เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยเจอจันหอม


616 ผู้ชม


พายุโซนร้อน“จันหอม” บริเวณทะเล จีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว   

เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยเจอจันหอม  พายุโซนร้อน“จันหอม”
    กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่าพายุโซนร้อน“จันหอม”บริเวณทะเล จีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้วโดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างทางทิศตะวันตกของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณ 450 กิโลเมตรหรือที่ละติจูด 15.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.8 องศาตะวันออก มีความเร็ว ลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทาง ทิศตะวันออกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ลมตะวันตกที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกมากกว่าภาคอื่นๆ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
    พายุจะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งระดับของพายุเป็น   3 ระดับ  ได้แก่
    1. พายุดีเปรสชั่น (Depression) เป็นพายุกำลังอ่อน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 33 น๊อต (62 กม./ชม.) 
    2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) พายุปานกลาง มีความเร้วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 34-63 น๊อต (63-117 กม./ชม.)
   3. พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นพายุที่รุนแรงที่สุด มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 64 น๊อต (118 กม./ชม.) 
         สำหรับพายุไต้ฝุ่นต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในไทยและประเทศต่างๆจะมีชื่อที่เรียกแตกต่างกันนะคะมาดูซิว่าโลกเรานี้มีรายชื่อพายุไต้ฝุ่นอะไรบ้าง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยเจอจันหอม    เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยเจอจันหอมพายุไต้ฝุ่นฟงเฉินที่ฟิลิปปินส์

พายุไต้ฝุ่น"นารี" เกิดที่เกาหลีใต้ในปี  2007   

                      

 พายุที่ตั้งตามชื่อของแต่ละประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนกับทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ

กลุ่มแรก

ประเทศที่ตั้งชื่อ

I

II

III

IV

V

กัมพูชา

Damrey (ดอมเรย)

Kong-rey (กองเรย)

Nakri (นากรี)

Krovann (กระวาน)

Sarika (สาริกา)

จีน

Longwang (หลงหวาง)

Yutu (ยู่ทู่)

Fengshen (ฟงเฉิน)

Dujuan (ตู้เจี้ยน)

Haima (ไหหม่า)

เกาหลีเหนือ

Kirogi (ไคโรจิ)

Toraji (โทราจิ)

Kalmaegi (คัลเมจิ)

Maemi (เมมิ)

Meari (มิอะริ)

ฮ่องกง(จีน)

Kai-tak (ไคตั๊ก)

Manyi (มานหยี่)

Fungwong (ฟองวอง)

Choiwan (ฉอยหวั่น)

Maon (หมาง้อน)

ญี่ปุ่น

Tembin (เทมบิง)

Usagi (อุซางิ)

Kammuri (คัมมูริ)

Koppu (คอบปุ)

Tokage (โทะคาเงะ)

ลาว

Bolaven (โบลาเวน)

Pabuk (ปลาบึก)

Phanfone (พันฝน)

Kitsana (กฤษณา)

Nockten (นกกระเต็น)

มาเก๊า

Chanchu (จันจู)

Wutip (หวู่ติ๊บ)

Vongfong (หว่องฟง)

Parma (ป้าหม่า)

Muifa (หมุ่ยฟ้า)

มาเลเซีย

Jelawat (เจอลาวัต)

Sepat (เซอปัต)

Rusa (รูซา)

Melor (เมอโลร์)

Merbok (เมอร์บุก)

ไมโครนีเซีย*

Ewiniar (เอวิเนียร์)

Fitow (ฟิโทว์)

Sinlaku (ซินลากอ)

Nepartak (เนพาร์ตัก)

Nanmadol (นันมาดอล)

ฟิลิปปินส์

Bilis (บิลิส)

Danas (ดานัส)

Hagupit (ฮากุปีต)

Lupit (ลูปีต)

Talas(ทาลัส)

เกาหลีใต้

Kaemi (เคมี)

Nari (นารี)

Changmi (ชังมี)

Sudal (ซูแดล)

Noru (โนรู)

ไทย

Prapiroon (พระพิรุณ)

Wipha (วิภา)

Mekkhala (เมขลา)

Nida (นิดา)

Kulab (กุหลาบ)

สหรัฐอเมริกา

Maria (มาเรีย)

Francisco(ฟรานซิสโก)

Higos (ฮีโกส)

Omais (โอไมส์)

Roke (โรคี)

