ทางออกปัญหาความรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น
ครอบครัว”กุญแจสำคัญเสริมสร้าง EQ
ทางออกปัญหาความรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น
ปัจจุบัน สถานการณ์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนไทย มีแนวโน้มด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์และพฤติกรรมรุนแรงบ่อยครั้งมากขึ้น ประกอบกับผลสำรวจติดตามสถานการณ์ระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็กนักเรียนไทย อายุระหว่าง 6-11 ปี ระดับประเทศ ครั้งที่ 2 ของสถาบันราชานุกูล ซึ่งสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,325 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 9 จังหวัดใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ปทุมธานี ระยอง สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กระบี่ และปัตตานี พบว่าแนวโน้มคะแนน EQ มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าปีที่ผ่านมา มีคะแนน EQ เฉลี่ยระดับประเทศที่อยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ที่ 45.12 โดยมีจุดอ่อนทั้ง 3 ด้าน คือ เก่ง ดี มีสุข ซึ่งถือว่าปัญหาเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก และเร่งหาแนวทางป้องกัน โดยมุ่งสร้างและพัฒนา EQ แก่เด็กเพื่อให้ได้ผลในทางที่ดีในระยะยาว
ดร.นพ.ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำคลินิคสุขภาพจิต โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า EQ (Emotional Quotient ) คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นการทำงานของสมองในเชิงสังคม ที่มีพื้นฐานของอารมณ์มาเป็นตัวกำกับ เช่น การรับรู้และเข้าใจอารมณ์ตนเองและผู้อื่น รู้จักปรับอารมณ์ของตัวเองให้เหมาะสมได้ แสดงออกอย่างเหมาะสม สามารถใช้ชีวิตให้มีสุขได้ โดยเฉพาะเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ส่วน IQ เป็นการทำงานของสมองในเชิงคิดวิเคราะห์ ซึ่งนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่เมื่อเทียบสัดส่วน IQ : EQ ที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จต่างๆ ในชีวิต แล้วนั้น อยู่ที่ 20 : 80 เลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่าความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นั้นเป็นอีกหนึ่งกุญแจดอกสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินการต่างๆ ทั้งทางสังคมและหน้าที่การงานผู้มี EQ ที่ดี ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) เก่ง คือ มีความมุ่งมั่น พยายาม กระตือรือร้น รู้จักปรับตัว สามารถคิดหาทางแก้ไขปัญหา ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ และมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก 2) ดี คือ รู้จักอารมณ์ตนเอง ใส่ใจและเข้าใจอารมณ์คนอื่น การยอมรับถูก-ผิด และ 3) มีสุข คือ ความพอใจ ภูมิใจในตนเอง มีความร่าเริงเบิกบาน การรู้จักหากิจกรรมเพื่อฟื้นฟูกำลังใจตนเองและผู้อื่นได้ การมีความมั่นคงในจิตใจ
ในส่วนของวัยรุ่น ในปัจจุบัน นับว่ามีแนวโน้มมีปัญหาด้านการจัดการทางอารมณ์สูงมากขึ้น โดยการแก้ไขเมื่อพบว่าบุตรหลานมีปัญหาด้าน EQ คือ ผู้ปกครองหรือผู้ใกล้ชิดต้องค่อยๆ พิจารณาหาสาเหตุว่าอะไรคือที่มาของปัญหาที่แท้จริง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมความสามารถ “ด้านบวก” ของวัยรุ่น เพื่อนำมาเป็นปัจจัยตั้งต้นในการพัฒนาด้านการจัดการทางอารมณ์ และนำไปสู่การก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
