ภาวะโลกร้อน....... !!


653 ผู้ชม


ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้อุณหภูมิโลกสูงกว่าที่เคยเป็นเมื่อ 2000 ปีที่ผ่านมา อัตราการละลายของภูเขาน้ำแข็งเป็นผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ   

     

    ภาวะโลกร้อน..........จี๋ จ้า...

ภาวะโลกร้อน....... !!

       ในปัจจุบันความตระหนักในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากนโยบายของภาครัฐและเอกชนต่างๆ ที่มีแนวโน้มในการรณรงค์ภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นจากช่วงหลายปีก่อน   เช่น  การส่งเสริมการใช้พลังงานชีวภาพ  เพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้ เพราะภาวะโลกร้อนกำลังใกล้ตัวเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ

ภาวะโลกร้อน....... !!

ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ภาวะโลกร้อน....... !!
         สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปรากฏการณ์ที่ตรวจวัดได้จริงทั้งส่งผลชัดขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แบบจำลองภูมิอากาศโลก (General Circulation Model) ที่ใช้ในการสร้างภาพเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสถาบันวิจัยนานาชาติหลายสถาบัน บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ความแปรปรวนของหยาดน้ำฟ้า (precipitation) และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อันทำให้อุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด และต่ำสุดเพิ่มขึ้น จำนวนวันที่ร้อนจัด และคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น 
      กว่าร้อยละ 98 ของนักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า โลกของเราร้อนขึ้น เนื่องมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ สถานการณ์โลกร้อนนี้จะยิ่งแย่ลง หากไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ภาวะโลกร้อน....... !!

ภาวะโลกร้อน....... !!


ภาวะโลกร้อน....... !! ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้อุณหภูมิโลกสูงกว่าที่เคยเป็นเมื่อ 2000 ปีที่ผ่านมา ภูเขาน้ำแข็งทั่วโลกละลาย อัตราการละลายของภูเขาน้ำแข็งในแถบกรีนแลนด์สูงขึ้น เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ยังผลให้เกาะหลายๆ เกาะที่ตั้งอยู่ต่ำจมอยู่ใต้ทะเล แม้แต่ชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษ และอเมริกาก็กำลังเผชิญกับผลกระทบนี้


         คลื่นความร้อนที่หนักที่สุดในช่วงหน้าร้อนปี 2546 ได้คร่าชีวิตกว่า 20,000 ชีวิตในทวีปยุโรป ภัยแล้งและน้ำท่วม กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากภาวะที่โลกร้อนขึ้นมีผลต่อความสมดุลและวัฏจักรของน้ำของโลก ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ ชี้ว่าในศตวรรษที่ 21 นี้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.4 – 5.8 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.09 เมตร และอาจสูงถึง 0.88 เมตร การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลนี้ แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดของการคาดการณ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วมเกาะต่างๆ สามารถทำลายแนวปะการัง และมีผลให้เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งในแถบขั้วโลกเหนือและใต้ได้ ส่วนการเพิ่มของอุณหภูมิ และระดับน้ำทะเลในระดับที่สูงขึ้นนั้น จะนำมาซึ่งหายนะทั้งต่ออารยธรรมมนุษย์ และความหลากหลายทางชีววิทยาตามธรรมชาติ เมื่อไม่นานมานี้ งานศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะโลกร้อน สามารถทำให้เศษหนึ่งส่วนสี่ของสายพันธุ์สัตว์และพืชเกือบสูญพันธุ์ได้ก่อนปี 2050
     เขตที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างมาก อยู่ในแถบป่าชื้นอเมซอน คอมพิวเตอร์จำลองสภาพของ UK-based Center แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน และฝนที่ตกน้อยลง ทำให้ป่าอเมซอนซึ่งเป็นเคยป่าชื้น เปลี่ยนสภาพเป็นป่าสวันนา และทะเลทราย

ภาวะโลกร้อน....... !!

ภาวะโลกร้อน....... !!

ผลกระทบระดับสากล

ภาวะโลกร้อน....... !!
       ภัยแล้ง พายุฝนรุนแรง น้ำท่วม คลื่นความร้อน พืชผลการเกษตรเสียหาย การระบาดของโรคภัยต่างๆ ที่รุนแรงขึ้น เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของความเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น และสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ทุกชาติ
        บรรยากาศโลกและสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการร่วมกันมายาวนาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ ค.ศ. 1750 เป็นต้นมา ทำให้มีการนำพลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้ การใช้พลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ปริมาณก๊าซนี้เพิ่มขึ้นจาก 270 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในช่วงก่อน ค.ศ. 1750 เป็น 356 ppm ในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า (700 ppm) ภายใน ค.ศ. 2100

ภาวะโลกร้อน....... !!


        ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ เช่นมีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีอยู่ในบรรยากาศโลกในปริมาณน้อย มีคุณสมบัติในการดูดกลืนพลังงานความร้อน จึงเรียกว่าก๊าซเรือนกระจก เมื่อก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้น บรรยากาศโลกจึงดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้เพิ่มขึ้น จากปกติที่ควรแผ่รังสีพลังงานความร้อนคืนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลก ส่งผลให้สมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เป็นต้น 

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ( IPCC, 2001 )

ความเปลี่ยนแปลงช่วงศตวรรษที่ 21

ตัวอย่างของผลกระทบ

วันอากาศร้อนเพิ่มมากขึ้น กระแสคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น

- ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้น
- สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงเกิดความเครียดจากอากาศร้อน
- พืชผลเสียหาย

เกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศมากขึ้น

- น้ำท่วม ดินถล่ม
- การกัดเซาะหน้าดิน
- พืชผลเสียหาย

พายุเขตร้อนทวีความรุนแรงขึ้น

- เพิ่มความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิต
- เกิดโรคระบาด
- พืชผลเสียหาย

ภัยแล้งและน้ำท่วมรุนแรงขึ้น

- ผลิตผลการเกษตรลดลง
- ศักยภาพด้านการผลิตไฟฟ้าและพลังงานลดลง

ภูมิอากาศในฤดูมรสุมหน้าร้อนเขตเอเชียแปรปรวนมากขึ้น

- เกิดอุทกภัยและภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นในเขตเอเชียและเขตอบอุ่น

ภาวะโลกร้อน....... !!


           การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเกษตรเพื่อผลิตอาหารของมนุษย์ สุขภาพอนามัย ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศได้รับจะแตกต่างกันตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ 
       เนื่องจากภูมิอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชีวภาพและการดำรงชีพของมนุษย์อย่างกว้างขวาง ตัวแปรของภูมิอากาศที่สำคัญคือ ปริมาณฝน อุณหภูมิ และปริมาณแสงแดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความถี่ของตัวแปรดังกล่าว สาขาใดที่ผูกพันกับตัวแปรเหล่านี้มากก็ยิ่งมีโอกาสได้รับผลกระทบมาก ซึ่งได้แก่

ภาวะโลกร้อน....... !!

ภาวะโลกร้อน....... !!

ผลกระทบในประเทศไทย

        ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex I คือไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ แล้วประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของการปลดปล่อยก๊าซชนิดนี้จากทั่วทุกประเทศ อีกทั้งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายหัวของไทย (per capita emission) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
      เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้น้อยอย่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ไทยปลดปล่อย ทั้งนี้ก็เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีสภาวะแวดล้อมและภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของผลกระทบ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย สามารถจำแนกเป็นหัวข้อหลักๆ ได้ดังนี้ ได้แก่ ระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ สุขอนามัย ความหลากหลายทางชีวภาพ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม
       เห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนี้ มีผลต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแง่ต่างๆ เราควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอันเกิดจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบอย่างต่อเนื่อง หากชาติขาดความตระหนักและเตรียมการวางแผนรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาวะโลกร้อน....... !!

ภาวะโลกร้อน....... !!

สิ่งที่ไทยควรเร่งดำเนินการ
1. จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่บริหาร และประสานการศึกษาวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโครงข่ายงานวิจัยอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่มีบทบาทในการวิจัย ดำเนินการศึกษาวิจัยผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจะได้วางแผนรับมือต่อผลกระทบที่จะเกิดได้อย่างทันท่วงที 

2. กำหนดบทบาทหน้าที่ของการดำเนินงานด้านอนุสัญญาและการเจรจาทางการเมือง และการวิจัยให้ชัดเจน เนื่องจากการเจรจาและการวิจัยใช้ทักษะและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน แต่ให้มีการประสานความร่วมมือและข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข้งและผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
3. มีแผนแม่บทการวิจัยแบบบูรณาการเชิงรุก เพื่อให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต
4. พัฒนาบุคลากรด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบบูรณาการ
5. ไทยควรเร่งทำวิจัยในเรื่องดังต่อไปนี้

  • จัดการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างแบบจำลองภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับประเทศ เพื่อที่จะได้คาดการณ์สภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ สามารถแจ้งให้ประชาชนทราบก่อนล่วงหน้า และตั้งรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
  • ในส่วนของภาคเกษตรกรรม ควรศึกษาวิจัยเพื่อหาและปรับปรุงพันธุ์พืชให้สามารถทนต่อความหลากหลายของสภาพอากาศได้ เช่น พันธุ์ข้าวที่ทนต่ออากาศที่มีอุณหภูมิสูง และทนต่อสภาพที่แห้งแล้งและน้ำท่วม
  • จดบันทึกผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อที่จะได้หามาตรการป้องและบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มาของข้อมูลและภาพ :  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำถาม  : จากที่นักเรียนได้อ่านข้างต้น นักเรียนคิดว่านักเรียนจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อตัวนักเรียนได้อย่างไรบ้าง (เช่น การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน )

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=544

อัพเดทล่าสุด