เวียดนาม

Soamai (ซาวไม)

Lekima (เลกีมา)

Bavi(บาหวี่)

Conson (โกนเซิน)

Sonca (เซินกา)



กลุ่มสอง 

ประเทศที่ตั้งชื่อ

I

II

III

IV

V

กัมพูชา

Bopha (โบพา)

Krosa (กรอซา)

Maysak (ไมสัก)

Chanthu (จันทู)

Nesat (เนสาด)

จีน

WuKong (หวู่คง)

Haiyan (ไห่เยี่ยน)

Haishen (ไห่เฉิน)

Dainmu (เตี๋นหมู่)

Haitang (ไห่ถ่าง)

เกาหลีเหนือ

Sonamu (โซนามุ)

Podul (โพดอล)

Pongsona (พงโซนา)

Mindulle (มินดอลเล)

Nalgae (นาลเก)

ฮ่องกง(จีน)

Shanshan (ซานซาน)

Lingling (เหล่งเหลง)

Yanyan (ยันยัน)

Tingting (เถ่งเถง)

Banyan (บันยัน)

ญี่ปุ่น

Yagi (ยางิ)

Kajiki (คะจิกิ)

Kujira (คุจิระ)

Kompasu (คอมปาซุ)

Washi (วาชิ)

ลาว

Xangsane (ช้างสาร)

Faxai (ฟ้าใส)

Chanhom (จันทร์หอม)

Namteun (น้ำเทิน)

Matsa (มัสยา)

มาเก๊า

Bebinca (เบบินคา)

Vamei (ฮัวเหม่ย)

Linfa (หลิ่นฟ้า)

Malou (หม่าโหล)

Sanvu (ซันหวู่)

มาเลเซีย

Rumbia (รุมเบีย)

Tapah (ตาปาห์)

Nangka (นังกา)

Meranti (เมอรันตี)

Mawar (มาวาร์)

ไมโครนีเซีย*

Soulik (ซูลิก)

Mitag (มิแทก)

Soudelor (เซาเคโลร์)

Rananim (รานานิม)

Guchol (กูโชล)

ฟิลิปปินส์

Cimaron (ซีมารอน)

Hagibis (ฮากิบิส)

Imbudo (อิมบุโด)

Malakas (มาลากัส)

Talim (ตาลิม)

เกาหลีใต้

Chebi (เชบี)

Noguri (โนกูรี)

Koni (โคนี)

Megi (เมกี)

Nabi (นาบี)

ไทย

Durian (ทุเรียน)

Rammasun (รามสูร)

Morakot (มรกต)

Chaba (ชบา)

Khanun (ขนุน)

สหรัฐอเมริกา

Utor (อูเตอร์)

Chataan (ชาทาอาน)

Etau (เอตาว)

Aere (ฮาเยเรย์)

Vicente (วีเซนเต)

เวียดนาม

Trami (จ่ามี)

Halong (หะลอง)

Vamco (หว่ามก๋อ)

Songda (ซงด่า)

Saola (ซาวลา)

 ที่มา (https://www.cmmet.tmd.go.th/met/typhoon.php)

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยเจอจันหอมศูนย์กลางการเกิดพายุไต้ฝุ่นจันหอม                                                                  
      สำหรับพายุโซนร้อน“จันหอม”จะพัดเข้าบริเวณประเทศไทย
 ด้วยความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ลมตะวันตกที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตก  มากกว่าภาคอื่นๆ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร โดย
   ภาคเหนือ  อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศา มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และตาก
   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ชัยภูมิ และนครราชสีมา 
   ภาคกลาง อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศา มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.อุทัยธานี และกาญจนบุรี
   ภาคตะวันออก  อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศา มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
   ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
   ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณ จ.ระนอง พังงา ตรัง และสตูล อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
  สำหรับกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศา มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
 

คำถามเพื่อการอภิปราย
1. หากพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าประเทศไทยจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพประมงอย่างไร
2. ภาคใดของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นจันหอมมากที่สุด

เหมาะสำหรับช่วงชั้นที่ 4

บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

อ้างอิง https://www.norsorpor.com/
         https://www.cmmet.tmd.go.th/met/typhoon.php
           
https://www.ittimes.co.kr/en/images/200702/02-39-01.jpg
           https://www.thairath.co.th/content/misc/4307

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=293

อัพเดทล่าสุด