"ครูนาง แม่พระของเด็กสะพานพุทธ"


976 ผู้ชม


พลังใจจากเด็กเร่ร่อน   

"ครูนาง" สะพานพุทธ พลังใจจากเด็กเร่ร่อน 

         "เด็กเร่ร่อนคือมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ที่เขามาใช้ชีวิตอย่างนั้นเพราะไม่มีโอกาสเหมือนคนทั่วไป ถ้าได้มาสัมผัสกับน้องๆ เร่ร่อนกลุ่มนี้จะรู้ว่าเขามีจิตใจที่ดีงาม"คำพูดที่มาจากแววตาอันมุ่งมั่นและกำลังใจที่ล้น"ครูนาง แม่พระของเด็กสะพานพุทธ"หลามของหญิงแกร่ง ครูนาง นริศราภรณ์ อสิพงษ์ วัย 40 ปี ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อลูกศิษย์นอกรั้วโรงเรียน กว่า 10 ปีที่ครูนางคลุกคลีกับเด็กเร่ร่อนในพื้นที่สะพานพุทธเพื่ออุทิศตนเป็นครูช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนแถวสะพานพุทธให้คืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว จนมีผู้เรียกขานว่า "ครูนาง แม่พระของเด็กสะพานพุทธ" ครูนางได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย ครูใช้หลักการทำงานและสร้างกำลังใจจากสิ่งที่เราทำแล้วมีใจรัก เป็นงานที่ขาดไม่ได้ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและไม่สามารถถอนตัวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้มีกำลังใจ พร้อมที่จะทำงานต่อจนเสร็จสิ้น" 
         ครูนางบอกเล่าความรู้สึกงานที่ทำย่อมมีความยากลำบากจนเกิดความท้อ แต่สำหรับครูนางแล้วเธอไม่เคยถอย กำลังใจที่ล้นหลามจากเด็กๆ ที่เปรียบครูนางเป็นแม่ช่วยสร้างพลังให้ครูนางเดินหน้าต่อไป "หลายครั้งที่คิดจะเลิกล้มความตั้งใจ แรกๆ ครูคาดหวังการทำงานกับเด็กกลุ่มนี้ว่าจะต้องเป็นอย่างที่เรากำหนดไว้ แต่ก็ย้อนกลับมาคิดถึงมุมของเด็กซึ่งก็มีจิตใจเหมือนกัน บางทีเราไม่สามารถจะไปกำหนดชีวิตเขาได้เสมอไป แต่ด้วยกำลังใจจากน้องๆ ที่สะพานพุทธ และเมื่อลงไปช่วยจนสำเร็จอย่างต่อเนื่องทำให้ครูมีกำลังใจต่อสู้เพิ่มขึ้น" กว่าจะมาเป็นครูนางซึ่งได้รับการไว้ใจจากเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย มีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไข 
         "ครูนางสอนเสมอว่าเราเลือกเกิดไม่ได้ เราจึงต้องทำตัวเองให้เข้มแข็งก่อน เพราะปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ และทุกคนสามารถเปลี่ยน แปลงตัวเองได้ เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลาของมันเท่านั้น" 
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEkwTURVMU5nPT0=§ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB5TkE9PQ== ที่มาของภาพ https://www.kroobannok.com/news_pic/p40135941258.jpg
ที่มาของภาพ https://img7.imageshack.us/img7/8814/school1d.jpg

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)

                การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด
ตัวอย่างที่ 1      
เหตุ   1. สัตว์เลี้ยงทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
          2. แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
ผล     แมวทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
            
ตัวอย่างที่ 2       
เหตุ   1. นักเรียน ม.4ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
          2. สมชายเป็นนักเรียนชั้น ม.4
ผล    สมชายแต่งกายถูกระเบียบ
 
ตัวอย่างที่ 3      
เหตุ    1. วันที่มีฝนตกทั้งวันจะมีท้องฟ้ามืดครึ้มทุกวัน
           2. วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม
ผล     วันนี้ฝนตกทั้งวัน
        จากตัวอย่างจะเห็นว่าการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาสิ่งข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น จะเรียกว่าผล การสรุปผลจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
เป็นการสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล
             
ตัวอย่างที่ 4      
เหตุ    1. เรือทุกลำลอยน้ำได้
          2. ถังน้ำลอยน้ำได้
ผล      ถังน้ำเป็นเรือ
               การสรุปผลข้างต้นไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองจะเป็น แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆที่ลอยน้ำได้จะเป็นเรือเสมอไป 
ข้อสรุปข้างต้นเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
                หลักเกณฑ์และวิธีการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย เรียกว่า ตรรกศาสตร์นิรนัย ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ 
ตรรกบท (Syllogism)
ตรรกบทหนึ่ง ๆจะประกอบด้วยข้อความ 3 ข้อความ โดยที่ 2 ข้อความแรกเป็นข้อตั้ง และอีกข้อความหนึ่งเป็นข้อยุติ
ตรรกบท 1 ตรรกบท คือ การอ้างเหตุผลที่ประกอบด้วยพจน์ 3 พจน์ โดยมีพจน์ 2 พจน์ที่มีความสัมพันธ์กับพจน์ที่ 3 ในรูปของภาคประธาน หรือภาคแสดงต่อกันด้วย
                     
เหตุ    1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลือดอุ่น
           2. สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม
ผล     สุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น
ในการให้เหตุผลแบบนิรนัย รวมถึงจากตัวอย่าง จะเห็นว่า การยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับ ซึ่งจะเรียกว่า ผล การสรุปผลจะสรุปได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปได้อย่าง สมเหตุสมผล (Valid)
เหตุ      1. หมูอวกาศทุกตัวบินได้
             2. โน๊ตบินได้
ผล       โน๊ตเป็นหมูอวกาศ
 
          การสรุปในข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล (Invalid) แม้ว่าข้ออ้างทั้งสองจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่า หมูอวกาศบินได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นที่บินได้ต้องเป็นหมูอวกาศเสมอไป
ข้อสรุปดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผล
         สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ และการสรุปสมเหตุสมผล
         การตรวจสอบข้อความว่าสมเหตุสมผลนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ในที่นี้ จะนำเสนออยู่ 2 วิธี คือ การใช้แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ในการตรวจสอบ
และการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อความตรวจสอบ...
แนวคิด!!!
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
1. อาศัยหลักฐานจากความรู้เดิม
2. เริ่มต้นจากข้ออ้างซึ่งมีลักษณะทั่วไป (Universal) ไปสู่ข้อสรุปซึ่ง มีลักษณะเฉพาะ (particular)
3. ความน่าเชื่อถือของข้อสรุปอยู่ในขั้นความแน่นอน (Certainty)
4. ไม่ให้ความรู้ใหม่

ที่มาของข้อมูล https://sites.google.com/site/jirapornsringam/kar-hi-hetuphl-baeb-nirnay-deductive-reasoning
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความต่อไปนี้ ""เราเลือกเกิดไม่ได้ เราจึงต้องทำตัวเองให้เข้มแข็งก่อน เพราะปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ และทุกคนสามารถเปลี่ยน แปลงตัวเองได้ เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลาของมันเท่านั้น" 

ข้อเสนอแนะ
เกียรติบัตรหรือรางวัลใดๆ ไม่เท่ากับ แววตาอันมุ่งมั่นและกำลังใจที่ล้นหลามของครูนาง นริศราภรณ์ อสิพงษ์  
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน พ 1.1    เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่  2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง  ครอบครัว  เพศศึกษา  และมีทักษะในการดำเนินชีวิต


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4865

อัพเดทล่าสุด