ดร.นพ.ไพรัตน์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ในวัยรุ่นว่า สาเหตุส่วนใหญ่ของวัยรุ่นที่มีปัญหา คือ ความอ่อนแอทางอารมณ์ ทำให้ไม่รู้จักอารมณ์ตนเอง ไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร สิ่งใดควร ไม่ควรทำ ซึ่งโดยหลักจิตวิทยาสำหรับวัยรุ่นนั้น เป็นวัยที่ต้องการความเป็นตัวของตัวเองสูง เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่วัยผู้ใหญ่ ดังนั้น วัยนี้เป็นวัยที่ชอบทำสิ่งที่ท้าทาย ลองผิดลองถูก แต่ถ้าทำสำเร็จด้วยตนเองก็จะภาคภูมิใจ ดังนั้น ผู้ปกครองจะหาด้านบวกที่โดดเด่นของเด็กและส่งเสริมความสามารถนั้นๆ เช่น หากเด็กชอบการแสดงออก ชอบร้องเพลง ก็ต้องส่งเสริมหาเวทีให้แสดงออก ให้กำลังใจให้เขาทำในสิ่งที่เขาชอบ เน้นเฉพาะด้านบวกนี้ เด็กก็จะพัฒนาไปในทางที่สร้างสรรค์ได้
ในทางกลับกัน หากผู้ปกครองพบว่าบุตรหลานมีปัญหาด้าน EQ แต่ไม่ให้ความใส่ใจ เด็กที่มีปัญหาอยู่แล้ว มักจะเสาะหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีทิศทาง ไม่ตระหนักว่าสิ่งที่ทำควรหรือไม่ควร เพียงแค่ทำแล้วทำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีคุณค่า มีความสำคัญ ยังเป็นที่รักของคนในครอบครัวและคนในสังคมของตนเองอยู่เท่านั้น โดยเด็กกลุ่มนี้จะทำทุกอย่างไม่ว่าทางบวกหรือลบ เพียงเพื่อให้คนรอบข้างสนใจ และเมื่อเกิดผลเสียขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักนำเรื่องไม่ดีเก่าๆ มาต่อว่าเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ผิด เนื่องจาก เมื่อย้ำบ่อยๆ เด็กจะซึมซับ ตอกย้ำตนเองว่าตนเองไม่มีข้อดี ก็จะยิ่งลองทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิดว่าถูกหรือผิด แต่เพียงให้ผู้ใหญ่หันมาสนใจ ตามมาแก้ไข เด็กก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ยังรักเขาอยู่ ซึ่งเป็นการเรียกร้องความสนใจที่ผิด
ดังนั้น การแก้ไขวัยรุ่นที่มีปัญหานี้ ผู้ปกครองต้อง “จับถูก” ไม่ “จับผิด” คือ ต้องตั้งหลักให้ดี พิจารณาว่าบุตรหลานมีความสามารถที่โดดเด่นด้านใดบ้าง แล้วดึง “จุดดี” นั้นมาเป็นปัจจัย “ตั้งต้น” แล้วสานต่อ ส่งเสริมจุดนั้น อย่างต่อเนื่องต่อไป
• ปัญหา EQ ต่ำ : การป้องกัน สำคัญ กว่าการแก้ไข
ดร.นพ.ไพรัตน์ เน้นย้ำว่า “การป้องกัน” ไม่ให้เด็กมีปัญหาด้านนี้นั้น ถือว่าสำคัญกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุ เนื่องจาก EQ เป็นพัฒนาการทางอารมณ์ ดังนั้น จึงต้องมีการสั่งสมมาเป็นลำดับจากวัยเด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากปล่อยให้เกิดปัญหาแล้ว จะแก้ไขค่อนข้างยาก ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ เน้นการปลูกฝัง ดูแลตั้งแต่แรกคลอด ให้การอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอย่างดี เพื่อให้เด็กรู้จักอารมณ์ตนเอง เช่น เมื่อเขาโกรธ พ่อแม่ต้องบอกให้รู้ว่านี่คืออารมณ์ “โกรธ ไม่พอใจ” และสอนว่าควรจัดการกับอารมณ์นี้อย่างไร เมื่อเด็กรู้อารมณ์ตนเอง ก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ ทำอะไรจะคิดถึงคนรอบข้างเป็นหลักแต่ในทางกลับกัน เด็กที่มีปัญหาด้าน EQ จะไม่รู้จักอารมณ์ตนเอง นึกอยากจะแสดงอารมณ์ใดก็แสดง โดยไม่รู้ว่าคนรอบข้างจะรู้สึกอย่างไร กล่าวง่ายๆ ว่า ยึดตนเองเป็นหลักไม่สนใจคนรอบข้าง
