มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลก


1,106 ผู้ชม



เป็นส่วนหนึ่งที่หลุดออกไปจากโลกในขณะที่โลกกำลังหมุนอย่างรวดเร็วและชนเข้ากับวัตถุอื่น   

"ดวงจันทร์" เกิดจากโลก
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลกคณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐเสนอทฤษฎีใหม่ว่า ดวงจันทร์เกิดจากโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งที่หลุดออกไปจากโลกในขณะที่โลกกำลังหมุนอย่างรวดเร็วและชนเข้ากับวัตถุอื่น
คณะนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ระบุในวารสารไซเอินซ์ว่า ทฤษฎีนี้จะใช้อธิบายได้ว่าเหตุใดโลกและดวงจันทร์จึงมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกัน พวกเขาตั้งทฤษฎีว่า ในช่วงเวลานั้นโลกหมุนรอบตัวเองเร็วมาก หนึ่งวันอาจกินเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง จากนั้นโลกได้ชนเข้ากับวัตถุอื่น ทำให้บางส่วนของโลกหลุดออกไปก่อตัวเป็นดวงจันทร์ ต่อมาโลกค่อย ๆ หมุนรอบตัวเองช้าลงจนถึงระดับปัจจุบัน อันเป็นผลจากแรงดึงดูดขณะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทฤษฎีนี้ตรงกันข้ามกับทฤษฎีปัจจุบันที่เชื่อกันว่า ดวงจันทร์เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุขนาดใหญ่ที่ชนเข้ากับโลก
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1EVXpOREU1Tnc9PQ==&sectionid=

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
 
ความหมายของศัพท์ตรรกศาสตร์ 
คำว่า “ตรรกศาสตร์”
 ได้มาจากศัพท์ภาษาสันสฤตสองศัพท์ คือ ตรฺรก และศาสตฺร ตรรก หมายถึง การตรึกตรอง ความคิด ความนึกคิด และคำว่า ศาสตฺร หมาย
ถึง วิชา ตำรา รวมกันเข้าเป็น “ตรรกศาสตร์” หมายถึง วิชาว่าด้วยความนึกคิดอย่างเป็นระบบ ปราชญ์ทั่วไปจึงมีความเห็นร่วมกันว่า ตรรกศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วย การใช้กฎเกณฑ์การใช้เหตุผล
วิชาตรรกศาสตร์นั้นมีนักปราชญ์ทางตรรกศาสตร์ได้นิยามความหมายไว้มากมาย นักปราชญ์เหล่านั้น คือ 
1.พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นิยามความหมายว่า “ตรรกศาสตร์ คือ ปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยการวิเคราะห์และตัดสินความสม
เหตุสมผลในการอ้างเหตุผล” 
2.กีรติ บุญเจือ นิยามความหมายว่า “ตรรกวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล”
3.”Wilfrid Hodges” นิยามความหมายว่า “ตรรกศาสตร์ คือ การศึกษาระบบข้อเท็จจริงให้ตรงกับความเชื่อ” 
ประพจน์ (Proposition)
ประพจน์ คือ
 ประโยคที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
ประโยคเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้ 
      
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลกประโยคต่อไปนี้เป็นประพจน์ 
จังหวัดชลบุรีอยู่ทางภาคตะวันออกของไทย( จริง ) 
5 × 2 = 2 + 5( เท็จ ) 
ประโยคไม่เป็นประพจน์ 
โธ่คุณ ( อุทาน ) 
กรุณาปิดประตูด้วยครับ ( ขอร้อง ) 
ท่านเรียนวิชาตรรกวิทยาเพื่ออะไร ( คำถาม ) 
     
