หลัง MOU กับรัฐบาลจีน ใช้อบรมวิทยากรแกนนำ
"ชินภัทร" ขอแท็บเล็ตล็อตแรก 2 พันเครื่อง หลัง MOU กับรัฐบาลจีน ใช้อบรมวิทยากรแกนนำ
ครม.เห็นชอบทำ MOU กับรัฐบาลจีน ซื้อแท็บเล็ต 9 แสนเครื่อง ใช้เงิน 1.6 พันล้านบาท แทนจัดซื้อแบบจีทูจี สพฐ.ชงขอแท็บเล็ตล็อตแรกถึงไทยหลังลงนาม 15 วัน อย่างต่ำ 2 พันเครื่องหรือเป็นไปได้ขอให้ได้ 5 หมื่นเครื่อง ตั้งเป้านำมาใช้อบรมวิทยากรแกนนำถ่ายทอดเทคนิคการใช้แท็บเล็ตพัฒนาการเรียนการสอนให้ครู
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ไทยทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับรัฐบาลจีน เพื่อจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตจำนวน 9 แสนเครื่อง วงเงินประมาณ 1,600 ล้านบาท จากประเทศสาธารณประชาชนจีน แทนแผนเดิมที่กำหนดจัดซื้อแท็บเล็ตจากจีนในระบบ Goverment To Goverment หรือ จีทูจี นั้นจริงๆ แล้ว ก็เป็นไปตามเจตนารมณ์เริ่มต้นแต่แรกของ 2 ประเทศอยู่แล้ว รัฐบาลไทยและจีนได้ลงนามความร่วมมือกันเมื่อปลายปี 2554 ใน 4 เรื่อง คือ รถไฟความเร็วสูง พลังงานทดแทน ท่าเรือน้ำลึก และแท็บเล็ต ซึ่งในส่วนของแท็บเล็ตนั้น รัฐบาลจีนจะช่วยเหลือให้ไทยสามารถจัดหาเครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณภาพ ตามสเปกที่ไทยต้องการและในราคาต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“ การเปลี่ยนมาทำ MOU จัดซื้อแท็บเล็ตกับรัฐบาลจีนแทนการจัดซื้อแบบจีทูจี นั้นไม่ได้มีข้อแตกต่างอะไรกันมาก ในเรื่องของเงื่อนไขความรับผิดชอบเท่านั้น รัฐบาลจีนยังคงยื่นมือมาช่วยให้ไทยได้เครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณภาพในราคาประหยัด โดยรับภาระจะไปเจรจากับผู้ผลิตแท็บเล็ตในประเทศให้ เพียงแต่การทำสัญญาซึ่งจะผูกผันความรับผิดชอบนั้น ก็ต้องสอดคล้องกับระบบของทั้ง 2 ประเทศ” นายชินภัทร กล่าวและว่า หลังจากมีการลงนามใน MOU กับรัฐบาลจีนแล้ว คาดว่า แท็บเล็ตล็อตแรกจะมาถึงไทยภายใน 15 วัน เบื้องต้นเจรจาให้จัดส่งล็อตแรกจำนวน 2,000 เครื่อง แต่อาจขอเพิ่มเป็น 50,000 เครื่อง เพราะ สพฐ.ต้องการนำแท็บเล็ตล็อตนี้ไปใช้ในการอบรมพัฒนาวิทยากรแกนนำสำหรับถ่ายทอด เทคนิคการใช้แท็บเล็ตประกอบการเรียนการสอนให้ครู ตามแผนที่วางไว้ จะมีการอบรมสร้างวิทยากรระดับเทพออกมา 100 คน จากนั้นวิทยากรระดับเทพจะไปขยายผลสร้างวิทยากรแกนนำอีก 1,000 คน ให้แล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้วิทยากรแกนนำไปถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการใช้แท็บเล็ตประกอบการเรียนการสอนให้ศึกษานิเทศก์และครูจำนวน 15,000 คน ในช่วงต้นเดือน พ.ค.
