เสียชีวิตในห้องดับจิตนานเดือนกว่า
สุดเหลือเชื่อ แม่"สมองตาย"เสียชีวิตในห้องดับจิตนานเดือนกว่า ให้กำเนิด"ลูกแฝด"
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดกรณีเหลือเชื่อ นางคริสติน โบลเดน แม่ชาวอเมริกัน ซึ่งมีอาการ"สมองตาย"และถือว่าเสียชีวิตแล้ว แต่ยังให้กำเนิดลูกแฝด ทั้งๆที่อยู่ในห้องดับจิตของโรงพยาบาลรัฐมิชิแกนนานเป็นเวลาเดือนกว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ถือได้ว่านับเป็นเหตุประหลาดที่ยากจะเกิดขึ้นในโลก โดยประเมินว่าเหตุดังกล่าวมีเพียง 30 กรณีทั่วโลก นับตั้งแต่ปี 2525 โดยนางโบลเดนให้กำเนิดลูกแฝดชายน้ำหนักตัวไม่ถึง 2 ปอนด์ ผ่านการผ่าท้องเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา ขณะเด็กยังคงอยู่ในห้องช่วยหายใจ
นางโบลเดน ประสบอุบัติเหตุล้มลงในลานจอดรถเมื่อวันที่ 1 มีนาคม และ อีก 5 วัน ต่อมาทางแพทย์ประกาศว่านางโบลเดนมีภาวะ "สมองตาย" แต่โรงพยาบาลยังคงเก็บร่างไว้ในห้องดับจิตเนื่องจากยังมีทารกอยู่ในครรภ์ และอาจคลอดลูก ทั้งนี้คณะแพทย์ต้องลุ้นว่า ทารกที่คลอดออกมาจะมีชีวิตรอดตลอดหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมา ทารกที่คลอดลักษณะนี้มีอัตราเสี่ยงของการรอดชีวิต หรือมีปัญหาสุขภาพในระยะยาวตามมา โดย 70 % ของทารกแม่สมองตายที่คลอดในช่วง 25 สัปดาห์จะรอดชีวิต ด้านญาติของนางโบลเดนล่าวว่า รู้สึกสูญเสียนางโบลเดนไป แต่ด้วยประสงค์ของพระเจ้า ทำให้เธอคลอดลูกในท้องออกมา
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335338969&grpid=01&catid=&subcatid=
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีเบื้องต้นของความน่าจะเป็น
1. การทดลองสุ่ม
การทดลองสุ่ม คือ การทดลองที่ไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ และถึงแม้จะทราบว่าอาจจะเกิดอะไรได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การโยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง เป็นการทดลองสุ่ม เนื่องจาก ไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ล่วงหน้าได้ ถึงแม้ว่าจะทราบว่าผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ หัว หรือ ก้อย แต่ไม่สามารถควบคุมได้
2. แซมเปิลสเปซ
แซมเปิลสเปซ คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม และจะถูกเขียนแทนด้วย S
ข้อสังเกต
1. แซมเปิลสเปซเป็นเซตเสมอ
2. ในการทดลองสุ่มเดียวกัน อาจจะมีแซมเปิลสเปวได้หลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เราสนใจว่าต้องการหรือสนใจสิ่งใด
ตัวอย่างที่ 1 ในการโยนลูกเต๋าสองลูก ผลลัพธ์ที่จะเป็นไปได้จะเป็นคู่อันดับต่างไ ของลูกเต๋าลูกที่หนึ่งกับลูกเต๋าลูกที่สอง โดยที่
1. ผลลัพธ์ที่ได้มาจากการโยนลูกเต๋าลูกที่หนึ่ง เป็นสมาชิกตัวหน้า
2. ผลลัพธ์ที่ได้มาจากการโยนลูกเต๋าลูกที่สอง เป็นสมาชิกตัวหลัง
วิธีทำ
S = { (1, 1), (1, 2), (1, 3), (1, 4), (1, 5), (1, 6),
(2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),
(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6),
(4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),
(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6),
(6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6) }
ตัวอย่างที่ 2 หยิบไพ่ 1 ใบ จากไพ่สำรับหนึ่ง เป็นการทดลองสุ่ม ถ้า
1. ผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่จะได้ และให้ S1 แทนแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มนี้ แล้วจงหา S1
2. ผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ชุดของไพ่ที่ได้ และให้ S2 แทนแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มนี้ แล้วจงหา S2
วิธีทำ
1. ผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่จะได้
S1 = { (Aโพดำ), (Aโพแดง), (Aข้าวหลามตัด), (Aดอกจิก),
(2โพดำ), (2โพแดง), (2ข้าวหลามตัด), (2ดอกจิก),
(3โพดำ), (3โพแดง), (3ข้าวหลามตัด), (3ดอกจิก),
(4โพดำ), (4โพแดง), (4ข้าวหลามตัด), (4ดอกจิก),
(5โพดำ), (5โพแดง), (5ข้าวหลามตัด), (5ดอกจิก),
