10 วิธี หนี ... สมองฝ่อ


1,042 ผู้ชม


ทำ 10 วิธี ให้สมองสดชื่นและคิดอะไรดีๆได้ตลอดไป   

10 วิธี หนีสมองฝ่อ 

10 วิธี หนี ... สมองฝ่อสมอง อวัยวะที่ถูกใช้กันทุกนาที ทุกวัน ทำงานแบบไม่มีวันหยุด สักวันหนึ่งถ้าเราไม่รีบหันมาดูแลใส่ใจ คงต้องแย่แน่ๆ ถ้าอยากให้สมองคุณมีความคิดดีๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ และแข็งแรงตลอดไป มาลองทำ 10 วิธี ให้สมองคุณสดชื่นและคิดอะไรดีๆได้ตลอดไปกันดู
1.ดื่มน้ำให้มากพอ 
        สมองของเราประกอบด้วยน้ำมากถึง 85% ดังนั้นถ้าร่างกายขาดน้ำเมื่อไหร่ สมองก็จะเฉื่อยชาช้าลงทันที ส่งผลให้คุณคิดอะไรไม่ค่อยออก คิดช้า แต่การ
ดื่มน้ำนั้น ในแต่ละคนจะมีความต้องการต่างกันซึ่งขึ้นอยู๋กับน้ำหนักตัว การเคลือนไหว การบริโภคและพฤติกรรมต่างๆ แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำวันละ 3-5 ลิตร ส่วนเด็ก 2-3 ลิตรก็พอ

2. หายใจให้ลึกๆ
 
        เพราะจะช่วยส่งพลังงานไปให้ถึงถึงสมอง ยิ่งถ้าคุณกำลังนั่งอยู่ด้วยล่ะก็ ควรนั่งให้หลังตั้งตรง เพราะจะช่วยเพิ่มให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น แต่
ถ้าจำเป็นต้องนั่งนานๆก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้น ยืดสายบ้าง เพื่อให้ปอดขยาย        

3.หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ

        จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ไปกระตุ้นให้จิตใตสว่างสดใสและช่วยดึงดูดสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

4.เลือกรับประทานอาหาร
 
        เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีเพื่อมาทดแทนไขมันในสมองส่วนที่สึกหรอ เช่น น้ำมันปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย ปลาแซลมอน อีฟนิ่งพริมโรสและ 
วิตามินซี

5.ออกกำลังกาย

        แน่นอนอยู่แล้วการออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายคุณแข็งแรงขึ้นอย่างแน่นอน สมองก็เช่นเดียวกันเมื่อมีการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของส
มองด้วย

6. ฝึกสมาธิให้สมองผ่อนคลาย
 
        เป็นการช่วยไม่ให้คุณและสมองเกิดการฟุ้งซ่าน ที่สำคัญจะช่วยให้มีจินตนาการดีๆและมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเลือกทำได้ทั้งตื่นนอนตอนเช้าหรือ
ก่อนนอนทุกวัน 
10 วิธี หนี ... สมองฝ่อ
 7. รู้จักให้อภัยและลดความโกรธ
 
        ความโกรธเหมือนเป็นของเสียและความร้อนทางอารมณ์ที่ไม่ควรเก็บไว้นานหรือไม่ให้เกิดขึ้นได้เลยยิ่งดี เพราะความโกรธจะทำให้สูญเสียพลังงานมาก
ขึ้นและสมองก็จะรับภาระทางความคิดมากขึ้นตามไปด้วย 

8. หาอะไรใหม่ๆ ให้ชีวิต
 
        อย่างการ รู้จักคนใหม่ๆ อ่านหนังสือเล่มใหม่ เปลี่ยนเส้นทางการขับรถใหม่ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆ กับเพื่อน สมองจะหลั่งสารแห่งความสุข (เอ็น
ดอร์ฟิน) และสารแห่งการเรียนรู้ โดปามีน ทำให้เกิดการอยากเรียนรู้อย่างมีความสุข 

9. เก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ในแต่ละวันลงหน้ากระดาษ

        จะช่วยทำให้สมองคิดในเชิงบวก และจดจำเรื่องราวดีๆในแต่ละวันเปิดอ่านครั้งใดก็สดชื่น

10. พักผ่อนให้เพียงพอ
 
        การนอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดและยังเป็นการยืดอายุให้สมองอยู่กับเราไปนานแสนนาน
ที่มาของข้อมูล https://www.manager.co.th/Taste/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120941