ประโยคเปิด (Open sentence)
บทนิยาม ประโยคเปิดคือ ประโยคบอกเล่า ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรหนึ่งหรือมากกว่าโดยไม่เป็นประพจน์ แต่จะเป็นประพจน์ได้เมื่อแทนตัวแปรด้วยสมาชิกเอกภพ
สัมพัทธ์ตามที่กำหนดให้ นั่นคือเมื่อแทนตัวแปรแล้วจะสามารถบอกค่าความจริง
ประโยคเปิด เช่น
1. เขาเป็นนักบาสเกตบอลทีมชาติไทย
2. x + 5 =15
3. y < - 6
ประโยคที่ไม่ใช่ประโยคเปิด เช่น
1. 10 เป็นคำตอบของสมการ X-1=7
2. โลกหมุนรอบตัวเอง
3. จงหาค่า X จากสมการ 2x+1=8
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลกตัวเชื่อม (connective)
1. ตัวเชื่อมประพจน์ ” และ ” ( conjunetion ) 
2. ตัวเชื่อมประพจน์ ” หรือ ” ( Disjunction ) 
3. ตัวเชื่อมประพจน์ “ ถ้า….แล้ว” Conditional) 
4. ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” (Biconditional) 
5. นิเสธ (Negation) ใช้สัญลักษณ์แทน ~ 
สัจนิรันดร์ (Tautology) และความขัดแย้ง (Contradiction)
1. สัจนิรันดร์ (Tautology) คือ รูปแบบประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอโดยไม่ขึ้นอยู่กับค่าความจริงของตัวแปรของแต่ละประพจน์ที่มีรูปแบบเป็นสัจนิรันดร์ เรียกว่า ประพจน์สัจนิรันดร์ (Tautology statement)
2.ความขัดแย้ง (Contradiction) คือ รูปแบบประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จเสมอโดยไม่ขึ้นอยู่กับค่าความจริงของตัวแปรของแต่ละประพจน์ย่อยประพจน์ที่มีรูปแบบ เป็นความขัดแย้ง เรียกว่า ประพจน์ความขัดแย้ง (Contradicithon statement) 
ตัวบ่งปริมาณ(Quantified statement)
ตัวบ่งปริมาณในตรรกศาสตร์ มี 2 ชนิด
 คือ         
1. ตัวบ่งปริมาณ "ทั้งหมด" หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการพิจารณาในการนำไปใช้อาจใช้คำอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกับ "ทั้งหมด" ได้ ได้แก่ "ทุก"   
"ทุก ๆ" "แต่ละ" "ใด ๆ" ฯลฯ เช่น คนทุกคนต้องตาย, คนทุก ๆ คนต้องตาย, คนแต่ละคนต้องตาย, ใคร ๆ ก็ต้องตาย          
2. ตัวบ่งปริมาณ "บาง" หมายถึง บางส่วนหรือบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการพิจารณา ในการนำไปใช้อาจใช้คำอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันได้ ได้แก่ 
"บางอย่าง" "มีอย่างน้อยหนึ่ง" เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิดออกลูกเป็นไข่, มีสัตว์มีกระดูกสันหลังอย่างน้อยหนึ่งชนิดที่ออกลูกเป็นไข่
การให้เหตุผล (Reasoning)
โดยทั่วไปกระบวนการให้เหตุผลมี 2 ลักษณะคือ
1.การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุ โดยนำข้อความที่กำหนดให้ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นจริง ทั้งหมด เรียกว่า เหตุ และข้อความจริงใหม่ที่ได้เรียกว่า ผลสรุป ซึ่งถ้า พบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้ แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล แต่ถ้าพบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลกตัวอย่าง 
เหตุ 1. คนทุกคนต้องหายใจ
      2 . นายเด่นต้องหายใจ 
ผลสรุป นายเด่นต้องหายใจ
จะเห็นว่า จากเหตุที่1 และเหตุที่ 2 บังคับให้เกิดผลสรุปดังนั้นการให้เหตุผลนี้สมเหตุสมผลสมเหตุสมผล
2.การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการให้เหตุผลโดยอาศัยข้อสังเกตหรือผลการทดลองจากหลายๆตัวอย่าง มาสรุปเป็นข้อตกลง หรือข้อคาดเดาทั่วไป หรือ คำพยากรณ์และจะต้องมีข้อสังเกต หรือ ผลการทดลอง หรือ มีประสบการณ์ที่มากพอที่จะปักใจเชื่อได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแน่ใจในผลสรุปได้เต็มที่เหมือนกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย เช่น เราเคยเห็นว่ามีปลาจำนวนมากที่ออกลูกเป็นไข่ เราจึงอนุมานว่า “ปลาทุกชนิดออกลูกเป็นไข่ ” ซึ่งกรณีนี้ถือว่าไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้เพราะข้องสังเกตหรือ ตัวอย่างที่พบว่ายังไม่มากพอที่จะสรุป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วมีปลาบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น
ตัวอย่างความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผลโดย
การใช้ความสัมพันธ์ระหว่างพจน์ ในการตรวจสอบความสมเหตุสมผล 
ตัวอย่าง
เหตุ คนไทยทุกคนเป็นผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
ชาวปากเซเป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส
ผล ชาวปากเซเป็นคนไทย
พจน์กลาง คือ คนยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นพจน์ไม่กระจาย ตรรกบทดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผล