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คาดว่า แท็บเล็ตล็อต 2 จะมาถึงช่วงเปิดภาคเรียนแล้ว และจะทยอยมาเรื่อยๆ ประมาณ 3 ล็อตใหญ่ๆ แต่ท้ายสุด โรงเรียนทุกแห่งจะได้รับแท็บเล็ตทันใช้แน่นอน เพราะโดยธรรมชาติของการเรียนการสอนชั้น ป.1 นั้น ช่วง 1 เดือนแรกจะเป็นการปรับสภาพนักเรียนอนุบาลให้พร้อมสำหรับการเรียนระดับประถมศึกษา ยังไม่มีการเรียนเนื้อหามากนัก อย่างไรก็ตาม ในการเข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้รายงานความพร้อมของการดำเนินการ ซึ่งนายกฯให้ข้อแนะนำว่า แท็บเล็ตควรเป็นอุปกรณ์ที่นักเรียนสามารถนำติดตัวไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ในทุกเวลา เพราะฉะนั้น ในแท็บเล็ตต้องมีเนื้อหาส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ป.1 เช่น การเรียนรู้ตัวอักษร พยัญชนะ การคัดลายมือ ฝึกกล้ามเนื้อ การวาดรูป รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เพราะฉะนั้น สพฐ.จะมีการส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่จะนำมาใช้กับแท็บเล็ต โดยแบ่งแผนการดำเนินการเป็น 3 ระยะ 3 เดือนแรก จะเป็นการส่งเสริมให้ครูรู้จักการใช้สื่อ E-Content ที่มีอยู่ และ Learning Object ของ สพฐ.อีก 336 เรื่อง ส่วน 3 เดือนต่อไป จะเป็นการส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อขึ้นมาเอง โดยผ่านการประกวดแข่งขัน สื่อดีๆ จะได้รับการคัดเลือกให้อัปโหลดไปอยู่ใน Edu-Store ของ สพฐ.ซึ่งครูผู้พัฒนาสื่อดังกล่าวขึ้นก็จะได้เครดิตไป และผลงานตรงนี้จะมีผลต่อการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะของเจ้าตัวด้วย สำหรับ 3 เดือนสุดท้าย จะเป็นช่วงเวลาของการขยายผล ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อต่างๆ ที่ สพฐ.และครูพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากที่สุด โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จจากผลสัมฤทธิ์นักเรียนทีดีขึ้น การเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น
ที่มาของข้อมูล https://www.kroobannok.com/49404
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
วิธีเรียงสับเปลี่ยน
แฟคคอเรียล
เมื่อ n เป็นจำนวนใดๆ แล้ว n! = 1 x 2 x 3 x ... x n
วิธีเรียงสับเซตเปลี่ยนเชิงเส้นตรง
มีของ n สิ่งที่ต่างกันมาเรียงสับเปลี่ยนทั้ง n สิ่ง
วิธีเรียงสับเปลี่ยน = n! วิธี
มีของ n สิ่งที่ต่างกันนำมาเรียงสับเปลี่ยนคราวละ r สิ่ง (r<=n)
วิธีเรียงสับเปลี่ยน = P n, r =n! /(n-r)!
มีของ n สิ่ง โดยมีบางสิ่งซ้ำกันเป็นกลุ่มๆ k กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ 1 ซ้ำกัน n สิ่ง กลุ่มที่ 2 ซ้ำกัน n 1 สิ่ง กลุ่ม k ซ้ำกัน n สิ่ง และ n1 + n2 + n3 + ... + nk = n! จำนวนเรียงสับเปลี่ยนของทั้ง n สิ่ง = n! /n1 ! n 2! n 3! ... n k! วิธี
วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม
มีของ n สิ่งต่างกันนำมาเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม = (n – 1 ) ! วิธี มีสิ่งของ n สิ่งที่นำมาเรียงสับเปลี่ยนแบบวงกลมคราวละ r สิ่ง จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยน n! /(n-r)! r!
วิธีเรียงสับเปลี่ยนหลายประเภทสลับกันเชิงเส้น (สลับประเภทละ r สิ่ง)
2 ประเภทเท่าๆกัน จำนวนวิธี = 2! m! m!
k ประเภทเท่าๆกัน จำนวนวิธี = k ! [(m!) ยกกำลัง k]
เชิงวงกลม (สลับประเภทละ 1 สิ่ง)
2 ประเภทเท่าๆกัน จำนวนวิธี = m! (m-1)!
k ประเภทเท่าๆกัน จำนวนวิธี = k! (m-1)!/km
ที่มาของข้อมูล https://studentwork.srp.ac.th/Website/Math/math/article_3.html
วิธีเรียงสับเปลี่ยน
ถ้ามีของ n สิ่งต่างๆ กันนำของ r สิ่งจาก n สิ่งมาจัดเรียงแถวตามลำดับ
จำนวนวิธีที่จะกระทำได้คือ P n,r=n!/(n-r) !
ข้อสังเกต P n,n=n!/(n-n) != n!/0!= n!
