หารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.


897 ผู้ชม


จะปรับเปลี่ยนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็น "กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต" (กรอ.)   

หารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.

          หารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมหารือกับนายแพทย์ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) แทนกองทุน กยศ. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ

รมว.ศธ.กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะดูแลนักเรียนนักศึกษาทุกคน เหมือนกับดูแลลูกหลานของตนเอง จึงต้องการจะเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา และวัตถุประสงค์ของกองทุนด้านการศึกษา เพื่อสร้างคนที่จะมาเป็นอนาคตของชาติ และต้องการสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนจบการศึกษา เพื่อมาเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
จึงได้มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็น "กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต" (กรอ.) เพราะที่ผ่านมากฎระเบียบของ กยศ.มีลักษณะไม่ยืดหยุ่น มีการทวงถามทันที ถ้าไม่ชำระเงินคืนตามที่กำหนด ก็ตามมาด้วยการฟ้องร้องตามกฎหมาย จึงทำให้ผู้กู้เกิดความเครียดและกดดัน เนื่องจากบางรายไม่มีเงินใช้คืนเพราะไม่มีงานทำ ศธ.จึงต้องการปรับเปลี่ยนการกู้ยืมเป็น กรอ. โดยจะชำระเงินคืนเมื่อมีงานทำและมีเงินเดือนถึงระดับที่กำหนด ซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นด้วยและได้ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

- ออกระเบียบเงินกู้ยืม กรอ.  โดยเน้นที่คุณภาพเป็นสำคัญ และจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกู้เรียนได้ทุกสาขาวิชา โดยจะเริ่มใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 สำหรับบางสาขาวิชาที่มีผู้เรียนจำนวนมาก จะนำคุณภาพของสถาบันการศึกษามาประกอบการพิจารณาด้วย

- รายการกู้ยืม  โดยจะเปิดให้กู้ 3 ส่วน ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยในส่วนของค่าครองชีพ มีข้อกำหนดว่า ครอบครัวของผู้กู้จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 3000,000 บาทต่อปี และจะต้องมีการรับรองรายได้ของครอบครัวด้วย สำหรับค่าเล่าเรียนอาจจะต้องตรวจสอบก่อนว่า สถาบันการศึกษาได้รับเงินค่าเล่าเรียนจากโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ หรือไม่ หากซ้ำซ้อนก็ไม่สามารถกู้ยืมในส่วนนี้ได้ ซึ่งคาดว่า กรอ.จะสามารถให้ผู้กู้ได้ในวงเงินประมาณ 60,000 บาทต่อปี ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าปฏิบัติการห้องแล็บ จะโอนเงินให้แต่ละสถานศึกษาดำเนินการเอง

หารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.- การชำระเงิน  ผู้กู้จะต้องชำระเงินคืนก็ต่อเมื่อมีงานทำและมีรายได้เดือนละ 16,000 บาท โดยในช่วงปีแรกของการทำงาน อาจใช้คืนเพียงร้อยละ 2 ของเงินเดือนเท่านั้น เพื่อให้เงินเดือนพอใช้ แต่เมื่อมีรายได้มากขึ้น อาจทยอยจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เปลี่ยนผ่านจากเงินกู้ยืมเป็น กรอ.นั้น นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ยังสามารถกู้ยืมจาก กยศ.ได้ โดย ศธ.จะออกเป็นระเบียบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฉบับเดิม ซึ่งยังเปิดโอกาสให้กู้ทั้ง 3 ส่วน รวมทั้งนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2-4 ก็ยังสามารถกู้ได้ตามปกติจนจบการศึกษาเช่นกัน ส่วนข้อกังวลถึงมาตรการการใช้เงินคืนนั้น รมว.ศธ.เชื่อว่า เด็กทุกคนที่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาครั้งนี้ เป็นคนดี เมื่อได้รับโอกาสและได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นเด็กที่มีคุณภาพ มีจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรม และเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการผลักดันกฎหมายขึ้นมารองรับ โดยในเบื้องต้นจะร่างระเบียบขึ้นมาเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ก่อนออกระเบียบและแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อดำเนินการต่อไป

นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการ กยศ. ได้กล่าวถึงประเด็นการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งพบปัญหาการยักยอกเงิน กยศ.ว่า เรื่องนี้มีที่มาจากการเปิดให้กู้ยืม กยศ.ครั้งแรกเมื่อปี 2539 ซึ่งขณะนั้นระบบสัญญาดำเนินการไม่ทันต่อการเปิดภาคเรียน จึงขอให้สถาบันการศึกษาต่างๆ ส่งรายชื่อนักศึกษาที่ประสงค์จะกู้ยืมเงินมายัง กยศ. จนกระทั่งในปี 2554 กยศ.ได้เปิดให้ผู้กู้ชำระเงินในปีแรก และได้ส่งจดหมายทวงถามไปยังผู้กู้ ก็พบว่ามีผู้กู้จำนวน 101 ราย จาก 32 สถาบันการศึกษา แจ้งมายัง กยศ.ว่าไม่ได้ศึกษาในสถาบันดังกล่าวแล้ว เนื่องจากลาออก หรือไม่ได้ศึกษาจนจบการศึกษา คิดเป็นเงินจำนวน ๕.๑ ล้านบาท ทาง กยศ.จึงได้ติดต่อกลับไปยังสถาบันเหล่านั้นเพื่อให้รับรองนักศึกษาที่เรียนอยู่จริง ซึ่งขณะนี้มีสถาบันการศึกษาส่งเงินคืนมายัง กยศ.เป็นเงิน 3 ล้านบาท จากจำนวน 77 ราย ซึ่งคาดว่า DSI จะสอบสวนเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 6  เดือน

ที่มาของข้อมูล https://www.moe.go.th/websm/2012/mar/076.html
 
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  
ดอกเบี้ย (อังกฤษ: Interest) คือ เงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2
การคำนวณดอกเบี้ย โดยเฉพาะดอกเบี้ยทบต้น จำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลข ซึ่งการได้รู้จักชนิดของเครื่องคิดเลข และหารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.ใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ จะอำนวยประโยชน์ต่อการคำนวณดอกเบี้ยเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ในเอกสารชุดนี้ จึงเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบชนิดของเครื่องคิดเลข เทคนิคการใช้เครื่องคิดเลข และแนวทางการทำข้อสอบเรื่องดอกเบี้ย เพื่อให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณดอกเบี้ย การสอบปลายภาคเรื่องดอกเบี้ยในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานทุกครั้งจำเป็นต้องใช้สูตรทั้งหมดที่ได้นำมาเสนอนี้ ดังนั้น หากนักศึกษาที่เรียนวิชาดังกล่าวได้ฝึกใช้เครื่องคิดเลขตามคำแนะนำในเอกสารชุดนี้แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่านักศึกษาจะสามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ทุกคน

สรุป สูตรดอกเบี้ย (Interest: I)
ดอกเบี้ยคงต้น (simple)
ดอกเบี้ยคงต้นคือ  I = prt
เงินรวมคือ S = P + I = P(1+rt)  โดย t มีหน่วยเป็นปีเสมอ
ที่มาของข้อมูล https://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/interest.htm

ตัวอย่าง 
ฝากธนาคาร 5 ปี โดยฝากเงินครั้งเดียว 10000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 10% จะได้ดอกเบี้ยเท่ากับเท่าไร
(คำนวณดอกเบี้ยแบบง่าย คือ ถอนดอกเบี้ยออกมาใช้ทุกสิ้นปี)
ดอกเบี้ย = 5*10000*0.1=5000

ตัวอย่าง ฝากธนาคาร 5 ปี โดยฝากเงินครั้งเดียว 10000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 10% จะได้ดอกเบี้ยเท่ากับเท่าไรโดยไม่ถอนดอกเบี้ย
ปีที่ 1 = 0.1*10000=1000
ปีท่ 2 = 0.1 *11000 = 1100
ปีที่ 3 = 0.1 *12100 =1210
4 = 0.1*13310 = 1331
5 = 0.1*14641 = 1464.1 
รวมดอกเบี้ยทั้งหมด = 6105.1 บาท
หรือใช้ 10000*(1+0.1)^5 = 16105.1 บาท
ลบเงินต้น 10,000 บาท เท่ากับดอกเบี้ย 6105.10
ที่มาของข้อมูล https://www.vcharkarn.com/vcafe/32283
     
ตัวอย่าง วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้   
งวดที่ 1  เงินกู้คงเหลือ 5,000  เดือนที่ 1  จำนวนวัน 31  ดอกเบี้ย 46.75  เงินต้น 1,000  รวมชำระ 1,046.75 
งวดที่ 2  เงินกู้คงเหลือ 4,000  เดือนที่ 2  จำนวนวัน 30  ดอกเบี้ย 36.25  เงินต้น 1,000  รวมชำระ 1,036.25  
งวดที่ 3  เงินกู้คงเหลือ 3,000  เดือนที่ 3  จำนวนวัน 31  ดอกเบี้ย 28.00  เงินต้น 1,000  รวมชำระ 1,028.00 
งวดที่ 4  เงินกู้คงเหลือ 2,000  เดือนที่ 4  จำนวนวัน 31  ดอกเบี้ย 18.75  เงินต้น 1,000  รวมชำระ 1,018.75 
งวดที่ 5  เงินกู้คงเหลือ 1,000  เดือนที่ 5  จำนวนวัน 30  ดอกเบี้ย 9.00   เงินต้น 1,000  รวมชำระ 1,009.00 
สรุป ดอกเบี้ย 138.75   เงินต้น 5,000  รวมชำระ 5,138.75

