นำเสนอรายละเอียดแหล่งอารยธรรมยุคโบราณ บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟตีส
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
กำเนิดเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูป พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณ ทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน
กลุ่มคนที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส- ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงในช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบทางการเมือง
คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ข้อควรสังเกต
1. บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึดครองตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกชนพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัดทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสองก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)
ระยะเวลาที่ชนชาติต่างๆเข้ามาอาศัยในดินแดนเมโสโปเตเมีย
เจริโค (Jericho) อาศัยอยู่ระหว่างหุบเขาริมฝั่งแม่น้ำจอร์แดน ประเทศอีรักราว 8000 B.C. ถือว่าเป็นชนชาติแรกทีเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมียซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) อาศัยอยู่บริเวณอนาโตเลีย สร้างอารยธรรมเก่าแก่สมัยราว 7000-5000 B.C. ก่อนประวัติศาสตร์
สุเมเรียนและอัคคาเดียน สุเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย สร้างอารยธรรม(Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เมโสโปเตเมียเข้า 3000-1600 B.C. สู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทนสุเมเรียน
อะมอไรท์ (Amorite) พวกอะมอไรท์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรียน เข้าครอบ
1900-1600 B.C. ครองเมโสโปเตเมีย สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวงอาณาจักรบาบิโลเนียทางทิศตะวันออกจรด อ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ฮิตไตท์และแคสไซท์ พวกฮิตไตท์ อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออก (Hittite and Kassite) เป็นจักรวรรดิใหญ่ รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย
1600-1150 B.C. ได้ยึดครองปล่อยให้พวกแคสไซท์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกรีสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
แอสสิเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย ค่อยเจริญขึ้นแทนตอน 750-612 B.C. ล่างของเมโสโปเตเมีย และกลายเป็นจักรวรรดิ ครั้งแรก เมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
แคลเดียน (Chaldeam) พวกแคลเดียนอยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย 612-538 B.C. ได้แยกตัวออกจากการปกครองของแอสสิเรียได้สำเร็จ และ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูชาเนซซาร์ อาณาจักรแคลเดียนสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโดยูโรเปียน(Indo-European) อยู่ทางตอนเหนือ เข้ามามีอำนาจใน เมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 B.C. โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่550-332 B.C. ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีกในเอเซีย
ไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก ก็ตกอยู่ ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 B.C.
วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
ก. การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว
ข. การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ซิกกูแรท”
ค. การก่อสร้างด้วยอิฐและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดเดือนหนึ่งมี 366 ? วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนจึงมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 ? วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง (เท่ากับ 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน) กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับคือ หน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)
ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี
กฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญา โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่นับเป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
ทฤษฎีใหม่บางอันถือว่าการนับกฎหมายฮัมมูราบีให้สถานะอย่างประมวลกฎหมายอย่างปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้องนัก ความจริงน่าจะนับได้เพียงการเป็นอนุสรณ์ยกย่องว่ากษัตริย์ฮัมมูราบีเป็น “ตัวอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม” ได้เท่านั้นเพราะในชีวิตของคนย่อมมีความผิดอย่างอื่นที่ไม่ใช่การลักขโมย
ซิกกูแรต(Ziggurat)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
มหากาพย์กิลกาเมช
มหากาพย์กิลกาเมช (อังกฤษ: Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
สวนลอยแห่งบาบิโลน
ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อน
คริสตกาล โดยคำ บัญชาของกษัตริย์"เนบูคัสเนซซาร์"เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ "ดิโอโดโรส" กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสม น้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตริงไว้ด้วยปูน ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่าง มิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
มังกรในตำนานของชาวสุเมเรียน
มังกรในตำนานของชนสุเม-เรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย
ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
ศิลปะแห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมียเป็นชื่อดินแดนที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ริมแม่นํ้า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและแร่ธาตุต่างๆ จึงเป็นที่ตั้งของชนเผ่าต่างๆ หลายชนเผ่า ชนเผ่าเหล่านี้มีความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน เช่น การนับถือบูชาเทพเจ้าประจําสถานที่ต่างๆ เช่น เทพเจ้าแห่งพายุ เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า เนื่องจากเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายในธรรมชาติล้วนเป็นไปตามความพอใจของเทพเจ้าผู้เข้าถึงสัจธรรมแห่งเทพเจ้าได้ก็คือ นักบวชหรือพระ ดังนั้น พระจึงมีบทบาทสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และเปรียบเสมือนตัวแทนของเทพเจ้า วัดจึงกลายเป็นสถานที่สถิตย์ของเทพเจ้า เป็นที่ประกอบพิธีกรรม เป็นศูนย์กลางของการปกครอง และเป็นแหล่งผลิตงานศิลปะที่มีคุณค่ายิ่ง จึงนับว่าการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยนี้มีแรงผลักดันมาจากความเลื่อมใสในศาสนาและการเอาใจเทพเจ้า งานศิลปะที่สําคัญส่วนใหญ่เป็นผลงานของเผ่าซูเมอร์ (Sumer) และบาบิโลเนีย (Babilonia) เผ่าแอสซิเรีย (Assyria) และเผ่าเปอร์เซีย(Persia)
ประเด็นอภิปราย
- สาเหตุใด ที่ทำให้อารยธรรมเมโสโปเตเมียรุ่งเรืองและล่มสลาย
- มีอารยธรรมเมโสโปเตเมียด้านใดบ้างที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
แหล่งอ้างอิง
https://www.thaigoodview.com/lesson?