ดังนั้น โดยสรุป สิ่งสำคัญในการพัฒนา EQ ของเด็กให้ดีในระยะยาว ต้องมีการเริ่มดูแลตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด คือ ตั้งแต่ตั้งครรภ์ แม่ควรมีสุขภาพจิตที่ดี จะส่งผลที่ดีต่อพัฒนาการทางสมองของลูก ต้นทุนทางสมองก็จะดีไปด้วย จากนั้น ภายหลังคลอด ก็ควรให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน ให้ความใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิด เน้นที่การเลี้ยงดูให้ถูกต้องตามพัฒนาการ ตามวัย พร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และที่สำคัญ คือ ธรรมชาติของเด็กจะลื่นไหลซึมซับสิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ดังนั้น หากต้องการให้เด็กพัฒนาไปในทางที่ดี ก็ต้องให้เด็กได้พบเจอ เรียนรู้แต่สิ่งดีๆ รอบข้างเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ต้องสอนให้เด็ก “อดทน รอคอย” ให้เป็น สิ่งนี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ตนเอง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดู ฝึกฝนให้มีวินัยที่ดี จะสามารถควบคุมตนเอง รู้จัดอดกลั้น ยับยั้งชั่งใจ เคารพในสิทธิผู้อื่น ให้ความนับถือตนเอง เมื่อเติบโตขึ้นจะประสบความสำเร็จ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น
ที่มาของข้อมูล https://www.dailynews.co.th/education/147268
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
อัตราส่วน ( Ratio )
อัตราส่วน (อังกฤษ: ratio, IPA: [ˈreɪʃoʊ] เรโช) คือปริมาณอย่างหนึ่งที่แสดงถึงจำนวนหรือขนาดตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีกปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน อัตราส่วนจะเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย หากอัตราส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณที่อยู่ในมิติเดียวกัน และเมื่อปริมาณสองอย่างที่เปรียบเทียบกันเป็นคนละชนิดกัน หน่วยของอัตราส่วนจะเป็นหน่วยแรก "ต่อ" หน่วยที่สอง ตัวอย่างเช่น ความเร็วสามารถแสดงได้ในหน่วย "กิโลเมตรต่อชั่วโมง" เป็นต้น ถ้าหน่วยที่สองเป็นหน่วยวัดเวลา เราจะเรียกอัตราส่วนชนิดนี้ว่า อัตรา (rate)
ทั้งเศษส่วนและอัตราร้อยละเป็นอัตราส่วนที่นำเอาไปใช้เฉพาะทาง เศษส่วนเป็นปริมาณส่วนหนึ่งที่เทียบกับปริมาณทั้งหมด ในขณะที่อัตราร้อยละจะแบ่งปริมาณทั้งหมดออกเป็น 100 ส่วน นอกจากนั้น อัตราส่วนอาจสามารถเปรียบเทียบปริมาณได้มากกว่าสองอย่างซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่นสูตรอาหาร หรือการผสมสารเคมี เป็นต้น
อัตราส่วน 2:3 (สองต่อสาม) หมายความว่าปริมาณทั้งหมดประกอบขึ้นจากวัตถุแรก 2 ส่วนและวัตถุหลังอีก 3 ส่วน ดังนั้นปริมาณวัตถุจะมีทั้งหมด 5 ส่วน หรืออธิบายให้เจาะจงกว่านี้ ถ้าในตะกร้ามีแอปเปิล 2 ผลและส้ม 3 ผล เรากล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างแอปเปิลกับส้มคือ 2:3 ถ้าหากเพิ่มแอปเปิลอีก 2 ผลและส้มอีก 3 ผลลงในตะกร้าใบเดิม ทำให้ในตะกร้ามีแอปเปิล 4 ผลกับส้ม 6 ผล เป็นอัตราส่วน 4:6 ซึ่งก็ยังเทียบเท่ากันกับ 2:3 (แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนก็สามารถลดทอนได้เหมือนกับเศษส่วน) ซึ่งในกรณีนี้ 2/5 หรือ 40% ของผลไม้ทั้งหมดคือแอปเปิล และ 3/5 หรือ 60% ของผลไม้ทั้งหมดคือส้ม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัตราส่วน 2:3 ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับเศษส่วน 2/3ในทางวิทยาศาสตร์ อัตราส่วนของปริมาณทางกายภาพมักจะถูกทำให้เป็นจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง เช่น อัตราส่วนของ เมตรต่อ 1 เมตร (อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมีของรูปวงกลม) เท่ากับจำนวนจริง ด้วยเหตุจากนิยามของการวัดที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเป็นการประมาณอัตราส่วนระหว่างปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกันในทางพีชคณิต ปริมาณสองชนิดที่มีอัตราส่วนเป็นค่าคงตัว คือความสัมพันธ์เชิงเส้นชนิดพิเศษเรียกว่า สัดส่วน (proportionality)
