICT ยังเป็นหน่วยงานที่ดูแลในด้านเครือข่ายและวางระบบความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตด้วย
สำหรับข้อเสนอของ ศธ.ที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความเห็นไว้ว่า ไม่เข้าข่ายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งระบุสาระสำคัญในเรื่องการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อการค้า การลงทุน หรืองบประมาณระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
ที่มาของข้อมูล https://www.moe.go.th/websm/2012/feb/053.html
ที่มาของภาพ https://www.moe.go.th/websm/2012/feb/DSC_1866.JPG
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของฟังก์ชัน
 จากความรู้เรื่องความสัมพันธ์ที่เรียนมาแล้ว พิจารณาความสัมพันธ์ต่อไปนี้ 
เสนอ ครม. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต1. กำหนดให้
r1 = { (0,1), (1,2), (2,3), (1,1), (0,4) } 
r2 = { (0,3), (1,1), (2,1), (3,4) } 
ฟังก์ชัน 1 - 1 ( One - to - one function )
เป็นฟังก์ชันแบบ 1 - 1  ก็ต่อเมื่อ สมาชิกในเรนจ์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในโดเมนเพียงตัวเดียวเท่านั้น
การตรวจสอบว่าเป็นฟังก์ชัน แบบ 1-1 หรือไม่ โดย
1.ลากเส้นขนานกับแนวแกน x ตัดกราฟฟังก์ชัน 1 จุด เป็นฟังก์ชัน 1-1
ถ้าตัดกราฟฟังก์ชันมากกว่า 1 จุด ไม่เป็นฟังก์ชัน 1-1
2.ตรวจสอบใช้หลักที่ว่า  กำหนดให้ (a , c) เป็นสมาชิกของ  f และ (b , c) เป็นสมาชิกของ f 
เราสามารถสรุปได้ว่า a = b ก็แสดงว่าความสัมพันธ์เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1
ฟังก์ชันไปทั่วถึง(onto function)
ถ้า f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B  จะเรียก f  ว่าเป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B  ก็ต่อเมื่อ R= B
การจับคู่ระหว่างสมาชิกในโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ rและ r2 มีข้อแตกต่างกันคือ
ใน r1 มีคู่อันดับที่สมาชิกตัวหน้าเหมือนกัน แต่สมาชิกตัวหลังต่างกัน คือ (0,1) กับ (0,4) และ 
(1,1) กับ (1,2) ส่วนใน r2 สมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับไม่เหมือนกันเลย นั่นคือแต่ละสมาชิกในโดเมนของ r2 จะจับคู่กับสมาชิกในเรนจ์ของ r2 เพียงตัวเดียวเท่านั้น 
ความสัมพันธ์ที่เขียนแบบแจกแจงสมาชิกนั้น ถ้าสมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับไม่เหมือนกันเลย สรุปได้ว่าความสัมพันธ์นั้นเป็นฟังก์ชัน การพิจารณาว่าความสัมพันธ์ r ซึ่งเขียนแบบบอกเงื่อนไข 
เป็นฟังก์ชันหรือไม่อาจใช้วิธีการดังนี้ 
ตัวอย่างที่ 1 จงแสดงว่า f = { (x,y) | y = x2 + 1} เป็นฟังก์ชัน
ตัวอย่างที่ 2 จงแสดงว่า f= {(x,y) | y = x2+1 } เป็นฟังก์ชัน 
ตัวอย่างที่ 3 จงพิจารณาว่า g = { (x,y) | y2 = x } เป็นฟังก์ชันหรือไม่
ตัวอย่างที่ 4 จงพิจารณาจากกราฟของ r = { (x,y) | y = 2 } ว่า r เป็นฟังก์ชันหรือไม่ 
ตัวอย่างที่ 5 จากกราฟของ r = { (x,y) | y2 = x } จงพิจารณาว่า r เป็นฟังก์ชันหรือไม่
สำหรับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นฟังก์ชัน เราสามารถหาสับเซตของความสัมพันธ์นั้นที่เป็นฟังก์ชันได้ เช่น จากความสัมพันธ์ r = { (x,y) | y2 = x }
สามารถหาสับเซตของ r ที่เป็นฟังก์ชันได้ 
