มวยไทยกับ "ไอบา"


899 ผู้ชม


การตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินและกรรมการให้คะแนนในการชกมวยสากลชิงชนะเลิศโอลิมปิกรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัม   

มวยไทยกับ "ไอบา"

มวยไทยกับ "ไอบา"การตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินและกรรมการให้คะแนนในการชกมวยสากลชิงชนะเลิศโอลิมปิกรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัม ซึ่งแก้ว พงษ์ประยูร แพ้ซู ชิ หมิง นักมวยจากประเทศจีน 
การให้คะแนนที่ไม่ตรงกันกับความเห็นของผู้ชมคนไทย การทำหน้าที่บนเวทีของผู้ตัดสินที่มีปัญหามาก่อนหน้านี้น้ำหนักของข้อสงสัยก็เพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมา สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติหรือไอบา ถูกข้อครหาในเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่เปิดเผย การตัดสินที่ไม่ได้มาตรฐาน ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และการเมืองภายในของไอบา การเลือกยืนกับข้างที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ส่งผลอย่างไรต่อการตัดสินในครั้งนี้หรือครั้งที่ผ่านๆ มาหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงกันต่อไป 
สิ่งที่คนทั่วไปเห็นพ้องกันประการหนึ่งก็คือ จะต้องมีการชำระสะสางให้เกิดความโปร่งใสในไอบาในอนาคตเพื่อป้องกันมิให้ศรัทธาต่อวงการมวยสากลสมัครเล่นตกต่ำไปมากกว่านี้และหากไทยในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทำงานที่ไม่โปร่งใสของไอบา ต้องการจะเข้าไปร่วมกระบวนการตรวจสอบนี้ด้วยสิ่งแรกที่พึงดำเนินการก็คือสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน รวมทั้งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในที่ดำรงอยู่ในสมาคมมวยสมัครเล่นของไทยเสียเองก่อนเพราะความตกต่ำที่เกิดขึ้นกับกีฬามวยสากลสมัครเล่นของไทย มิได้เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกอย่างไอบาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเพราะความขัดแย้งจากการจัดการผลประโยชน์ภายในไม่ลงตัวด้วยจะสามารถผลิตนักกีฬาที่เป็นอนาคต จะมีอำนาจต่อรองกับภายนอกได้ภายในต้องเข้มแข็งเป็นอันดับแรก 
 
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5UQTFORFV3TVE9PQ==&sectionid=
ที่มาของภาพ https://www.siamrath.co.th/web/sites/default/files/5_297.jpg
ที่มาของภาพ https://www.naewna.com/uploads/userfiles/images/2_opt(60).jpg

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความน่าจะเป็น (probability)

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
- บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
- นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
- ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
- ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า

คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นมวยไทยกับ "ไอบา"ของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5 
ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 
ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 
ในทางคณิตศาสตร์ เราหา "ค่าของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ซึ่ง ไม่ทราบแน่ว่าจะเกิดหรือไม่" ได้โดยพิจารณา "น้ำหนัก" ที่เหตุการณ์นั้นๆ จะเกิด ถ้ากำหนดให้น้ำหนักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีค่าเป็น 0 น้ำหนัก ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่มีค่าเป็น 1  
และน้ำหนักของเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นมีค่าเป็นจำนวนเลขที่อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 เราจะมีตัวเลขมากมายนับ ไม่ถ้วน แสดงค่าของน้ำหนัก หรือโอกาสที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ และเรียกค่าของน้ำหนักนี้ว่า "ค่าของความน่าจะเป็น" 
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ ถ้าเหรียญนั้นไม่ได้มีการถ่วง ให้หน้าใดง่ายง่ายกว่าหน้าอื่นก็เชื่อว่า "น้ำหนัก" ของการที่เหรียญจะ หงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน 
ผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 2 อย่าง คือเหรียญหงายหัวหรือเหรียญ หงายก้อยซึ่งอาจเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่า ๆ กัน 
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว=โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย 
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว = 1/2 
โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย = 1/2 
เรากล่าวว่า ความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายหัวมีค่า 1/2 
และความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายก้อยมีค่า 1/2 
ในการทอดลูกเต๋าลูกหนึ่ง เมื่อลูกเต๋านั้น ๆ มีหน้าใหญ่เท่า ๆกัน และไม่มีการถ่วงให้หน้าใดหงายง่ายกว่าหน้าอื่น ก็เชื่อได้ว่า "น้ำหนัก" ของการที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน 
ผลที่ลูกเต๋าจะขึ้นหน้าต่าง ๆ ทั้งหมดมี 6 อย่าง คือ อาจขึ้นหน้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หรือหก ด้วยความน่าจะเป็นเท่า ๆ กัน คือ 1/6 
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ และเหรียญห้าบาทหนึ่งเหรียญ พร้อม ๆ กัน เหรียญย่อมหงายได้ 4 อย่าง 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญใดจะหงายหัวหรือก้อยมีเท่า ๆ กัน คือ 1/2 สำหรับ แต่ละเหรียญ เราใช้ทฤษฎีของความน่าจะเป็นคำนวณค่าของความน่าจะเป็น ได้ดังนี้ 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายหัว = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายก้อย = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญหนึ่งหงายหัวกับอีก 
เหรียญหนึ่งหงายก้อย = 1/2 
มวยไทยกับ "ไอบา"นอกจากเรื่องโยนลูกเต๋า โยนเหรียญ จับสลาก แจกไพ่แล้ว ยัง มีเรื่องอื่น ๆ อีกมาก ที่มีผลการเกิดซึ่งบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะให้ผลอย่าง ไร ทางคณิตศาสตร์จึงต้องใช้สัญลักษณ์มาช่วยจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง 
และอาศัยกฎเกณฑ์ของคณิตศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ ทำให้ เกิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่สามารถนำไปหาค่าความน่าจะเป็นของเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับความไม่แน่นอนทั้งหลายได้ และสามารถใช้ค่าเหล่านี้คำนวณหาค่าอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ 
เช่น ใช้ค่าของความน่าจะเป็นที่จะมีลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้าน เพื่อหาว่าโดยเฉลี่ยจะ มีลูกค้าเข้ามาซื้อของกี่คน 
นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้กำเนิดเรื่องของความน่าจะเป็น เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว 
แต่เพิ่งจะได้มีการศึกษาโดยละเอียดและนำไปใช้เมื่อประมาณ 40 ปีมานี้เอง ปัจจุบัน เรื่องราวของความน่าจะเป็น มีความสำคัญอย่างมาก การค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการคาดคะเน จะต้องอาศัยเรื่องของความน่าจะเป็นทั้งสิ้น 
เช่น การเกษตร การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีทุกสาขา ความน่าจะเป็นบางเรื่องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชามาเกี่ยว โยงกัน และยังมีเรื่องต้องศึกษาค้นคว้าอีกมาก 
ที่มาของข้อมูล  https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even.htm
ความน่าจะเป็น
การทดลองสุ่ม ( random experiment )
 คือการทดลองที่ไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่าง การโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าเหรียญจะหงายหัวหรือก้อย 
การทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าลูกเต๋าจะขึ้นแต้ม 1 , 2 , 3 , 4 , 5 หรือ 6 
แซมเปิลสเปซ ( sample space ) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม 
ตัวอย่าง เช่น ในการโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง ถ้ามีผลลัพธ์ที่เราสนใจคือ การขึ้นหัวหรือก้อย
จะได้แซมเปิลสเปซ คือ {(H,H), (H,T), (T,H), (T,T)} เมื่อ (H,T) หมายถึงเหรียญอันที่ 1 ขึ้นหัว และเหรียญอันที่ 2 ขึ้นก้อย 
ในการโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง ถ้ามีผลลัพธ์ที่เราสนใจคือ จำนวนก้อยที่ขึ้น จะได้แซมเปิลสเปซ คือ { 0 , 1 , 2 } 
เมื่อ 0 หมายถึงไม่ขึ้นก้อยทั้ง 2 อัน (นั่นคือขึ้นหัวทั้งสองอัน)
1 หมายถึงขึ้นก้อยเพียง 1 อัน (ขึ้นหัว 1 อัน)     
2 หมายถึงขึ้นก้อยทั้ง 2 อัน 
เหตุการณ์ ( event ) คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ 
ความน่าจะเป็น ของเหตุการณ์ คือ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สนใจเท่ากับเท่าใด