(6โพดำ), (6โพแดง), (6ข้าวหลามตัด), (6ดอกจิก),
(7โพดำ), (7โพแดง), (7ข้าวหลามตัด), (7ดอกจิก),
(8โพดำ), (8โพแดง), (8ข้าวหลามตัด), (8ดอกจิก),
(9โพดำ), (9โพแดง), (9ข้าวหลามตัด), (9ดอกจิก),
(10โพดำ), (10โพแดง), (10ข้าวหลามตัด), (10ดอกจิก),
(Jโพดำ), (Jโพแดง), (Jข้าวหลามตัด), (Jดอกจิก),
(Qโพดำ), (Qโพแดง), (Qข้าวหลามตัด), (Qดอกจิก),
(Kโพดำ), (Kโพแดง), (Kข้าวหลามตัด), (Kดอกจิก)}
2. ผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ชุดของไพ่ที่ได้
S2 = { โพดำ, โพแดง, ข้าวหลามตัด, ดอกจิก }
3. เหตุการณ์
เหตุการณ์ คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ ซึ่งจะถูกเขียนแทนด้วยอักษรตัวใหญ่ A, B, C, D, E,...
ข้อสังเกต
1. เหตุการณ์เป็นเซตเสมอ
2. เนื่องจากจำนวนสับเซตของ S ทั้งหมดมีได้เท่ากับ 2n(S)
ตัวอย่างที่ 3 ในการโยนลูกเต๋าลูกเดียวหนึ่งครั้ง ผลลัพธ์ที่สนใจคือแต้มที่ได้ จงหา
1. แซมเปิลสเปซ
2. เหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นเป็นเลขคี่
3. เหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นเป็นเลขคู่
4. เหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว
5. เหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นอย่างน้อย 3
6. เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่ำกว่า 4
วิธีทำ
1. ถ้า S เป็นแซมเปิลสเปซ แล้ว S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
2. ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นเป็นเลขคี่ แล้ว E1 = {1, 3, 5 }
3. ถ้า E2 เหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นเป็นเลขคู่ แล้ว E2 = { 2, 4, 6 }
4. ถ้า E3 เหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว แล้ว E3 = { 3, 6 }
5. ถ้า E4 เหตุการณ์ที่ได้แต้มขึ้นอย่างน้อย 3 แล้ว E4 ={ 3, 4, 5, 6 }
6. ถ้า E5 เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่ำกว่า 4 แล้ว E5 = { 1, 2, 3 }
4. การกระทำระหว่างเหตุการณ์
เหตุการณ์สามารถกระทำกันได้ด้วยตัวกระทำของเซต คือ ยูเนียน (Union), อินเตอร์เซกชัน (Intersection), ผลต่าง (Difference) และคอมพลีเมนต์ (Complement) แล้วทำให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ ดังนี้
4.1 ยูเนียนของเหตุกาณ์ (Union of events)
ถ้า E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์สองเหตุการณ์แล้ว
E1 Union E2 คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกของเหตุการณ์ E1 หรือเหตุการณ์ของ E2 หรือทั้งสองเหตุการณ์
ตัวอย่างที่ 4 ในการทอดลูกเต๋าพร้อมกันสองลูก ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่จะได้แต้มเหมือนกัน และ E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มหารด้วย 6 ลงตัว จงหายูเนียนของเหตุการณ์ E1 และ E2
วิธีทำ เราจะพบว่า แซมเปิลสเปซที่เป็นเซตที่ประกอบด้วยผลรวมของแต้มบนลูกเต๋าทั้งสองที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมด คือ
S = { 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 }
จากโจทย์ จะได้ E1 = { 3 }
และ E2 = { 6, 12 }
ดังนั้น E1 Union E2 = { 3, 6, 12 }
4.2 อินเตอร์เซกชันของเหตุการณ์ (Intersection of events)
ถ้า E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์สองเหตุการณ์แล้ว
E1 Intersection E2 คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในทั้งสองเหตุการณ์
ตัวอย่างที่ 5 ในการทอดลูกเต๋าสองลูกพร้อมกันหนึ่งครั้ง ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่จะได้แต้มเหมือนกัน และ E2 เป็นเหตุการณ์ที่ผลบวกของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 10 จงหาอินเตอร์เซกชันของเหตุการณ์ E1 และ E2
วิธีทำ จากโจทย์ เราจะได้
S= { (1, 1), (1, 2), (1, 3), (1, 4), (1, 5), (1, 6),
(2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),
(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6),
(4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),