วิธีการตรวจสอบว่าเป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือไม่ 
1. ถ้ากำหนดฟังก์ชันแบบแจกแจงสมาชิก 
วิธีการตรวจสอบ "ให้ดูที่สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ"
ถ้าไม่ซ้ำกัน แสดงว่าฟังก์ชันเป็นแบบ1-1
ถ้ามีซ้ำกัน แสดงว่าไม่ใช่ฟังก์ชัน 1-1
ตัวอย่างโจทย์ f(1) = {(1,2),(1,3),(2,2),(3,4)} 
จะเห็นว่ามีสมาชิกอยู่ 2 คู่ ที่มีสมาชิกตัวหลังซ้ำกัน สรุปได้ว่าไม่ฟังก์ชันเป็นแบบ 1-1
2. ถ้ากำหนดแบบบอกเงื่อนไข
วิธีตรวจสอบ "ให้สมมติให้ค่า y ที่อยู่ในเรนจ์ของฟังก์ชันนั้นขึ้นมา 1 ค่า แทนลงในเงื่อนไขของฟังก์ชันแล้วหาค่า x ออกมา" 
ถ้าได้ค่า x ค่าเดียว แสดงว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นแบบ 1-1
ถ้าได้ค่า x มากกว่า 1 ค่า แสดงว่าไม่เป็นแบบ 1-1
ตัวอย่างโจทย์ 
f(x) = x 2+2x-2 วิธีทำให้สมมติค่า f(x) = y =1 เมื่อแทนค่าแล้วจะได้ x=-3,1 ซึ่งแสดงว่า
เงื่อนไขนี้ไม่เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1
3. ถ้ากำหนดเป็นกราฟ
วิธีการตรวจสอบ "ให้ลากเส้นตรงตั้งฉากกับแกน y ตัดกราฟของฟังก์ชันนั้น"
ถ้าตัดกราฟเพียงจุดเดียว แสดงว่าเป็นฟังก์ชัน 1-1
ถ้าตัดกราฟมากกว่า 1 จุด แสดงว่า ไม่เป็นฟังก์ชัน 1-1  f เป็งฟังก์ชันจาก A ไป B หรือไม่

เสนอ ครม. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
1. หา D f 
ถ้า D  .A สรุปได้ว่า f ไม่เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B 
ถ้า D f =.A ยังสรุปไม่ได้ต้องพิสูจน์ต่อไปว่า
2. หา R f 
ถ้า Rf  B สรุปได้ว่า f ไม่เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B 
ถ้า R B สรุปได้ว่า f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B 
 วิธีการตรวจสอบว่า f เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B หรือไม่
1. หา Df 
ถ้า D A สรุปได้ว่า f ไม่เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B
ถ้า Df =.A ยังสรุปไม่ได้ต้องพิสูจน์ต่อไปว่า
2. หา R f 
ถ้า Rf  B สรุปได้ว่า f ไม่เป็นฟังก์ชัน A ไปทั่วถึง B
ถ้า R= B สรุปได้ว่า f ไม่เป็นฟังก์ชัน A ไปทั่วถึง B
ที่มาของข้อมูล https://dit.dru.ac.th/function/detial1.html
คำถามในห้องเรียน
การจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) เป็นฟังก์ชันแบบใดบ้าง ให้เหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
การจัดหาคอม แบบ รัฐต่อรัฐ (G to G) ควรโปร่งใสทุกรุปแบบ ทุกขั้นตอน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1    เข้าใจ   เห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้    การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 3  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1     ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา  แสวงหาความรู้  และเปิดโลกทัศน์ของตน
ที่มาของภาพ https://blog.eduzones.com/images/blog/surasit/20090719134037.jpg
ที่มาของภาพ https://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/math/function/pic/graph2.gif
ที่มาของภาพ https://kruaun.files.wordpress.com/2011/06/20090719131351.jpg
ที่มาของภาพ https://www.moe.go.th/websm/2012/jan/DSC_0106.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4609

อัพเดทล่าสุด