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
เลขฐานสิบ หรือ ทศนิยม (Decimal) หมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลข 10 ตัว คือ 0 - 9
สัญลักษณ์แทนเลขฐานสิบการเขียนจำนวนในรูปทศนิยมคือการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ ซึ่งมีสัญลักษณ์อยู่ 10 ตัว (0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9) 
และอาจมีการใช้ร่วมกับจุดทศนิยม สำหรับจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม และใช้สัญลักษณ์ + และ − เพื่อบอกค่าบวกและค่าลบ
เลขฐานสิบนี้เป็นเลขฐานปกติที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากมนุษย์มีสิบนิ้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีผู้ที่ใช้เลขฐานที่ไม่ใช่ฐานสิบ เช่น ชาวไนจีเรียใช้เลขฐาน
สิบสอง และชาวบาบิโลเนียนใช้เลขฐานหกสิบ และชาวเผ่ายูกิใช้เลขฐานแปด
สัญลักษณ์แทนเลขแต่ละหลักนั้น โดยทั่วไปจะใช้เลขอารบิก และเลขอินเดีย ซึ่งมาจากระบบเดียวกัน แต่มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/
%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A10 วิธี หนี ... สมองฝ่อ
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Number System)
ระบบเลขฐานสิบ เป็นระบบเลขที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนำไปใช้คำนวณประเภทใด โดยจะมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขต่างๆ ของเลขฐานสิบ (Symbol) 
จำนวน 10 ตัว ตัวเลขหรือที่เรียกว่า Digit ที่ใช้แทนระบบเลขฐานสิบ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 
ตัวเลขแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัว โดยกำหนดให้ค่าที่น้อยที่สุด คือ 0 (ศูนย์) และเพิ่มค่าทีละหนึ่ง จนครบจำนวน 10 ตัว ดังนั้นค่ามากที่สุด คือ 9 การนำตัวเลข
เหล่านี้ มารวมกลุ่มกัน ทำให้เกิดความหมายเป็น "ค่า" นั้น อาศัยวิธีการกำหนด "หลัก" ของตัวเลข (Position Notation) กล่าวคือ ค่าของตัวเลขจำนวนหนึ่ง 
พิจารณาได้จากสองสิ่งคือ 
•ค่าประจำตัวของตัวเลขแต่ละตัว 
•ค่าหลักในตำแหน่งที่ตัวเลขนั้นปรากฏอยู่ 
ที่มาของข้อมูล https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0002.html
ระบบเลขฐานสิบนี้เป็นระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9 
    เราสามารถนำเอาเลขโดดเหล่านี้มาประกอบกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนที่เราต้องการได้โดยใส่เลขโดดที่ต้องการลงไปในตำแหน่งหลักต่างๆ ซึ่งเลข
โดดแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัวเอง เช่น เลข 7 จะแทนค่าจำ นวน เจ็ดหน่วย ซึ่งเลขโดดเหล่านี้จะแทนค่าจำนวนต่างๆ ได้ 10 ค่า โดยเลข 0 จะแทนค่าจำนวนต่ำสุด เลขโดด 9 แทนค่าจำนวนสูงสุด แต่ถ้าเราต้องดารตัวเลขที่แทนค่าจำนวนที่มากกว่าสิบ เราก็สามารถทำได้โดยนำตัวเลข โดดเหล่านี้หลายตัวมาเขียนประกอบกันโดยกำหนดไว้ในหลักต่างๆ ซึ่งในแต่ละหลักนั้นก็จะมีค่าประจำหลัก ซึ่ง หลักขวาสุดจะมีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง หลักทางซ้ายถัดมาจะมีค่าประจำหลักเป็น 10 เท่า ของตำแหน่งขวาสุด เช่น 63 เลขโดด 3 อยู่หลักขวาสุดซึ่งเรียกว่า หลักหน่วย มีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง ดังนั้น 3 ใน 63 จะมีค่า แทนจำนวน 3 x 1 = 3 และ 6 ที่เป็นเลขโดดที่อยู่ทางซ้ายมือของ 3 มีค่าประจำหลักเป็น 10 ดังนั้น 6 ใน 63 จึงมีค่าแทนจำนวน 6 x 10 = 60 แสดงว่า 63 มีค่าเท่ากับ 60 + 3 = 63 เป็นต้น 
        10 วิธี หนี ... สมองฝ่อ ค่าประจำหลักของเลขหลักทางซ้ายมือจะมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าประจำหลักของหลักทางขวามือที่อยู่ติด กัน เมื่อเรากำหนดให้หลักต่างๆ โดยเริ่มจาก

หลักทางขวาไปซ้ายให้เป็น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน ..... จะเห็นว่า 
         หลักสิบ เป็น สิบเท่าของหลักหน่วย 
         หลักร้อย เป็น สิบเท่าของหลักสิบ 
         หลักพัน เป็น สิบเท่าของหลักร้อย 
         หลักหมื่น เป็น สิบเท่าของหลักพัน 
 