หลักการหาความน่าจะเป็น
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซ ซึ่งแต่ละผลลัพธ์ใน S มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน       
E เป็นสับเซตของ S 
ให้ P(E) เป็นสัญลักษณ์แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เราสามารถหา P(E) ได้ดังนี้ 
P(E) = จำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ E / จำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ S =n(E) / n(S)
ตัวอย่าง กล่องใบหนึ่งมีลูกแก้วสีขาว 3 ลูก สีแดง 2 ลูก หยิบลูกแก้วจากกล่อง 2 ลูก 
จงหาเหตุการณ์ที่จะได้ลูกแก้วสีขาว 1 ลูก สีแดง 1 ลูก 
เนื่องจากเราสนใจแซมเปิลสเปซของลูกแก้วแต่ละลูกที่ถูกหยิบขึ้นมา 
ดังนั้นเราให้ ข1 , ข2 , ข3 เป็นลูกแก้วสีขาว 3 ลูก และ ด1 , ด2 เป็นลูกแก้วสีแดง 2 ลูก 
แซมเปิลสเปซ S = { ข12 ,ข1, ข1,ข12, ข23 , ข2, ข2, ข3, ข32 , ด12 } 
ให้ A เป็นเหตุการณ์ที่ผลลัพธ์เป็นลูกแก้วสีขาว 1 ลูก และสีแดง 1 ลูก 
เหตุการณ์ A = { ข1, ข1, ข2, ข22 , ข31, ข3}

แบบฝึกทักษะ 
1. ในการโยนเหรียญ 2 เหรียญ 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่ขึ้นหัวหรือก้อยต่างกันเท่ากับเท่าไร 
2. ครอบครัวหนึ่งต้องการมีบุตร 3 คน จงหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดบุตรหญิงอย่างน้อย 1 คน
3. จะจัดนักเรียนชาย 4 คน และหญิง 5 คน เข้านั่งรอบโต๊ะกลม จงหาความน่าจะเป็นที่ในการนั่งครั้งนี้ที่ไม่มีหญิงสองคนใดนั่งติดกัน 4. แก้วน้ำขนาดเท่าๆกัน 8 ใบ เป็นสีแดงเหมือนกัน 4 ใบ สีขาวเหมือนกัน 4 ใบ ถ้านำแก้วน้ำเหล่านี้มาเรียงเป็นแถวยาว ความน่าจะเป็นที่แก้วน้ำสีแดงอยู่หัวและท้ายแถวมีค่าเท่าใด 
5. ร้านค้าแห่งหนึ่งต้องการพนักงานขายของหน้าร้าน 4 คน มีผู้มาสมัคร 12 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 7 คน โอกาสที่จะได้พนักงานเป็นชายอย่างน้อย 1 คน เท่ากับเท่าใด 
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/seventh.html

คำถามในห้องเรียน
มวยไทยกับ "ไอบา"การชกมวยในแต่ละครั้งผลการตัดสินเป็นไปได้กี่อย่าง อะไรบ้าง สำหรับการชกครั้งนี้ถ้าไม่มีผลประโยชน์หรือปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง นักเรียนคิดว่าาใครควรเป็นผู้ชนะและเพราะอะไร ร่วมกันอภิปราย

ข้อเสนอแนะ
การทำให้เกิดความโปร่งใสในไอบาจะทำได้หรือไม่และยังคงมีความศรัทธาต่อวงการมวยสากลสมัครเล่นแค่ไหนคงต้องดูต่อไปในอนาคตของไอบา

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                     

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 4  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.2   ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1  เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม  

สรุปแล้ว การตัดสินครั้งนี้เป็นสิ่งที่ควรจะเป็นและสิ่งที่ถูกต้องหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ คงต้องตัดสินกันเอง

ที่มาของภาพ https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/prob9.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSBpPh6nl9Wbnam3Xv61eDSO42bEn7Ud36UkJmmvZLunP_LH8mv0SMAlgxs5A
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/2112.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4719

อัพเดทล่าสุด