ที่มาของข้อมูล https://logic-computer.blogspot.com/
แบบทดสอบ
1. [p -> (r / ~r)] / [~r V (q V ~q)] มีค่าตรงกับข้อใด
ก. ~r
ข. ~p
ค. q
ง. p V ~r
2. ถ้าค่าความจริงของ (A -> B) -> (A -> (B / C)) เป็นเท็จ  ประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้ มีค่าเป็นจริง
ก. (A / B) / C
ข. (A / ~B) / ~C
ค. ~(A / B) V C
ง. (A / ~B) V ~C
3. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้และสรุป
(1) กำหนด ~p / q เป็นจริง แล้ว (~p / q) -> (~p V q) มีค่าความจริงเป็นจริง
(2) กำหนด p / q เป็นจริง และ q -> r เป็นเท็จ แล้ว [(p / q) -> (q -> r)] <-> (q <-> r) มีค่าความจริงเป็นจริง
(3) ถ้า p / q เป็นจริง และ p -> (r V s) เป็นเท็จ แล้ว [(~p / q) -> t] <-> (r V ~s) มีค่าเป็นจริง
ก. ถูก 1 ข้อ
ข. ถูก 2 ข้อ
ค. ถูก 3 ข้อ
ง. ผิดทุกข้อ
4. ข้อใดเป็นนิเสธของข้อความ ถ้าวันนี้ฝนไม่ตก แล้วนายแดงจะไปเที่ยว
ก. วันนี้ฝนตก หรือนายแดงไปเที่ยว
ข. วันนี้ฝนไม่ตก และนายแดงไม่ไปเที่ยว
ค. วันนี้ฝนไม่ตก หรือนายแดงไปเที่ยว
ง. วันนี้ฝนตก และนายแดงไปเที่ยว
5. จงพิจารณาข้อความ
(1) (p -> ~p) <-> ~(p / q) เป็นสัจนิรันดร์
(2) [(p / ~q) -> ~p] -> (p -> q) เป็นสัจนิรันดร์
ข้อใดถูก
ก. (1) ถูกเพียงข้อเดียว
ข. (2) ถูกเพียงข้อเดียว
ค. (1) และ (2) ถูก
ง. (1) และ (2) ผิด
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสนอทฤษฎีใหม่ว่า "ดวงจันทร์" เกิดจากโลก6. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ก. [~p V (q / r)] <-> [p -> (q -> r)]
ข. [p / (~q / ~r)] V [(p -> q) V r]
ค. [(p -> q) / (p -> r)] <-> [p -> (q / r)]
ง. (p -> q) / (r V ~p) -> [p -> (q -> r)]
7. ประพจน์ใดเป็นสัจนิรันดร์
ก. (p -> q) <-> (p / ~q)
ข. (p <-> q) <-> (~p -> q)
ค. [(p / q) -> r] <-> [p -> (q -> r)]
ง. [~p / ~q] <-> [~p V ~q]
8. ประพจน์ใดมีค่าความจริงเป็นเท็จทุกกรณี
ก. (p -> q) -> (~q -> ~p)
ข. [(p -> r) / (q -> r)] <-> [(p V q) -> r]
ค. (~p -> ~q) -> (p -> q)
ง. [p / (p V q)] -> p
9. ถ้าประโยค นกมีหู หรือ หนูมีปีก มีค่าความจริงเป็นเท็จ แล้วข้อใดเป็นเท็จ
ก. นกมีหู และ หนูมีปีก
ข. นกมีหู ก็ต่อเมื่อ หนูมีปีก
ค. ถ้านกมีหู แล้วหนูมีปีก
ง. ถ้านกมีหู แล้วหนูไม่มีปีก
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สมมูลกัน
ก. p -> q : ~p V q
ข. ~ (~p) : p
ค. p <-> q : (p -> q) / (q -> p)
ง. p -> q : ~p / q
11. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สมมูลกัน
ก. p / q : q / p
ข. p V q : q V p
ค. p -> q : q -> p
ง. p <-> q : q <-> p
12. จากความจริงที่ว่าคนมีสองขา สุนัขมีสี่ขา จะสรุปได้ว่า
ก. ถ้า ก มีสองขา แล้ว ก เป็นคน
ข. ถ้า ก ไม่เป็นคน แล้ว ก ไม่มีสองขา
ค. ถ้า ก มีสี่ขา แล้ว ก เป็นสุนัข
ง. ถ้า ก ไม่มีขาแล้ว ก ไม่เป็นคน และไม่เป็นสุนัข
13. แม่สัญญากับลูกว่า ถ้าลูกสอบได้ที่หนึ่ง แม่จะให้รางวัล จะถือว่าแม่ผิดสัญญากรณีใด
ก. ลูกสอบได้ที่หนึ่ง และแม่ให้รางวัลลูก
ข. ลูกสอบตก และแม่ให้รางวัล
ค. ลูกสอบได้ที่สี่ และแม่ไม่ให้รางวัล
ง. ลูกสอบได้ที่หนึ่ง และแม่ไม่ให้รางวัล
ที่มาของข้อมูล https://www.gotoknow.org/blogs/posts/334106
คำถามในห้องเรียน
จากข้อค้นพบว่า "คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐเสนอทฤษฎีใหม่ว่า ดวงจันทร์เกิดจากโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งที่หลุดออกไปจากโลกในขณะที่โลกกำลังหมุนอย่างรวดเร็วและชนเข้ากับวัตถุอื่น"  นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อความเชื่อกับข้อค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ ให้ร่วมกันอภิปรายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข้อเสนอแนะ
ความเชื่อกับความจริง มีข้อเหมือนหรือข้อแตกต่างกันมีหลายปัจจัยในการพิจารณา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1  เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม   
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
ที่มาของภาพ https://www.dmc.tv/images/newsworld_1/newworld1/m04.jpg
https://www.thaigoodview.com/files/u56179/E2012.jpg
ที่มาของภาพที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/files/u40898/3_0.jpg
ที่มาของภาพ https://www.tewfree.com/wp-content/uploads/2011/07/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87.gif

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4792

อัพเดทล่าสุด