         เป็นเช่นนี้เรื่อยไป โดยเลขโดดตัวที่อยู่ทางซ้ายสุดเรียกว่า เลขโดดค่าสูงสุด ส่วนเลขโดดทางขวาสุด เรียกว่า เลขโดดค่าต่ำสุด
 
         เราสามารถเขียนค่าประจำหลักด้วยเลขยกกำลังของสิบได้ดังนี้


         หลักหน่วย (หลักที่ 1) ค่าประจำหลัก  100 
         หลักสิบ (หลักที่ 2) ค่าประจำหลัก  101 
         หลักร้อย (หลักที่ 3) ค่าประจำหลัก  102 
  .   
  .   
  .   
         หลักที่ n ค่าประจำหลัก  10n-1 
         ค่าของเลขฐานสิบนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง โดยมีค่าเพิ่มเรียงเป็นลำดับตั้งแต่ 0, 1, 2, 3, ..., 9 หลัง จากเลข 9 แล้ว ถ้าเพิ่มขึ้นอีก 1 จะทำให้ 9

คำถามในห้องเรียน 
1. ให้นักเรียนจับคู่ช่วยกันคิดว่าจะมีวิธีใดนอกเหนือจาก 10 วิธีข้างต้นที่จะช่วยทำให้สมองไม่ฝ่อ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
2. ให้นักเรียนแปลง 1960 เป็นเลขฐาน 2 และฐาน 8 แสดงวิธีทำและบอกขั้นตอนวิธีการคิด


ข้อเสนอแนะ

สรุป จะมีกี่วิธีที่จะหนีสมองฝ่อ ก็ไม่เท่ากับตัวเราทำจิตใจให้ร่าเริงไม่เครียด คิดดี ทำดี แล้วสิ่งที่ดีๆ ก็จะตามมาเอง
การบูณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4 การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
สาระที่  5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1  ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   
และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRvujHdNFtuL79486GonNEXZ7SlFJeGDDtBp_f5n8RJ3Jb_67fF
ที่มาของภาพ https://www.school.net.th/admin_file/images/elearning/elearning-20080908-181206.gif
ที่มาของภาพ https://4.bp.blogspot.com/-W8xnmO195HM/TVk0_aLnbkI/AAAAAAAAABs/eDLZ5fLDE1c/s1600/Untitled-2_26.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS7sRVSaLADMVCKVARJd7zHdYhwumutuEcxtQ0MfRxRBEFwefLHc0-jRy3g
ที่มาของภาพ https://hot.ohozaa.com/uploads/45d47612a44b536f05c38576f59f1ceb.jpg 
ที่มาของภาพ https://variety.teenee.com/science/img8/73040.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTCboPvOhZzqMhphMeCFud8oTMxVXn4OoQvf1PvGgSki4F0OF_y2Sc-aw7s
 

เปลี่ยนเป็น 0 พร้อมกับตัวทดอีก 1 ซึ่งตัวทดนี้จะเป็นค่าที่นำไปเป็น เลขโดดในหลักสิบมีค่า 1 เป็นเช่นนี้เรื่อยไป เช่นเดียวกันสำหรับในหลักสิบ ค่าเพิ่มไปจนถึง 9 ถ้าเกิน 9 ก็จะ เปลี่ยนเป็น 0 และทด 1 ไปยังหลักพันเป็นไปในทำนองเดียวกันนี้เรื่อยไป 
10 วิธี หนี ... สมองฝ่อ         จากที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะของเลขจำนวนเต็ม ถ้าเป็นเลขเศษส่วนหรือทศนิยมที่มีค่าน้อยกว่า 1 ค่าประจำหลักในส่วนของเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมนั้น
ยึดหลักการในทำนองเดียวกับจำนวนเต็มคือ แต่ละหลักที่อยู่ถัด ไปทางขวา จะเป็นเลขยกกำลังของ 10 โดยตัวชี้กำลังจะเริ่มจาก -1 แล้วลดทีละ 1 เป็นลำดับ เช่น 0.456 เลข โดด 4 ซึ่งเป็นเลขตัวเลขหลังจุดทศนิยมจะมีค่าประจำหลักเป็น 10-1 เลขโดด 5 ซึ่งเป็นเลขโดดทางขวาถัดมา จะมีค่าประจำหลักเป็น 10-2  เลขโดด 6 จะมีค่าประจำหลักเป็น10-3  ซึ่งเราสามารถเขียนแสดงค่า 0.456 ใน รูปกระจายตามค่าประจำหลักได้ดังนี้ 
0.456 = 4 x10-1  + 5 x10-2  + 6 x 10-3 
  = 0.4 + 0.05 + 0.006 
ที่มาของข้อมูล https://www.kroobannok.com/1683

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4791

อัพเดทล่าสุด