ลักษณะของอัตราส่วนจะอยู่ในรูปของเศษส่วน เช่น a/bหรืออาจจะอยู่ในรูป a:b (เรียกว่า a ต่อ b หรืออัตราส่วน a ต่อ b โดยมี เป็นฐาน (base))
ตัวอย่างที่ 1
3/4เรียกว่า 3 ต่อ 4 หรือ 3:4 มี 4 เป็นฐาน
5/2 เรียกว่า 5 ต่อ 2 หรือ 5 : 2 มี 2 เป็นฐาน
ถ้าเปรียบเทียบกับฐาน 100 เรียกว่า ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างการเปรียบเทียบข้อมูล
ในปีการศึกษา 2537 วิทยาลัยแห่งหนึ่งมีจำนวนนักศึกษา 5,200 คน โดยมีเพศชายจำนวน 1,550 คน และเพศหญิงจำนวน 4,650 คน จำนวนนักศึกษาของวิทยาลัยแห่งนี้จะมีอัตราส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงจะเป็น 1,550 : 4,650 หรือ 1 : 3 ซึ่งเป็นการเปรียบจำนวนของนักศึกษาอย่างเดียว
ในปี พ.ศ 2535 การส่งออกสินค้าชนิดหนึ่ง 120 คิดเป็นมูลค่า 240 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 360 ล้านบาท และในปี พ.ศ 2537 ส่งออก 200ล้านบาท มูลค่าการส่งออกของสินค้าชนิดนี้จะมีอัตราส่วนของปี 2533,2536 และปี 2537 จะเป็นดังนี้
120 : 240 : 360 หรือ 1 : 2 : 3
ลักษณะของอัตราส่วนที่เปรียบความสัมพันธ์ของข้อมูลชนิดต่อหนึ่งหน่วยของข้อมูลชนิดหนึ่ง เรียกว่า อัตรา ( Rate ) เช่นเปรียบเทียบระยะทางกันหนึ่งหน่วยของเวลาคือ อัตราความเร็วเปรียบเทียบรายได้ของประชากรต่อเวลาหนึ่งเดือนเป็น อัตราเงินเดือน
ตัวอย่าง 2
เชิงชายขับรถจากกรุงเทพฯ เพื่อไปชมการแข่งขันซีเกมส์ที่เชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทาง 970 กิโลเมตร เขาใช้เวลาในการเดินทาง 10 ชั่วโมง ดังนั้นเชิงชายขับรถไปเชียงใหม่ด้วยอัตราความเร็ว 97 ก.ม. / ช.ม.
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA
สัดส่วน ( Proportion )
สัดส่วนจะมีลักษณะเป็นอัตราส่วนประเภทหนึ่ง แต่เป็นอัตราส่วนระหว่างส่วนหนึ่งของข้อมูลต่อข้อมูลทั้งหมด ฉะนั้นสัดส่วนจะมีค่าน้อยกว่าหนึ่งเสมอ เช่น a และ %E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99b เป็นข้อมูลของประชากร คือ กลุ่มหนึ่งมีข้อมูล a หน่วย และกลุ่มที่สองมีจำนวนข้อมูล b หน่วย ประชากรทั้งหมดคือ a + b
สัดส่วนของกลุ่มที่ 1 คือ a/(a+b)
สัดส่วนของกลุ่มที่ 2 คือ b/(a+b)
ตัวอย่างที่ 3 ในการสมัครนักศึกษาสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีของสถาบันแห่งหนึ่ง มีผู้สมัครจำนวน 1,506 คน โดยมีเพศชายจำนวน 502 คน เพศหญิงจำนวน 1,004 คน นำมาหาสัดส่วนได้ดังนี้
สัดส่วนของเพศชาย =502 / 1506 = 1/3
สัดส่วนเพศหญิง = 1004 / 1506 =2 / 3
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/2.11.html
คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่าการเปรียบเทียบสัดส่วน ของ IQ : EQ เปรียบเทียบได้ในรูปแบบอื่นได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. หน่วยของข้อมูลในการเปรียบเทียบสัดส่วน อัตราส่วนควรเปรียบเทียบในลักษณะใด
ข้อเสนอแนะ ครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งที่เสริมสร้าง EQ และจะเป็นแนวทางลดปัญหาความรุนแรงทั้งเด็กและวัยรุ่น
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
เพลงแม่ https://www.youtube.com/watch?v=t_kmz_MAJVQ
ที่มาของภาพ https://monthip.diaryclub.com/images/20100812_mom-77.jpg
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/mom(1).jpg
ที่มาของภาพ https://2.bp.blogspot.com/_1Z5_frqW26w/TFGfoHky7VI/AAAAAAAAMFY/XU9mAhk1Wt0/s400/golden-ratio.jpg
ที่มาของภาพ https://www.igetweb.com/www/jaturas/private_folder/4.11.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4714