กองทัพหนอนบุกกัดกินนาบัวอ่างทองพินาศยับ


838 ผู้ชม



กองทัพหนอนบุกกัดกินนาบัว ของเกษตรกร จังหวัดอ่างทอง ทำให้นาบัว 50 ไร่ เสียหายยับเยิน   

กองทัพหนอนบุกกัดกินนาบัวอ่างทองพินาศยับ

เกษตรกรนาบัว  จังหวัดอ่างทอง  เจอปัญหาหนัก หลังจากที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน กองทัพหนอน ขนาดใหญ่นับล้านตัว บุกกัดกินบัวในนาบัว  ทำให้นาบัว  50  ไร่  ที่เคยเก็บบัวได้วันละ  300 – 400 กิโลกรัม  เหลือเก็บวันละ  100  กิโลกรัม  รายได้ที่เคยได้ต้องนำไปซื้อยาฆ่าแมลง ครั้งละ  3-4 พันบาท  แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะหนอนเข้าไปหลบใต้ใบบัว ทำให้หนอนไม่ตาย ส่งผลให้รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย

https://www.thairath.co.th/content/edu/285493

https://www.thairath.co.th/media/content/2012/08/22/285493/o2/420.jpg

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การวัด

                หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญ ที่ควรรู้จัก

ระบบความยาวของไทย

                                             12   นิ้ว                  เท่ากับ      1      คืบ

                                               2   คืบ                 เท่ากับ      1      ศอก

                                              4  ศอก                 เท่ากับ      1      วา

                                                 20   วา              เท่ากับ      1      เส้น

                                                400    เส้น         เท่ากับ      1      โยชน์

 

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก

                1              ตารางเซนติเมตร                 เท่ากับ    100         หรือ        102           ตารางมิลลิเมตร

                1              ตารางเมตร                           เท่ากับ    10,000   หรือ        104           ตารางเซนติเมตร

                1              ตารางกิโลเมตร                    เท่ากับ    1,000,000 หรือ   106           ตารางเซนติเมตร

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ

                1              ตารางฟุต                               เท่ากับ    144         หรือ        122           ตารางนิ้ว

                1              ตารางหลา                             เท่ากับ    9              หรือ        32            ตารางนิ้ว

                1              เอเคอร์                                   เท่ากับ    4, 840    ตารางหลา

                1              ตารางไมล์                             เท่ากับ    640         เอเคอร์

หรือ        1              ตารางไมล์                             เท่ากับ    1, 7602       ตารางหลา

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย

                100         ตารางวา                                เท่ากับ    1              งาน

                4              งาน                                        เท่ากับ    1              ไร่

หรือ        400         ตารางวา                                เท่ากับ    1              ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

                1              ตารางวา                                เท่ากับ    4              ตารางเมตร

                1              งาน                                        เท่ากับ    400         ตารางเมตร

หรือ        1              ไร่                                           เท่ากับ    1, 600    ตารางเมตร

                1              ตารางกิโลเมตร                    เท่ากับ    625         ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษกับระบบเมตริก ( โดยประมาณ )

                1              ตารางนิ้ว                               เท่ากับ    6.4516   ตารางเซนติเมตร

                1              ตารางฟุต                               เท่ากับ    0.0929   ตารางเมตร

                1              ตารางหลา                             เท่ากับ    0.8361   ตารางเมตร

                1              เอเคอร์                                   เท่ากับ    4046.856 ตารางเมตร ( 2. 529 ไร่ )

                1              ตารางไมล์                             เท่ากับ    2.5899   ตารางกิโลเมตร


 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนหน่วย       

1.  การเปลี่ยนจากหน่วยย่อยเป็นหน่วยใหญ่  ใช้วิธีการหาร  เช่น 

(1)      จากนิ้วเป็นหลา  ต้องเปลี่ยนนิ้วเป็นฟุตก่อนโดยการนำ  12   ไปหารจำนวนนิ้ว  เนื่องจาก  12  นิ้วเท่ากับ  1 ฟุต  ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนฟุต  แล้วนำ  3  ไปหาจำนวนฟุต  เนื่องจาก  3  ฟุตเท่ากับ  1  หลา  จึงได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนหลา

(2)      จากเซนติเมตรเป็นกิโลเมตร  ต้องเปลี่ยนจากเซนติเมตรเป็นเมตร  โดยการนำ 100   ไปหารจำนวนเมตร เนื่องจาก  100  เซนติเมตร  เท่ากับ  1  เมตร  ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเมตร  แล้วนำ 1,000  ไปหารจำนวนเมตร เนื่องจาก  1,000  เมตร เท่ากับกิโลเมตร  จึงได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนกิโลเมตร

2.   การเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อย  ใช้วิธีการคูณ  เช่น

(1)    จากกิโลเมตรเป็นเมตร โดยการนำ  1,000 ไปคูณจำนวนกิโลเมตร  เนื่องจาก  1  กิโลเมตร เท่ากับ 1,000  เมตร  ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเมตร

(2)   จากเส้นเป็นศอก ต้องเปลี่ยนจากเส้นเป็นวา  โดยการนำ 20 ไปคูณ  จำนวนเส้น เนื่องจาก  1  เส้น  เท่ากับ  20  วา

ตัวอย่างที่  1         เชือกเส้นหนึ่งยาว 100 นิ้ว   คิดเป็นความยาวกี่ฟุต    

                วิธีทำ    เปลี่ยนจากนิ้วเป็นเมตร เนื่องจาก 12  นิ้วเท่ากับ 1 ฟุต    โดยการนำ  12  ไปหารจำนวนนิ้ว    ได้ผลลัพธ์เป็นฟุต

ตัวอย่างที่  2         ความเร็วของรถยนต์ที่วิ่งบนทางด่วนประมาณ   50 ไมล์ต่อชั่วโมงคิดเป็นกี่หลาต่อชั่วโมง

                วิธีทำ    เปลี่ยนจากไมล์เป็นหลา   เนื่องจาก   1  ไมล์  เท่ากับ  1,750  หลา   โดยการนำ 1,750  หลา   ไปคูณจำนวนไมล์    ได้ผลลัพธ์เป็นหลา

                                จะได้     50  1,750      =  88,000  หลา

ใบงานที่  1

เรื่อง   การเปลี่ยนหน่วยพื้นที่

จงเปลี่ยนหน่วยพื้นที่ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ให้มีหน่วยเป็นตารางวาและไร่

1)  พื้นที่  520  ตารางเมตร

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

2)  พื้นที่  6,820  ตารางเมตร

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

3)  พื้นที่  8,520  ตารางเซนติเมตร

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

จงเปลี่ยนหน่วยพื้นที่ที่กำหนดให้  ให้มีหน่วยเป็นตารางเมตร

5)  พื้นที่  35  ตารางวา

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

6)  พื้นที่  20   งาน   28  ตารางวา

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

7)  พื้นที่   6  ไร่  1  งาน

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………….

คำถามชวนคิด

            1.นาบัวของเกษตรกร มีพื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร

            2.จำนวนบัวที่เก็บได้ในแต่ละวันของเกษตรกรท่านนี้ เฉลี่ยไร่ละกี่กิโลกรัม

            3.เกษตรกรนาบัว ซื้อยาฆ่าแมลงที่ใช้ในการปราบหนอนยักษ์ เฉลี่ยไร่ละกี่บาทต่อครั้ง

            4.รายได้ของบัวของเกษตรกรท่านนี้ ก่อนและหลังจากที่เกิดปัญหาหนอนกินบัวต่างกันคิดเป็นร้อยละเท่าใด (ตอบเป็นค่าประมาณ)

            5.ถ้าเกษตรนาบัวขายบัวกิโลกรัมละ 3  บาท  ในเวลา 1 เดือน  เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณกี่บาท

 

กิจกรรมเสนอแนะ

            แบ่งกลุ่มนักเรียนสร้างสถานการณ์ในกรณีที่เป็นเจ้าของนาบัว  คำนวณหาต้นทุน ผลกำไร  ขาดทุน  (เนื้อหา อัตราส่วนและร้อยละ)

 

บูรณาการกับสาระอื่น ๆ

            กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์            วงจรชีวิตของหนอน

            กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ          อาชีพ

            กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ       ผลผลิตจากดอกบัว
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4772

อัพเดทล่าสุด