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=454
เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูป พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโป-เตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณ ทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน
กลุ่มคนที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส- ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงในช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบทางการเมือง
คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ข้อควรสังเกต
1. บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึดครองตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกชนพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัดทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสองก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)
ระยะเวลาที่ชนชาติต่างๆเข้ามาอาศัยในดินแดนเมโสโปเตเมีย
เจริโค (Jericho) อาศัยอยู่ระหว่างหุบเขาริมฝั่งแม่น้ำจอร์แดน ประเทศอีรักราว 8000 B.C. ถือว่าเป็นชนชาติแรกทีเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมียซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) อาศัยอยู่บริเวณอนาโตเลีย สร้างอารยธรรมเก่าแก่สมัยราว 7000-5000 B.C. ก่อนประวัติศาสตร์
สุเมเรียนและอัคคาเดียน สุเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย สร้างอารยธรรม(Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เมโสโปเตเมียเข้า 3000-1600 B.C. สู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทนสุเมเรียน
อะมอไรท์ (Amorite) พวกอะมอไรท์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรียน เข้าครอบ
1900-1600 B.C. ครองเมโสโปเตเมีย สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวงอาณาจักรบาบิโลเนียทางทิศตะวันออกจรด อ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ฮิตไตท์และแคสไซท์ พวกฮิตไตท์ อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออก (Hittite and Kassite) เป็นจักรวรรดิใหญ่ รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย
1600-1150 B.C. ได้ยึดครองปล่อยให้พวกแคสไซท์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกรีสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
แอสสิเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย ค่อยเจริญขึ้นแทนตอน 750-612 B.C. ล่างของเมโสโปเตเมีย และกลายเป็นจักรวรรดิ ครั้งแรก เมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
แคลเดียน (Chaldeam) พวกแคลเดียนอยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย 612-538 B.C. ได้แยกตัวออกจากการปกครองของแอสสิเรียได้สำเร็จ และ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูชาเนซซาร์ อาณาจักรแคลเดียนสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโดยูโรเปียน(Indo-European) อยู่ทางตอนเหนือ เข้ามามีอำนาจใน เมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 B.C. โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่550-332 B.C. ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีกในเอเซีย
ไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก ก็ตกอยู่ ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 B.C.
วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
ก. การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว
ส่วนใหญ่ใช้ของมีคนกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายากและไม่มีกระดาษพะไพรัสจึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง เครื่องมือที่ใช้คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า “คูนิฟอร์ม” หรือตัวอัหษรรูปลิ่ม
ข. การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ซิกกูแรท”
ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
ค. การก่อสร้างด้วยอิฐและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดเดือนหนึ่งมี 366 ? วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนจึงมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 ? วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง (เท่ากับ 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน) กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับคือ หน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)
ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี
ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ ปัจจุบัน ประมวล
กฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญา โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่นับเป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
ทฤษฎีใหม่บางอันถือว่าการนับกฎหมายฮัมมูราบีให้สถานะอย่างประมวลกฎหมายอย่างปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้องนัก ความจริงน่าจะนับได้เพียงการเป็นอนุสรณ์ยกย่องว่ากษัตริย์ฮัมมูราบีเป็น “ตัวอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม” ได้เท่านั้นเพราะในชีวิตของคนย่อมมีความผิดอย่างอื่นที่ไม่ใช่การลักขโมย
ซิกกูแรต(Ziggurat)
ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
มหากาพย์กิลกาเมช
มหากาพย์กิลกาเมช (อังกฤษ: Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
สวนลอยแห่งบาบิโลน
ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อน
คริสตกาล โดยคำ บัญชาของกษัตริย์"เนบูคัสเนซซาร์"เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ "ดิโอโดโรส" กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสม น้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตริงไว้ด้วยปูน ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่าง มิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
มังกรในตำนานของชาวสุเมเรียน
มังกรในตำนานของชนสุเม-เรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย
ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
ศิลปะแห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมียเป็นชื่อดินแดนที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ริมแม่นํ้า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและแร่ธาตุต่างๆ จึงเป็นที่ตั้งของชนเผ่าต่างๆ หลายชนเผ่า ชนเผ่าเหล่านี้มีความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน เช่น การนับถือบูชาเทพเจ้าประจําสถานที่ต่างๆ เช่น เทพเจ้าแห่งพายุ เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า เนื่องจากเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายในธรรมชาติล้วนเป็นไปตามความพอใจของเทพเจ้าผู้เข้าถึงสัจธรรมแห่งเทพเจ้าได้ก็คือ นักบวชหรือพระ ดังนั้น พระจึงมีบทบาทสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และเปรียบเสมือนตัวแทนของเทพเจ้า วัดจึงกลายเป็นสถานที่สถิตย์ของเทพเจ้า เป็นที่ประกอบพิธีกรรม เป็นศูนย์กลางของการปกครอง และเป็นแหล่งผลิตงานศิลปะที่มีคุณค่ายิ่ง จึงนับว่าการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยนี้มีแรงผลักดันมาจากความเลื่อมใสในศาสนาและการเอาใจเทพเจ้า งานศิลปะที่สําคัญส่วนใหญ่เป็นผลงานของเผ่าซูเมอร์ (Sumer) และบาบิโลเนีย (Babilonia) เผ่าแอสซิเรีย (Assyria) และเผ่าเปอร์เซีย(Persia)
ประเด็นอภิปราย
- สาเหตุใด ที่ทำให้อารยธรรมเมโสโปเตเมียรุ่งเรืองและล่มสลาย
- มีอารยธรรมเมโสโปเตเมียด้านใดบ้างที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
แหล่งอ้างอิง
https://www.thaigoodview.com/lesson?
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=454