(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6),
(6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6) }
E1 = { (1, 1), (2, 2), (3, 3), (4, 4), (5, 5), (6, 6) }
และ E2 = { (4, 6), (5, 5), (5, 6), (6, 4), (6, 5), (6, 6) }
ดังนั้น E1 Intersection E2 = { (5, 5), 6, 6) }
4.3 ผลต่างของเหตุการณ์ (Difference of events)
ถ้า E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์สองเหตุการณ์แล้ว
E1 - E2 คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเหตุการณ์ E1 แต่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ E2
ตัวอย่างที่ 6 กำหนดให้ S = { 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
E1 = { 1, 3, 5 }
และ E2 = { 2, 3, 4, 5, 6 }
จงหา 1. E1 - E2
2. E2 - E1
วิธีทำ
1. E1 - E2 = { 1, 3, 5 } - { 2, 3, 4, 5, 6 } = { 1 }
2. E2 - E1 = { 2, 3, 4, 5, 6 } - { 1, 3, 5 } = { 2, 4, 6 }
4.4 คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ (Complement of events)
ถ้า S เป็นแซมเปิลสเปซ และ E เป็นเหตุการณ์ที่เป็นสับเซตของ S แล้ว
E’ คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แต่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ E
ตัวอย่างที่ 7 เลือกจำนวนเต็มหนึ่งจำนวน จากจำนวน 1, 2, 3,…, 10 ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้จำนวนที่หารด้วย 4 ลงตัว และ E2เป็นเหตุการณ์ที่ได้จำนวนที่ถอดรากที่สองแล้วได้จำนวนเต็มแล้ว จงหา E1’ และ E2’
วิธีทำ E1 = { 4, 8 }
E2 = { 4, 9 }
ดังนั้น E1’ = { 1, 2, 3, 5, 6, 7, 9, 10 }
และ E2’ = {1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 10}
ที่มาของข้อมูล https://www.scimath.org/index.php/socialnetwork/groups/viewbulletin/893-6+
ความน่าจะเป็น (Probability)
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็น จะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น
แซมเปิลสเปซ (Sample Space )
แซมเปิลสเปซ คือเซตของเหตุการณ์ทั้งหมดจากการทดลอง (Universal Set) เช่น การโยนลูกเต๋าถ้าต้องการดูว่าหน้าอะไรจะขึ้นมาจะได้ S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)
แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point) คือ สมาชิกของแซมเปิลสเปซ (Sample Space ) เช่น S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 } จะได้แซมเปิลพ้อยท์ คือ 1 ถึง 6
เหตุการณ์ (Event)
เหตุการณ์ คือ เซตที่เป็นสับเซตของ Sample Space เป็นเหตุการณ์ที่เราสนใจ จากการทดลองสุ่ม
การทดลองสุ่ม (Random Experiment)
การทดลองสุ่มคือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
การหาค่าความน่าจะเป็น
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซ ที่ซึ่ง มีเหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้คือ n(S) และ E เป็นเหตุการณ์ที่เราสนใจ ซึ่ง E S ให้ P(E) เป็นค่าน่าจะเป็นที่จะเกิดโอกาส E
ที่มาของข้อมูล https://www.eduzones.com/news-503-4-19109.html
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่า ความน่าจะเป็น (Probability)ของ"การคลอดลูกแฝด ทั้งๆที่อยู่ในห้องดับจิตของโรงพยาบาลรัฐมิชิแกนนานเป็นเวลาเดือนกว่า" มีโอกาสเกิดขึ้นเป็นอย่างไร
ข้อเสนอแนะ
อาการ"สมองตาย"และถือว่าเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลดูแลอย่างดีทำให้เธอคลอดลูกแฝดออกมาและมีชีวิตรอด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://www.thaifranchisecenter.com/eShop/product/sri_pic09.jpg
ที่มาของภาพ https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/prob9.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/online/2012/04/13353389691335339419l.jpg
ที่มาของภาพ https://mangmaoclub.com/wp-content/uploads/2010/10/e2ae5c9d41a1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/online/2012/04/13353389691335339430.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4641