หารือแนวดำเนินการเงินกู้ยืม กรอ.เงินกู้ 5,000 บาท ชำระ 5 งวด (เดือน) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11 ต่อปี
สูตรการคำนวณ 
ดอกเบี้ย ณ วันชำระ = เงินกู้คงเหลือ ณ วันชำระ x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันจากวันชำระก่อนหน้าจนถึงวันชำระงวดนี้ต่อ 365 วัน
ดังนั้น
งวดที่ 1 จากตัวอย่าง เงินกู้คงเหลือ 5,000 บาท และมาชำระในวันสิ้นเดือน (สำหรับเดือนที่มี 31 วัน)
ดอกเบี้ย ณ วันสิ้นเดือน = 5,000 x (11/100) x (31/365) จะได้ประมาณ  46.71 บาท ปัดหน่วยเป็น 46.75 บาท
สำหรับงวดที่ 3 เงินกู้คงเหลือ 3,000 บาท จำนวนวันในเดือน 31 วัน (จำนวนวันนับจากวันที่ชำระเงินกู้ครั้งที่แล้วถึงวันที่ชำระครั้งนี้)
ดอกเบี้ย ที่ต้องชำระสำหรับงวดที่ 3 = 3,000 x (11/100) x (31/365) จะได้ประมาณ 28.02 บาท ปัดหน่วยเป็น 28 บาท
* 11/100 หมายถึง 11 หารด้วย 100 (ร้อยละ 11) และ 31/365 หมายถึง 31 หารด้วย 365 (31 วันใน 365 วัน) 
กู้ 5,000 บาท จ่ายคืนใน 5 เดือน ดอกเบี้ยต้องจ่ายทั้งสิ้น 138.75 บาท ประชุมใหญ่มีเงินเฉลี่ยคืนประมาณ 7 บาท (กรณีมีมติเฉลี่ยคืน 5%) สรุปจ่ายดอกเบี้ยจริง 131.75 บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.sena2.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=111:2009-08-07-01-41-06&catid=25:2009-04-02-04-59-25&Itemid=27

ข้อเสนอแนะ
การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะดูแลนักเรียนนักศึกษาทุกคนเหมือนกับดูแลลูกหลานโดยเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษา และสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนจบการศึกษา ควรมีระเบียบที่รัดกุม วิธีการคืนเงินทั้งต้นและดอกเบี้ย ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้น้องรุ่นหลังๆ ได้รับโอกาศแบบนี้บ้าง 
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 การอาชีพ
 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร กับการกู้ยืมให้กู้ 3 ส่วน ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง 
2. อะไรจำเป็นในการกู้ยืมเป็นอันดับแรก ให้เหตุผลประกอบ 
3. การคำนวณอัตราดอกเบี้ยทั้ง 3 ส่วนควรคำนวณเท่ากันหรือต่างกัน ให้ร่วมกันอภิปราย

ที่มาของภาพ https://www.vcharkarn.com/uploads/239/239416.jpg
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/url?source=imglanding&ct=img&q=https://www.tnews.co.th/html/picture/tnews_1283917842_9954.jpg&sa=X&ei=aRdeT_zvOoLJrQfLptSCDw&ved=0CAsQ8wc&usg=AFQjCNHEHrcZeP1bw4trT4fHHDhY7wWTww
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/url?source=imglanding&ct=img&q=https://www.munjeed.com/image_news/2010-09-13/prachachat_139255305122.jpg&sa=X&ei=_BdeT6DAGMj5rAer3839Cw&ved=0CAsQ8wc4GA&usg=AFQjCNH8noW0_AiAoAfLQX9YBXcI89Ob6Q
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/url?source=imglanding&ct=img&q=https://1.bp.blogspot.com/_TpOum01jtMM/TL13w0myxVI/AAAAAAAAAFI/tIuxM-t57mQ/s1600/0019b926d6a20dcc59ad03.jpg&sa=X&ei=ZhheT6DgJIrRrQfOg9jACw&ved=0CAsQ8wc&usg=AFQjCNELZeDmv5hMadT7ToL_4LT6vSgsvg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4618

อัพเดทล่าสุด