เมืองโบราณดงเมืองแอมเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอิสาน เมืองโบราณดงเมืองแอม ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ พิกัดภูมิศาสตร์ของแหล่งโบราณคดีอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศา 49 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 48 ลิบดาตะวันออก ปัจจุบันอยู่เขตการปกครองของตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น การเดินทางเข้าถึงแหล่งโบราณดงเมืองแอม สามารถเดินทางโดย ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากตัวเมืองจังหวัดขอนแก่น กิโลเมตรที่ 44 ถนนทางเข้า 1.7 กิโลเมตร จะพบแนวคูและคันกำแพงดินที่ล้อมรอบเมืองโบราณ เดินทางต่อ 1.4 กิโลเมตรถึงเขตชุมชนของหมู่บ้านดงเมืองแอม ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกของดงเมืองแอมเป็นที่สูงแล้วค่อยๆ ลดระดับความสูงลาดเอียงลงมาทางเมืองโบราณที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มาทางทิศใต้และทิศตะวันตก ทางน้ำธรรมชาติสำคัญไหลผ่านตัวเมืองโบราณ ได้แก่ ห้วยเสือเต้น ซึ่งไหลผ่านเข้าทางด้านทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เมื่อลำนี้แยกไปสูบริเวณต่างๆ ของหมู่บ้านดงเมืองแอม และหมู่บ้านอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงก็ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น กุดน้ำใส กุดน้ำเขียว หนองก้านเหลือง หนองไก่ เป็นต้น ดินของหมู่บ้านดงเมืองแอม เป็นดินชุดโคราช ซึ่งเป็นดินตะกอน ลำน้ำเก่า เกิดอยู่บนลานตะพักลำน้ำระดับกลาง (Middle terrace) มีดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีน้ำตาลปนเทาเข้ม จัดเป็นดินที่มีความเป็นกรดมากจนถึงเป็นกลาง ส่วนชั้นล่างเป็นดินร่วมปนทราย สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม มีความเป็นกรดมาก ดินชุดโคราชปั้นดิน มีการระบายน้ำค่อนข้างดี น้ำสามารถดูดซึมผ่านได้เร็ว สามารถอุ้มน้ำได้ดี ปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินมีไม่มาก สภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมร้อนชื้นเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 3 ฤดู คือฤดูร้อน 3 เดือน ฤดูฝน 6 เดือน และฤดูหนาว 3 เดือน ในฤดูร้อนและฤดูหนาว จะมีความแห้งแล้งระยะยาวนานมาก ในฤดูฝนอากาศจะร้อนชื้น มีฝนตกจึงเป็นฤดูกาลทำการเพาะปลูกของประชาชนในท้องถิ่น พืชพันธุ์ พืชพันธุ์ที่เพาะปลูก ประกอบด้วยประเภทสำคัญๆ ดังนี้ - ข้าว การทำนาข้าวเป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจของชุมชนบ้านดงเมืองแอมนาข้าวปรากฏทั่วไปในพื้นที่เมืองโบราณและนอกเมืองโบราณ - พืชไร่ มีการปลูกทั้งภายในและนอกเขตเมืองโบราณ โดยเฉพาะในเขตเมืองโบราณ มีพืชไร่ปลูกมากได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ยูคาลิปตัส แตงโม พริก กล้วย - พืชสวน มีการปลูกกล้วยกระจายอยู่ทั่วไปในเขตเมืองโบราณ ปลูกกันมาก ได้แก่ ขนุน ชมพู่ มะม่วง น้อยหน่า ไผ่หลายชนิด สะเดา เป็นต้น - พืชพันธุ์ตามธรรมชาติ ต้นไม้ป่ามักพบหนาแน่นตามริมห้วยธรรมชาติ ตามแนวคันดินกำแพงเมืองโบราณตามที่ดอนในไร่นา ต้นไม้ชนิดยืนต้นที่พบมากๆ เป็นไม้พื้นเมือง เช่น ก้านเหลือง กระถินป่า เคี่ยม ประดู่ ตะโก ตะขบ ตะแบก พลวง มะค่า ยางนา รัง เป็นต้น วัตถุโบราณที่ค้นพบ วัตถุโบราณที่ค้นพบ อรวรรณ กองพิลา ถ่ายภาพ (พบกันใหม่ในภาคต่อไปค่ะ) ขนาดและที่ตั้ง เมืองโบราณดงเมืองแอมมีผังเมืองเป็นรูปร่างไม่สม่ำเสมอจัดเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างยาวตามทิศตะวันออก –ตกประมาณ 2,400 เมตร ตามทิศเหนือ-ใต้ ประมาณ 2,000 เมตร มีคูน้ำและคันดินล้อมอยู่โดยรอบตัวเมืองโบราณ
อ้างอิง กรมศิลปากร. โครงการศึกษาวิจัยเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณ ดงเมืองแอมและภู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น.พิพิธภัณฑ์จังหวัดขอนแก่น. 2540-๒๓ ถนนบ คำถามเพื่ออภิปรายรมร 1.1.ปัจจัยทางด้านภูมิอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนอย่างไร 2. ปัจจุบันเมืองโบราณดงเมืองแอมมีความสำคัญต่อสังคมไทยหรือไม่อย่างไร
เหมาะสำหรับช่วงชั้นที่ 3 บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
Link เพิ่มเติม https://images.google.co.th/imgres?imgurl=https://www.crma.ac.th/medept/news/act51/kon8.jpg&imgrefurl=https://www.crma.ac.th/medept/news/act51/act51.htm&usg=__H-xDRCKKegWkZP9bmUoyxr91cao=&h=120&w=160&sz=7&hl=th&start=24&sig2=JD556495BUhNwSks61T6kw&um=1&tbnid=9nX7k1vL2C6PAM:&tbnh=74&tbnw=98&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%26gbv%3D2%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D20%26um%3D1&ei=4wYCSs6WOszMlQeWj43nCgาพชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๘๘ ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=63 |