ข้อควรระวัง
วิธีเรียงสับเปลี่ยนนั้น เรื่องลำดับของสิ่งของที่เราเลือกมานั้นมีความสำคัญเพราะถ้าลำดับของสิ่งของต่างกันแล้ว เราถือว่าการเรียงนั้นเป็นคนละวิธีกัน
เช่น ถ้าเลือกคน 2 คน จาก 5 คน ไปแข่งขันตอบปัญหาคณิตศาสตร์ วิธีแรก เราเลือกนาย ก และนาย ข วิธีที่สองเลือกนาย ข และ นาย ก จะเห็นว่าสองวิธีนี้ไม่แตกต่างกัน ดั้งนั้น
ลักษณะดังกล่าวนี้ไม่ใช่วิธีเรียงสับเปลี่ยน แต่ถ้าเราเลือกคนสองคน จาก 5 คน ไปรับรางวัลที่ 1 และ 2 ถ้าเราเลือกนาย ก ไปรับรางวัลที่ 1 นาย ข ไปรับรางวัลที่ 2
หรือ เลือกนาย ข ไปรับรางวัลที่ 1 นาย ก ไปรับรางวัลที่ 2 สองวิธีนี้ไม่เหมือนกัน ดั้งนั้นในการเลือกคนไปรับรางวัลเช่นนี้ถือว่าเป็นวิธีเรียงสับเปลี่ยน
วิธีเรียงสับเปลี่ยนของ n สิ่งซึ่งมีบางสิ่งซ้ำกัน
ถ้าเรามีของ n สิ่ง ในของ n สิ่งนี้ มี n1 สิ่งเหมือนกัน เป็นกลุ่มแรก n2 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่ 2 n3 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่ 3.... nr สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่ r โดยที่
n1+n2+…nr=n นำของทั้ง n สิ่ง ซึ่งมีบางสิ่งซ้ำกันมาจัดเป็นแถวทั้งหมด จะสามารถทำได้ n!/n1!+n2!+n3!…nr!
การเรียงสับเปลี่ยวแบบวงกลม
ถ้ามีของ n สิ่งต่างๆกัน นำของทั้ง n สิ่งมาเรียงสับเปลี่ยนแบบวงกลม จำนวนวิธีที่จะจัด ได้ทั้งหมดคือ (n-1)! วิธี
ถ้ามีของnสิ่งต่างๆกันเลือกมาเรียงสับเปลี่ยนแบบวงกลมเพียง r สิ่ง (r <1) จำนวนวิธีที่จัดได้ทั้งหมด คือ n!/(n-r)!r วิธี
ตัวอย่าง
จงหาจำนวนวิธีที่สามารถจัดคน 6 คน นั่งรอบโต๊ะกลมแนวคิด เนื่องจากวิธีเรียงสับเปลี่ยนเป็น วิธีเรียงสับเปลี่ยนแบบวงกลมดังนั้นจำนวนวิธีที่สามารถทำได้คือ (6-1)! = 5! = 120 วิธี
หมายเหตุ ในกรณีที่วิธีเรียงสับเปลี่ยนแบบวงกลมอยู่ในสภาพ 3 มิติ คือ ดูได้ทั้งสองด้าน เช่น
การร้อยลูกปัดเป็นกำไล หรือพวงกุญแจ จำนวนวิธีที่ได้ทั้งหมดจะต้องหารด้วย 2 อีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือจำนวนวิธีที่สามารถเรียงสับเปลี่ยน ได้ทั้งหมด (n-r)!/2 วิธี
สรุป
วิธีเรียงสับเปลี่ยนสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. วิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่ต่างๆกันในลักษณะเป็นแถวตรง
2. วิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่มีบางสิ่งซ้ำกันในลักษณะเป็นแถวตรง
3. วิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของต่างๆกันในลักษณะเป็นวงกลม
ที่มาของข้อมูล https://www.krudung.com/webst/2552/501/32/index8.html
คำถามในห้องเรียน
จะมีวิธีเรียงสับเปลี่ยนคำว่า "MOU" ได้กี่วิธีโดยไม่คำนึงถึงความหมาย
ข้อเสนอแนะ
การส่งเสริมให้ครูรู้จักการใช้สื่อ E-Content ที่มีอยู่ และ Learning Object ของ สพฐ.นั้น ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลหรือไม่โดยเฉพาะผลงานนี้จะมีผลต่อการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/url?source=imglanding&ct=img&q=https://www.thairath.co.th/media/content/2012/03/20/246884/hr1667/630.jpg&sa=X&ei=CmppT8-9E8zhrAeeg5nsBw&ved=0CAsQ8wc&usg=AFQjCNEvbZmC6atSaoS3fcXcRuah5uaL-Q
ที่มาของภาพ https://p.s1sf.com/ca/0/wb/i/ui/182/911846/03769_006.jpg;r:width=500,height=375;static:p_s1sf_ca_0;file:e66ab6.jpg
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/url?source=imglanding&ct=img&q=https://www.freehandmades.com/shop/f/freehandmade/img-lib/spd_20060912175325_b.jpg&sa=X&ei=6mtpT5qKEs2xrAek4vH3Bw&ved=0CAwQ8wc4DA&usg=AFQjCNGTyV8doeJxUzKlT39tMUjzC_gSlg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4622